จับตาคดีห้างทอง ส่งผลกระทบธุรกิจโกลด์มาสเตอร์ ชี้มีการปรับแผนระยะสั้นแต่ปฏิเสธไม่เกี่ยวกับยอดขายตกเพราะคดี
มั่นใจกลุ่มเป้าหมาย ซื้อสินค้า ดูรูปแบบผลิตภัณฑ์ไม่เกี่ยวกับภาพลักษณ์เจ้าของ
กางแผนปีหน้าเตรียม รื้อระบบแฟรนไชส์กลับมาใช้ใหม่อีก เร่งผุดจุดขาย ปีนี้หวังโต
30% เท่าปีที่แล้ว
"คดีนายห้างทอง ที่มีชื่อของคุณนพดล ธรรมวัฒนะ เจ้าของโกลด์มาสเตอร์ เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในตอนนี้
คิดว่าคงยังไม่มีผลกระทบอะไรกับธุรกิจ ของโกลด์มาสเตอร์มากนัก เนื่องจากว่า ตัวแบรนด์สินค้ากับตัวเจ้าของเป็นคนละ
ภาพลักษณ์กัน ทุกวันนี้สินค้ามันขายได้ ด้วยตัวของมันเอง ส่วนเรื่องในอนาคต ยังบอกไม่ได้ในตอนนี้ว่าจะเป็นอย่างไร
แต่ว่าตัวธุรกิจก็ดำเนินไปตามปกติ ขณะเดียวกันทุกวันนี้คนที่เป็นผู้บริหาร ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการที่ดูแลทุกอย่างในรายละเอียดก็คือ
นายโรเจอร์ อีฟ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งแล้ว ส่วนคุณนพดล เป็นประธานกรรมการดูภาพรวมเท่านั้น
และถึงวันนี้ก็ยังไม่มีคำสั่งอะไรพิเศษออกมาจากทางผู้บริหาร"
นี่คือเสียงสะท้อนของคนในบริษัท โกลด์ มาสเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้จัดจำหน่าย
ทองคำ 99.99% ที่กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" ถึง สถานภาพของธุรกิจโกลด์มาสเตอร์ที่เป็นของนาย
นพดล ธรรมวัฒนะ
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวยอมรับว่าการดำเนินงานที่ทำอยู่นี้มีการปรับแผนใหม่ เพื่อดึงยอดขายกลับมาแต่ไม่เกี่ยวกับผลกระทบของคดีของนายห้างทองแต่อย่างใด
แต่เป็นผลพวงมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกลงกระทบกับยอดขาย บ้างเท่านั้นเองจึงต้องเร่งแก้
เกมด้วยการ 1. จัดรายการโกลด์มาสเตอร์ไพรเวทเซลส์ ออฟ เดอะ เซ็นจูรี่ ที่คฤหาสน์ของ
ธรรมวัฒนะสะพานใหม่เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็น การลดราคาครั้งแรกของโกลด์มาสเตอร์มากกว่า
50% ให้กับสมาชิกที่มีอยู่ 3,000 กว่าราย ซึ่งทำยอดขายได้ 20 ล้านบาทจากที่ตั้งเป้าไว้
10 ล้าน บาท
2. การออกคอลเลกชั่นใหม่ 2 ชุด ในช่วง 2 เดือนหลังนี้ จากปกติจะออกคอลเลกชั่นใหม่
ทุกไตรมาส แต่เนื่องจากช่วงไตรมาสที่สามส่งคอลเลกชั่นใหม่ลงตลาดไม่ทันจึงได้ เลื่อนมาในช่วงปลายปี
ซึ่งจะตรงกับช่วงเทศกาลต่างๆพอดีด้วย
ปีนี้คาดว่าโกลด์มาสเตอร์น่าจะทำรายได้ 300 ล้านบาท และรักษาอัตราการเติบโตปีนี้ไว้ในระดับใกล้เคียงปีที่แล้ว
