Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
Management Challenges for the 21st Century             
 





ปีเตอร์ ดรักเกอร์ จัดเป็นผู้ปฏิวัติแนวคิดใหม่สำหรับการจัดการในอนาคตในหนังสือเล่มใหม่ "Management Challenges for The 21st Century" เป็นการรวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารธุรกิจต่างๆ อาทิ Forbes, The Harvard Business Review และ The Challenge Management Review ดรักเกอร์กล่าวถึงรูปแบบใหม่ทางด้านการจัดการ รูปแบบนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และจะทำให้สมมติฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎี และการปฏิบัติด้านการจัดการนั้นเปลี่ยน แปลงไปอย่างไร การจัดการในอนาคตจะต้องมีแผนปฏิบัติงานหรือ action plan จุดสำคัญ คือ การมองตรงไปข้างหน้า (look ahead) โดยดร.เต ชอร์หยุ่น อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) อธิบายถึงวิธีการบริหารของดรักเกอร์ ว่าเป็นหลักการบริหารรูปแบบทั่วๆ ไปที่คนรับรู้แล้ว "แต่ จริงๆ เขาพยายามบอกว่าการบริหารไม่ควรจำกัดไว้เฉพาะในองค์กรธุรกิจ ควรประยุกต์สำหรับองค์กรทั้งที่เป็น profit และ non-profit" หมายถึงการจัดการรวมไปถึงตัวบุคคล ต้องรู้ถึงศักยภาพของคนว่ามีศักยภาพและสามารถทำงานให้สำเร็จได้หรือไม่

"ความคิดของผมคือถ้ามององค์กรภายใน เรียกว่า voice of the firm คือ เรามีประสิทธิภาพหรือความชำนาญอะไรบ้าง ในเวลาเดียวกันต้องมองจากข้างนอก เรียกว่า voice of market ควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการวางแผนและการพัฒนาบุคลากร" ดร.เต ชอร์หยุ่น กล่าว

จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าทุกวันนี้องค์กรไม่ค่อยให้ความสำคัญกับบุคลา-กร ทั้งๆ ที่เป็นทรัพย์สินสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่ง "ปัญหาของการบริหารจึงอยู่ตรงนี้" ดังนั้น การบริหารทางด้านบุคลากรจึงเป็นเรื่องจำเป็นในศตวรรษหน้า

ดรักเกอร์อธิบายถึงโครงสร้างองค์กรแบบการออกคำสั่งและการควบ คุมที่เคยประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 20 แต่จะไม่เหมาะสมในศตวรรษหน้า ของคนที่มีความรู้ (knowledge workers) ซึ่งคนงานเหล่านี้เข้าใจตัวผลิตภัณฑ์ ดีกว่าผู้จัดการ ดังนั้นการจัดการจึงต้องเป็นไปทั้งสองทาง

"เราเคลื่อนจากแรงงานที่เรียกว่า knowledge workers จะใช้คำว่า technologist การจัดการตรงนี้ดรักเกอร์บอกว่ามีความลำบากในการบริหารและดูแล และ knowledge workers แตกต่างจากแรงงานอื่น เพราะเราสามารถสั่งเขาได้ แต่ knowledge workers ทรัพย์สินมีอยู่ในสมองของเขา เขาจะไปไหนก็ได้ ดังนั้น ต้องหาวิธีบริหารพวกเขาให้ได้" ดร.เต ชอร์หยุ่น อธิบาย

เมื่อบริหาร knowledge workers ได้แล้วจะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จ เพราะพวกเขามีประสิทธิ ภาพ และความชำนาญ แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดการกับลูกค้าสำเร็จ นั่นก็คือการบริหารภายนอก ถ้าทำได้จะกลายเป็นองค์กรที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage)

"ศตวรรษที่ 20 มุ่งบริหารงานในผลกำไรมากกว่าด้านคน แต่จากนี้ไปมุ่งไปทางบุคลากรขององค์กร ถ้าใครยังย่ำอยู่ที่เดิมจะถูกลบชื่อออกไปจากตลาด"

นอกจากนี้ knowledge workers จะสร้างนวัตกรรมพร้อมๆ กับสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้กับองค์กร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้กับตลาด ถ้าเป็นองค์กรที่ดีองค์กรนั้นต้อง เป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง

