Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2529
ดร.เคซีลี คนเอเชียกับระบบอาณานิคมตะวันตก             
 


   
search resources

โก ชิง ลี




โก ชิง ลี (เคซีลี) เกิดที่มณฑลยูนนาน เขาเป็นคนจีนแมนดาริน ซึ่งถือกันว่าเป็นเชื้อสายจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตระกูลของเขาเป็นชนชั้นสูงเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในแผ่นดินใหญ่มาก ว่ากันว่าจีนแมนดารินนิยมเป็นข้าราชการและขุนศึกในยุคเก่านั้น

ยูนนาน ดินแดนตอนใต้ของจีนถูกอังกฤษครอบงำในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ความขัดแย้งระหว่างชนชาติจีนกับคนตะวันตก (อังกฤษ) ก่อให้เกิดสงครามฝิ่น อันเป็นเรื่องราวของนักล่าอาณานิคมยุคเก่าที่อัปยศเรื่องหนึ่ง

ครอบครัวของลี มีความใกล้ชิดกับคนอังกฤษ ตัวเขาเองจึงมีโอกาสได้ร่ำเรียนในโรงเรียนดีๆ ในอังกฤษที่ ROYAL SCHOOL OF MINES, LONDON ลีเป็นคนฉลาด เขาเป็นคนแรกที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับแร่ทังสเตน และเป็นคนแรกที่พบแร่ชนิดนี้ในประเทศจีน รวมไปถึงการถลุงแร่เพื่อการส่งออกและอุตสาหกรรมต่อมามีการเรียกกระบวนการถลุงแร่ที่เขาคิดได้เป็นคนแรกว่า “LI PROCESS”

เมื่อคบกับอังกฤษ ลีก็ย่อมคบกับคนอเมริกันได้ ในปี (1916 หรือ พ.ศ. 2459) ที่ค้นพบแร่ทังสเตน เขาตั้งบริษัทวาชังขึ้นที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พุ่งเป้าทำการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนโดยส่งแร่และสินค้าเกษตรจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็ส่งสินค้าประเภทเครื่องจักร สารเคมี เหล็ก และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ จากสหรัฐฯ เข้าจีน

ในช่วงนี้เองลีได้กลายเป็น ดร.ลี เนื่องจากเขาได้ร่ำเรียนวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ต่อที่ AMERICA’S CLARKE UNIVERSITY เขาจึงกลายเป็นบุคคลที่รัฐบาลสหรัฐฯ จับไว้จนอยู่หมัดด้วยผลประโยชน์ที่สามารถผูกมัดไว้อย่างเหนียวแน่น บริษัทวาชังได้รับสิทธิในการหาแร่ดีบุก วุลแฟรม ทังสเตน อันเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตอาวุธตามข้อตกลงกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และเขาเองก็เป็นที่ปรึกษาด้านเหมืองแร่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ดร.ลีได้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่ให้กับสหรัฐฯ มากมาย เขาคือผู้ก่อตั้งและสร้างโรงงานถลุงแร่ขนาดใหญ่หลายแห่งในสหรัฐฯ รวมไปถึงบราซิลและโบลิเวีย

เขาได้รับรางวัลเกียรติยศประเภทเหรียญตราแทบนับครั้งไม่ถ้วนจากสหรัฐฯ!

ว่ากันว่า ดร.ลี ก็คือคนของพรรคก๊กมินตั๋งคนหนึ่ง เมื่อสงครามจีน-ญี่ปุ่นปะทุรุนแรง และในที่สุดเหมาเจ๋อตงประสบชัยชนะในการปฏิวัตินั้น ดร.ลี จำต้องระเห็จจากบ้านเกิด และเขาไม่มีสิทธิจะกลับไปอีกเลยตราบชั่วชีวิต

การต่อสู้ของ ดร.ลี ไม่สิ้นสุด ในที่สุดเขาก็สามารถประสานผลประโยชน์กับสหรัฐฯ ในฐานะคนจีนรักชาติอีกปีกหนึ่งประเภทหนึ่งที่ไม่ต้องการให้จีนแผ่นดินใหญ่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ โดยที่เขาเป็นกำลังสำคัญในการหาแร่ชนิดสำคัญๆ ป้อนโรงงานผลิตอาวุธสหรัฐฯ ประหัตประหารฝ่ายตรงข้าม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี อันเป็นที่ที่สหรัฐฯ ออกโรงขยายอิทธิพลของความเป็นนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ครั้งสำคัญ และก็ไม่มีใครหยุดยั้งได้จนถึงปัจจุบัน

ไทยวาเทรดดิ้ง จึงเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายอันกว้างใหญ่ของดร.ลี ที่บังเอิญเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในแผนของสหรัฐฯ

วา (WAH) เป็นภาษาจีนกลางของคนจีนซึ่งถือว่าเป็นคนชั้นสูงแปลว่า “จีน” ซึ่งแสดงออกมาอย่างชัดเจนว่าผู้ให้กำเนิดบริษัทที่มีชื่อนี้ มีความเป็นมาเช่นใด

ดร.ลี ตั้งบริษัทไทยวาขึ้นในประเทศไทย โดยประสานงานกับคนจีนสาย “ก๊กมินตั๋ง” ในไทยคนหนึ่งที่ชื่อวีทีลู เมื่อปี 2528 ไต้หวันฉลองวันชาติเงียบๆ ณ โรงแรมชั้นหนึ่งแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ วีทีลู ยังหอบสังขารกว่า 70 ปีของเขามาปรากฏกายในงานนั้นด้วย!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us