Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2529
จะอุ้มกันไปถึงไหน: เมื่อบีโอไอถูกหาว่าโอ๋แต่ฟินิคซฯ             
 


   
search resources

ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์, บมจ.
Pulp and Paper




เยื่อกระดาษคืออะไร? ขอเวลาท่านผู้อ่านชี้แจงสักนิด

เยื่อกระดาษก็คือวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตกระดาษแบบต่างๆ มีทั้งเยื่อใยสั้นซึ่งได้จากพืชพวกอ้อย เยื่อใยกลาง เช่น พวกปอและไม่ไผ่ จนกระทั่งพวกที่มีเยื่อใยยาว เช่น พวกสนต่างๆ

พืชเส้นใยพวกนี้แหละที่สามารถเอามาทำเยื่อกระดาษได้โดยผ่านกรรมวิธีย่อยสลายทางเคมีต่างๆ จนกระทั่งเหลือแต่เส้นใยที่เป็นไฟเบอร์แท้ๆ แล้วก็อบแห้งและรีดออกมาเป็นแผ่น

ในเมืองไทยยังผลิตได้แต่เยื่อใยสั้นและเยื่อใยกลาง ซึ่งสามารถนำไปผสมกับเยื่อใยยาวซึ่งสั่งมาจากต่างประเทศแล้วโรงงานกระดาษก็นำไปผลิตเป็นกระดาษประเภทต่างๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ

ถ้าหากนำไปผลิตกระดาษพิมพ์หรือกระดาษเขียน ก็ต้องทำเป็นเยื่อฟอกขาวให้กับโรงงานกระดาษ แต่ถ้าหากเป็นโรงงานที่ผลิตกระดาษอุตสาหกรรม พวกกระดาษคราฟท์ ก็ไม่จำเป็นต้องฟอกขาว

นอกจากนี้ก็อาจจะพลิกแพลงตามประสาคนไทยเลี่ยงการใช้เยื่อกระดาษราคาแพง มาใช้เศษกระดาษจากเมืองนอกซึ่งมักจะเป็นเศษกระดาษชั้นดีนำมาย่อยเอาหมึกพิมพ์ออกไปเสียก่อน แล้วก็เอาไปผสมกับเยื่อกระดาษประเภทต่างๆ ผลิตมาเป็นกระดาษพิมพ์-เขียนอย่างที่เราใช้กันอยู่ รวมทั้ง “ผู้จัดการ” ที่คุณกำลังอ่านอยู่ในมือเล่มนี้ด้วยเช่นกัน

ทีนี้ลองมาดูบทบาทของบีโอไอหรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนดูบ้างว่าเขาเอาอกเอาใจ ช่วยเหลือดูแลกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนไปอย่างฟินิคซฯ นี้ได้ดีแค่ไหน

ฟินิคซฯ เริ่มผลิตเยื่อกระดาษส่งออกขายจริงๆ เมื่อเดือน พ.ค. ปี 25 หลังจากนั้นก็ค่อยๆ เขยิบราคาขึ้นมาก ลงน้อยตามแต่ว่าช่วงไหนจะมีเยื่อกระดาษเข้ามาตีตลาดมากน้อยเพียงใด

ลองมาดูราคาเยื่อกระดาษจากฟินิคซฯ กันก่อนดีกว่า

1 ก.ย. 25 ราคาตันละ 8,500 บาท (เครดิต 30 วัน)

15 ก.ย. 25 ราคาตันละ 9,500 บาท (เครดิต 30 วัน)

5 เม.ย. 25 ราคาตันละ 10,600 บาท (เครดิต 30 วัน)

ก.ย. 25 ราคาตันละ 12,000 บาท (เครดิต 30 วัน)

มี.ค. 27 ราคาตันละ 12,500 บาท (เครดิต 30 วัน)

ม.ค. 28 ราคาตันละ 12,200 บาท (เงินสด)

มี.ค. 28 ราคาตันละ 11,000 บาท (ช่วงนี้ตลาดนอกลดราคา)

พ.ค. 28 ราคาตันละ 10,800 บาท (เงินสด)

ก.ย. 28 ราคาตันละ 11,200 บาท (เครดิต 30 วัน)

พ.ย. 28 ราคาตันละ 10,500 บาท (เงินสด)

