Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 พฤศจิกายน 2546
ดุสิตเวชซื้อบำรุงราษฎร์ระยอง             
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โฮมเพจ โรงพยาบาลกรุงเทพ

   
search resources

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โรงพยาบาลกรุงเทพ
คอค บิท
โรงพยาบาลกรุงเทพ ระยอง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระยอง
Hospital




ผู้บริหารโรงพยาบาล ในเครือดุสิตเวชการ ทุ่มงบกว่า 600 ล้านบาท ปรับโฉมโรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ ระยอง ซึ่งปิดตัวเมื่อปลายปี 2543 โดยงบประมาณจำนวน 330 ล้าน ใช้ซื้อหนี้ต่อจากเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ส่วนงบประมาณอีก 300 ล้าน บาท ใช้เพื่อปรับปรุงภายใน และจัดซื้อเครื่องมือแพทย์

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้เครือดุสิตเวชการ ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลกรุงเทพ ทั้งที่กรุงเทพฯ และ พัทยา ได้ทุ่มงบประมาณสูงถึง 330 ล้านบาท เพื่อประมูลซื้อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระยอง จาก บริษัท คอค บิท จำกัด บริษัท โบรกเกอร์ ซึ่งทำหน้าที่จัดประมูลขายสินทรัพย์ให้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระยอง เนื่องจากเจ้าของเดิม ไม่สามารถชำระ หนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ได้ ขณะเดียวกัน เครือดุสิตเวชการ พร้อมตั้งงบประมาณอีก 300 ล้านบาท ปรับปรุงสถานที่ภายในและจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ สำหรับให้บริการกลุ่มคนไข้ในจังหวัดระยอง

"ที่ผ่านมาบริษัทโบรกเกอร์แห่งนี้ ได้ทำหนังสือถึงผู้บริหารโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อให้เสนอราคาสำหรับการประมูลเข้าบริหารโรงพยาบาลดังกล่าวต่อ โดยเป็นการประมูลในลักษณะซื้อขาด ซึ่งกลุ่มดุสิตเวชการ เห็นว่าจังหวัดระยองยังขาดโรงพยาบาลเอกชนที่มีความ พร้อมในการรองรับกลุ่มคนไข้ จึงตัดสินใจยื่นประมูลด้วยจำนวนเงินดังกล่าว"

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า หลังซื้อหนี้จากเจ้าหนี้ แล้ว เครือดุสิตเวชการได้เร่งปรับปรุงพื้นที่โรงพยาบาลในเบื้องต้น และได้เปิดดำเนินการในชื่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ ระยอง ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา และตั้งเป้าหมายการให้บริการ เตียงผู้ป่วยไว้สูงสุดที่ 200 เตียง แต่คณะนี้ได้เปิดดำเนินการก่อนเพียง 80-100 เตียง ขณะเดียวกัน จะเริ่มดำเนินการปรับปรุงส่วนต่างๆ และจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้สามารถรองรับ ความต้องการของกลุ่มคนไข้ที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จังหวัดระยอง ได้ปิดดำเนินการตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2543 เป็นเพราะปัญหาการดำเนินงาน ซึ่งขาดทุนสะสมมานานตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งในช่วง 6-7 ปีก่อนก่อตั้งโรงพยาบาลผู้บริหารโรงพยาบาลในขณะนั้น ได้กู้เงินจากสถาบันการเงินจากต่างประเทศจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 300 ล้านบาท และกู้เงินจากธนาคารเอเชียอีก 300 กว่าล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคาร และดำเนินการภายใต้ชื่อบริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระยอง จำกัด

โรงพยาบาลแห่งนี้ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพฯ ของตระกูลโสภณพนิช ถือหุ้นทั้งสิ้น 49% ที่เหลือ 51% เป็นการขายหุ้นให้กับกลุ่มแพทย์ และผู้บริหารโรงแรมร่วมถึงนักลงทุนรายย่อยผลประกอบการ

แหล่งข่าวในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระยอง กล่าวว่าผลประกอบการในแต่ละเดือนนับจากเปิดให้บริการ มียอดรายรับประมาณ 20 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อหักจากยอดรายจ่ายทั้งหมดแล้ว จะเหลือผลกำไรจากการดำเนินงาน ประมาณ 2-3 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่กลุ่มคนไข้ของโรงพยาบาล เป็นกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ และ กลุ่มคนทำงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดระยอง และใกล้เคียง ซึ่งในช่วงก่อนปี 2541 การดำเนินงานของโรงพยาบาลถือว่าอยู่รอดได้อย่างสบาย แต่เมื่อมีการประกาศค่าเงินบาทลอยตัว ยอดเงินกู้ของโรงพยาบาลได้เพิ่มเป็นเท่าตัว ทำให้ผลกำไรที่ทำได้ในแต่ละเดือนไม่เพียงพอที่จะชดใช้หนี้สิน

ทั้งนี้ รพ.บำรุงราษฎร์ ระยอง นับเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรก ที่เกิดจากการขยายการ ให้บริการทางการแพทย์ จากส่วนกลางสู่ภูมิภาค โดยกลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพฯ และได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี เนื่องจากก่อนที่จะเปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยทั่วไป บำรุงราษฎร์เริ่มชิมลางให้บริการศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่บริเวณเนินพระก่อนเกือบ 2 ปี เพื่อหยั่งกระแสความนิยมของลูกค้า กับเป็นการ สร้างชื่อของบำรุงราษฎร์ให้เป็นที่รู้จัก

จากนั้นจึงเริ่มเปิดโรงพยาบาลขนาด 250 เตียง จำนวน 11 ชั้น ใช้งบประมาณกว่า 640 ล้านบาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 โดยระยะแรกเป็นการเปิดให้บริการ ในขนาด 100 เตียงก่อน และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ในปี 2537 แต่สุดท้ายต้องปิดตัวลง เนื่องจากไม่สามารถชดใช้หนี้ กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ได้ ซึ่งเป็นผล มาจากค่าเงินบาทที่ลอยตัวในช่วงก่อน สุดท้ายเจ้าหนี้จึงต้องนำโรงพยาบาลดังกล่าว ประกาศขาย เพื่อหาผู้ดำเนินการต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us