Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2529
สภานม: เล่นต่างคนต่างพาย แล้วเมื่อไหร่จะถึงฝั่ง...?             
 


   
search resources

Dairy Product
สภาส่งเสริมการผลิตนมแห่งชาติ




หลังจากที่มีข่าวว่าจะตั้งสภานมมาตั้งนานแล้วแต่ก็กลายเป็นมวยล้มไป มาคราวนี้กระทรวงเกษตรฯ ฮึดฮัดอัดฉีดเรื่องสภานมขึ้นมาปัดฝุ่นกันใหม่อีกครั้ง คราวนี้จะไปล้มหรือไปโลดกันแน่...

สภานมนั้นมีชื่อเต็มว่า “สภาส่งเสริมการผลิตนมแห่งชาติ” หรือ “MILK BOARD”

คนไทยส่วนมากอาจจะไม่ค่อยคุ้นกับชื่อสภานมนัก แต่สำหรับเมืองนอกที่มีอุตสาหกรรมนมเป็นสินค้าหลักของประเทศแล้ว สภานมถือเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทมาก

สภานมจะมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้างนั้น “ผู้จัดการ” ได้รับคำอธิบายจากนักวิชาการท่านหนึ่งในวงการนมว่า “สภานมนั้นเขาจะรู้ดีว่าดีมานด์ของประเทศมีเท่าไหร่ ซัปพลายมีเท่าไหร่ จะต้องเอานมเนยเข้ามาเท่าไหร่ จะเข้ามาในรูปไหนบ้าง จะเข้ามาอย่างไร เป็นผู้กำหนดควบคุมการนำเข้าส่งออกจะอยู่ในระบบเดียวกัน และจะส่งเสริมอย่างไรต่อไป จะออกกฎระเบียบอย่างไรมาคุมเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมโดยเฉพาะ ตั้งแต่เกษตรกรจนถึงการขายครบวงจร”

เรียกว่าอะไรที่เกี่ยวกับนม (โค) นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับสภานมทั้งหมด

ประเทศไทยเริ่มคิดจัดตั้งสภานมครั้งแรกเมื่อปี 2513 เนื่องจากในตอนนั้นเกิดวิกฤตการณ์นมเหลืออย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก เพราะโรงงานแปรรูปนมของเอกชนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับซื้อนมดิบจากเกษตรกร แต่เนื่องจากรัฐขาดอำนาจทางกฎหมายที่จะไปบังคับให้โรงงานแปรรูปนมเหล่านี้ซื้อนมดิบ จึงได้แต่ขอความร่วมมือ แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร

บทเรียนในครั้งนี้ทำให้นักวิชาการในวงการนมทั้งหลายเสนอให้จัดตั้งสภานมขึ้นเหมือนต่างประเทศ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างและประสานงานในการดำเนินการเลี้ยงโคนม การผลิต การแปรรูป และการจำหน่ายน้ำนมดิบ และผลิตภัณฑ์รวมอยู่ภายใต้องค์กรเดียวกัน ซึ่งจะง่ายต่อการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้อง รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต

แต่เรื่องการจัดตั้งสภานมในครั้งนั้นก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ด้วยเหตุผลอะไรไม่เป็นที่เปิดเผย แล้วเรื่องก็เลยเงียบหายไปในที่สุด

จนมาถึงวิกฤตการณ์นมล้นตลาดอีกครั้งเมื่อปี 2528 กระทรวงเกษตรฯ ก็เลยเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติจัดตั้งสภานมขึ้นอีกครั้ง

ในครั้งนี้ก็สัมฤทธิ์ผลขึ้นมาขั้นหนึ่งแล้ว โดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ มีคำสั่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2528 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเตรียมการจัดตั้งสภานมขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งมีตัวแทนจากภาคเอกชนและภาครัฐบาลร่วมกัน คือ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นรองประธาน และมีคณะกรรมการจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สหกรณ์โคนม สมาคมหรือชมรมผู้เลี้ยงโคนม โรงงานผลิตภัณฑ์นมเอกชน ฯลฯ

เรียกว่าเป็นการชุมนุมคนในวงการนมทุกแขนงเลย

คนในวงการนมส่วนมากเห็นด้วยและสนับสนุนให้มีการตั้งสภานม แต่ก็กลัวว่าอาจจะไม่สำเร็จ เพราะปัญหาจากเรื่อง “อำนาจ” นั่นเอง

“อำนาจทางกฎหมายมันแตกออกไปอยู่หลายกระทรวง การที่จะไปดึงให้มารวมอยู่จุดเดียวกันมันมีปัญหามากเพราะของเดิมเขามีอยู่แล้ว อย่างเช่น กระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจให้ตั้งโรงงานได้ แล้วถ้าต่อไปนี้สภานมจะเป็นผู้อนุมัติเอง หรือกระทรวงการคลังมีหน้าที่จัดเก็บภาษี ถ้าสภานมบอกให้ยกเว้นภาษีเครื่องจักร กระทรวงการคลังจะยอมหรือเพราะจะทำให้เสียรายได้ของรัฐไป” แหล่งข่าวคนหนึ่งวิจารณ์

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอีกมากมายที่เกี่ยวข้อง เช่น

กระทรวงเกษตรมีอำนาจในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม

อสค. มีอำนาจหน้าที่ในการรับผิดชอบเรื่องการซื้อนมดิบ

บีโอไอมีอำนาจให้การส่งเสริมอุตสาหกรรม

กระทรวงพาณิชย์มีอำนาจควบคุมราคา การส่งออกผลิตภัณฑ์นม

เมื่ออำนาจกระจัดกระจายอยู่เช่นนี้การเล่นทีมเวิร์กก็เห็นจะค่อนข้างจะยาก คงจะขึ้นอยู่กับความจริงใจของแต่ละหน่วยงานว่าจะยอมสละอำนาจของตัวเองและให้ความร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้มากน้อยเพียงใด

หลังจากการประชุมเพื่อเตรียมงานจัดตั้งสภานมในครั้งนี้แล้ว ยังต้องใช้เวลาอีกนานเพราะคงจะต้องผ่านขั้นตอนอีกมาก จนด่านสุดท้ายก็ต้องผ่านเข้าสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนจะออกมาเป็นกฎหมาย

กว่าสภานมจะคลอดออกมาก็คงต้องลุ้นกันเหนื่อยเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us