ราคาตันละ 11,200 (เครดิต 30 วัน)

ก.พ. 28 ราคาตันละ 11,500 (เงินสด)

ความผิดพลาดอย่างร้ายกาจของฟินิคซฯ ก็คือการคาดการณ์ราคาตลาดโลกของเยื่อกระดาษผิด ดังนั้นเมื่อราคาตลาดโลกดิ่งลงเหว เพราะภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาในช่วงปี 25 บรรดาผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ทั่วโลกก็ทุ่มกระดาษที่เหลืออยู่ในสต็อกออกขายในราคาที่ไม่ต้องคำนึงถึงต้นทุน เพราะถือว่าเป็นส่วนเกิน หรือที่เรียกกันว่า DUMPING MARKET

และผู้ใช้เยื่อกระดาษบ้านเราก็นิยมที่จะซื้อกระดาษจากตลาดนี้มากกว่า การทำสัญญาซื้อระยะยาวเสียด้วย

เยื่อกระดาษจากฟินแลนด์ลดลงจากราคาเฉลี่ย 558.75 เหรียญ เมื่อปี 23 เหลือ 480 เหรียญ ในปี 24 เหลือ 353.75 เหรียญในปี 25 และถึง 340 เหรียญ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 26 ซึ่งนับเป็นการลดต่ำสุดในรอบ 4-5 ปี

บางคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น “โชคร้าย”ของฟินิคซฯ ที่ดันมาทำโครงการเอาในช่วงนี้พอดี

แต่เมื่อโครงการนี้เดินหน้าไปแล้วจนเริ่มผลิตได้แล้ว การถอยหลังจึงไม่มีใครคิด ทุกคนจึงคิดเพียงแต่ว่าทำอย่างไรถึงจะพยุงกิจการที่ลงทุนไปแล้วร่วม 2,000 ล้านบาทได้

แล้ววิธีการแบบโบราณที่บีโอไอใช้มาตลอดเวลาก็คือการขึ้นค่าธรรมเนียมพิเศษ หรือเซอร์ชาร์จกับสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตจากต่างประเทศและมีผู้นำเข้ามาขายแข่งกับสินค้าที่ผลิตได้ในประทศแต่ราคาสูงกว่า

เป็นวิธีง่ายๆ ที่ใช้เมื่อไรก็ได้ผลเมื่อนั้น คือบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนก็สบายตัวไป อย่างน้อยก็จนกว่าจะหมดช่วงเวลาที่เก็บเซอร์ชาร์จ เสร็จแล้วก็ค่อยมานั่งเจรจาอ้อนวอนให้เห็นความจำเป็นเพื่อจะได้ต่ออายุเซอร์ชาร์จกันต่อไป

แล้วบีโอไอก็มักจะใจดีต่อให้อยู่เรื่อยๆ

สำหรับฟินิคซ์ฯ แล้วก็ไม่ผิดเพี้ยนไปจากแนวปฏิบัตินี้เช่นกัน

เริ่มแรกกระทรวงการคลังก็เปิดเกมให้ก่อนโดยประกาศเมื่อ 17 ส.ค.25 ปรับอากรขาเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษซึ่งใช้ทดแทนเยื่อกระดาษได้บางส่วนในการผลิตกระดาษขึ้นมาจาก 9% เป็น 10% ของราคานำเข้า

นี่เรียกว่าเป็นการช่วยกันอย่างถาวรครั้งที่ 1

ต่อมาหลังจากที่ฟินิคซ์ฯ วิ่งเข้าออกบีโอไอเรื่องถูกเยื่อกระดาษนอกตีตลาดอยู่พักใหญ่ 24 พ.ย. 25 บีโอไอก็ประกาศเก็บเซอร์ชาร์จจากการนำเข้าเยื่อกระดาษฟอกขาวชนิดนอนวู้ดพัลพ์และฮาร์ดวู้ดพัลพ์ที่มีความสว่าง 65% ขึ้นไป ในอัตรา 20% ของราคาที่นำเข้าซีไอเอฟ เป็นเวลา 1 ปี