ดรักเกอร์ยังเน้นการตรวจสอบประสิทธิภาพของพนักงาน และชี้ให้เห็น ถึงความเปลี่ยนแปลงในทัศนคติเบื้องต้นของปัจเจกบุคคลและขององค์กร ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงการเปลี่ยน แปลงทางโครงสร้างในการทำงานซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังวิเคราะห์ความเป็นจริงเกี่ยวกับกลยุทธ์ ชี้ให้เห็นว่าผู้นำในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงควรทำอย่างไร อธิบายถึงยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงข่าวสารข้อมูล (Information technology : IT) บรรยายข่าวสารข้อมูลที่ผู้บริหารต้อง การและข้อมูลที่ผู้บริหารควรมี

ปัจจุบันผู้บริหารมักจะมองข้ามด้าน IT โดยจะมองเฉพาะด้านเทคโน-โลยี ขณะที่ความสำเร็จอยู่ที่การรู้จักใช้ข้อมูลมากกว่า สาเหตุมาจากผู้บริหารไม่รู้จักข้อมูลที่ต้องการใช้หรือเทคโนโลยี ไม่สามารถพัฒนาข้อมูลเหล่านั้นได้ตามต้องการ

"เมื่อมีข้อมูลแล้วจะ take action อย่างไร คือ effective action และ efficiency action ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร และสองส่วนนี้บ่งบอกถึงการบริหารงานที่มีและไม่มีคุณภาพได้" ดร. เต ชอร์หยุ่น กล่าว

และถ้าองค์กรไหนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ คำแนะนำที่ดีที่สุด คือ เปลี่ยน "คน" โดยการเปลี่ยนแนวความคิดการจัดการของคน หรือเรียกว่า change mindset ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสิ่งที่ยากมาก ถ้าเปรียบเทียบกับคำพูดที่คนไทยรู้จักกันดี คงจะไม่หนี "นิสัยเปลี่ยนง่ายแต่สันดานเปลี่ยนยาก"

แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้หมายถึงเป็นไปไม่ได้ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน เพราะถ้าเปลี่ยนแล้วเห็นโอกาส "น่าจะเปลี่ยนแปลง"

แสดงว่าการจัดการในศตวรรษหน้าประสิทธิภาพของบุคลากรและ IT จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง และยังเป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถ create value ขึ้นมาได้

เมียงมองมายังประเทศไทยปรากฏว่าผู้บริหารไม่ค่อยจะเห็นความสำคัญและไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะยังมีความคิดและยึดติดอยู่ว่าอีกไม่กี่ปีตนเองก็จะเกษียณแล้ว แต่ปัญหา ดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้บริหารระดับสูงๆ เท่านั้น แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือโอกาสดีสำหรับการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นในปีหน้าถ้าผู้บริหารระดับดังกล่าวยังเฉยเมยกับเรื่องเหล่านี้โอกาสที่จะฟื้น "น้อยมาก"

"ผู้บริหารต้องถามตัวเองว่าต้อง การอยู่ในตลาดต่อไปหรือไม่ ถ้าอยากอยู่ต้อง privatize ตัวเองว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อยู่รอด สิ่งนั้นคือ performing asset ซึ่งก็คือ know edge worker ของเขาที่ต้องพร้อมและมีความรู้"

ดรักเกอร์ยังกล่าวถึงการท้าทายเพื่อการจัดการตนเองและตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชีวิตการทำงานที่ยาวขึ้นและสภาพการทำงานในองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้ยังได้รวบรวมความ รู้ด้านการจัดการอย่างกว้างๆ ประสบ การณ์ที่เคยปฏิบัติจริง วิสัยทัศน์ในการมองเกี่ยวกับการบริหาร การวิเคราะห์อย่างแม่นยำ และการรับรู้อย่างชัดเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเขียนหนังสือเล่มนี้ โดยดรักเกอร์กำลังใช้ทฤษฎีหลายๆ อย่าง อาทิ IT การตลาด การบริหารทรัพยากรบุคคล มาสร้างเป็นภาพภาพหนึ่งเพื่อการจัดการทั้งหมด

อาจจะผิดหวังเล็กน้อยสำหรับผู้ที่หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะให้แนวคิดการจัดการรูปแบบใหม่ๆ แต่ถ้าอยากเห็นความคิดของดรักเกอร์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น "ไม่น่าพลาด"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us