30% โดยที่ไม่ได้ทุ่มงบการตลาดหรือโฆษณามากนัก หลังจากที่ชะลอ การทุ่มงบด้านนี้มาตั้งแต่ปี
2541 แล้ว แต่เน้นลูกค้าสัมพันธ์มากกว่าซึ่งตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและจะเพิ่มร้านแบบชอปอิน
ชอป 1 แห่งที่เซ็นทรัลเวิลด์พลาซา และแบบเคาน์เตอร์อีกแห่ง
"กลุ่มเป้าหมายของโกลด์มาสเตอร์คือระดับบีบวกขึ้นไป ซึ่งมั่นใจว่ากลุ่มนี้ซื้อสินค้า
โดย ดูที่ผลิตภัณฑ์อีกทั้งโกลด์มาสเตอร์เป็นผลิตภัณฑ์ เครื่องประดับที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบ
ความสวยและ ความชอบในตัวสินค้าของผู้ซื้อมากกว่า โดยมีราคาตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป
และแพงที่สุดมากกว่า 200,000 บาทก็ยังมี แต่ที่ผ่านมาสินค้าที่ขายได้ดีอยู่เฉลี่ย
15,000-20,000 บาทต่อชิ้น เรื่องคดีความหรือภาพลักษณ์ของผู้บริหารไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของคนกลุ่มนี้"
แหล่ง ข่าวกล่าว
สำหรับแผนงานในปีหน้าที่วางไว้ก่อนที่นาย นพดล ธรรมวัฒนะ จะตกเป็นผู้ต้องสงสัย
โกลด์ มาสเตอร์อยู่ระหว่างศึกษาที่จะนำเอาระบบแฟรนไชส์กลับมาใช้อีก แต่ต้องพิจารณาละเอียดมากขึ้นว่าจะให้แฟรนไชส์ใครบ้าง
เนื่องจากต้องการควบคุมคุณภาพของธุรกิจให้ดีที่สุด จากเดิมใน อดีตที่เคยมีแฟรนไชส์แล้ว
10 กว่าราย ส่วนใหญ่ อยู่ในต่างจังหวัด แต่ปัจจุบันได้เลิกหมดแล้วหลังจากที่หมดสัญญาซึ่งบริษัทฯไม่ต่อสัญญาให้
"ตอนนี้ไม่มีแฟรนไชส์แล้ว จุดขายทุกแห่ง เป็นการลงทุนและบริหารของบริษัทฯทั้งหมด
ซึ่งที่มีเวลานี้เป็นแบบเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า ทั้งหมด"
ขณะเดียวกันจะขยายจุดขายของโกลด์มาสเตอร์ให้เพิ่มมากขึ้นทั้งในรูปแบบ เคาน์เตอร์
และรูปแบบร้าน (Shop in Shop) ที่จะเป็นแฟลกชิปสโตร์ (Flagship Store) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มี
หลังจากที่ปิดสาขาแฟชั่นไอส์แลนด์กับซีคอนสแควร์ไปแล้วตั้งแต่ปี 2540 เพราะหมดสัญญาพื้นที่ก็ยังไม่มีเปิดอีกเลย
สาขาที่มีอยู่ปัจจุบันจึงเป็นลักษณะเคาน์เตอร์
ปัจจุบันโกลด์มาสเตอร์มีจุดขายทั้งสิ้น 30 กว่าแห่งทั่วประเทศ กระจายอยู่ตามห้างสรรพ-สินค้าใหญ่ๆเช่น
เซ็นทรัล เดอะมอลล์ โรบินสัน เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ โตคิว ตั้งฮั่วเส็ง เป็นต้น และ
บางส่วนตั้งอยู่ในร้านดิวตี้ฟีของคิงพาวเวอร์ 4 จุด
ในปีนี้บริษัทฯได้เปิดจุดขายใหม่เพิ่มขึ้น 4 แห่งแล้วคือ นครสวรรค์ ในห้างแฟรี่
แลนด์ เป็น แห่งแรกในต่างจังหวัด หลังจากที่เมื่อ 5 ปีที่แล้วได้หยุดขยายสาขาในต่างจังหวัด
ด้วยรูปแบบ แฟรนไชส์