พอถึงปลายปี 26 ฟินิคซฯ ก็เดินเกมใหม่หวังสร้างระบบผูกขาดขึ้นด้วยการเสนอให้มีการจัดสรรโควตา ที่โรงงานกระดาษทุกโรงต้องซื้อเยื่อกระดาษจากฟินิคซฯ ตามสัดส่วนการนำเข้า คือถ้านำเข้ามากก็ต้องซื้อเยื่อจากฟินิคซฯ มากด้วย

แต่บีโอไอก็คงรู้สึกเหมือนกันว่ามันจะมากเกินไป หากให้ฟินิคซฯ มีสิทธิ์จัดโควตาได้อย่างนี้ ระบบการค้าเสรีก็คงหมดความหมาย

เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อถึง พ.ย. 27 ซึ่งก็ควรจะเป็นช่วงเวลาที่ฟินิคซฯ ควรจะยืนอยู่บนขาของตัวเองได้เสียทีแล้ว และบีโอไอก็ไม่ได้ต่ออายุเซอร์ชาร์จให้ ฟินิคซ์ฯ จึงต้องใช้แรงผลักดันอีกครั้งหนึ่งให้ผู้ใหญ่ในบีโอไอเห็นว่า ควรจะต้องมีการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศต่อไป มิฉะนั้น ฟินิคซฯ อยู่ไม่รอดแน่

และผู้ใหญ่อย่างชีระ ภาณุพงษ์ รองเลขาธิการบีโอไอ ก็เป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งมาดปรารถนาให้อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษยืนอยู่ได้ตลอดไป แม้ว่าจะต้องช่วยอุ้มชูกันไปสักพักหนึ่ง (นานเท่าไรไม่มีใครรู้) ก็ตาม

ดังนั้นเมื่อฟินิคซฯ เสนอให้มีการคุ้มครองโดยการเรียกเก็บเซอร์ชาร์จเยื่อ กระดาษ 20% ตามเดิมต่อไปอีกครั้งหนึ่ง แถมคราวนี้พ่วงเอาเศษกระดาษเข้ามาด้วยอีกตัวหนึ่ง ผู้ใหญ่ในบีโอไอก็โอเค

ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพ่อค้ากระดาษก็ดูทิศทางลมอยู่แล้ว เห็นชัดว่าฟินิคซฯ ก็ไม่มีทางสู้ราคาเยื่อกระดาษจากเมืองนอกได้ถ้าไม่มีเซอร์ชาร์จ ดังนั้นในช่วงที่ประกาศเก็บเซอร์ชาร์จอยู่ก็เลยมีการหันไปสั่งซื้อกระดาษเข้ามากันเป็นจำนวนมาก เพราะสามารถใช้แทนเยื่อกระดาษได้ส่วนหนึ่งและยังไม่ถูกเก็บเซอร์ชาร์จอีกด้วย

และยิ่งถึงช่วงปลอดเซอร์ชาร์จระหว่าง พ.ย. 28-26 มิ.ย. 28 อันเป็นวันเริ่มเก็บเซอร์ชาร์จใหม่ บรรดาโรงงานกระดาษทั้งหลายที่รู้แกวว่า เซอร์ชาร์จจะต้องกลับมาอีกแน่ก็ระดมกันสั่งเยื่อกระดาษเข้ามาสต็อกไว้ก่อนเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น เมื่อเริ่มใช้เซอร์ชาร์จใหม่แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยให้ฟินิคซฯ ขายเยื่อกระดาษได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่เยื่อกระดาษจากฟินิคซฯ ยังแพงกว่าเยื่อกระดาษที่นำเข้าแล้วรวมเซอร์ชาร์จอยู่ดี

“ก่อนหน้าที่จะมีการลงมติให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษได้มีการนำเข้าเยื่อกระดาษประเภทต่างๆ ที่แข่งขันกับเยื่อกระดาษของบริษัทมาขายให้กับโรงงานต่างๆ ในราคาเพียง 9,300 บาท (ช่วงนั้นฟินิคซฯ ตั้งราคาขาย 12,200 บาทต่อตันในราคาเงินสด) ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ขายอยู่ในประเทศของผู้ผลิตเองอย่างมาก” ตอนหนึ่งในรายงานคณะกรรมการที่เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของฟินิคซฯ เมื่อต้นปีกล่าวถึง แต่ในทัศนะของพ่อค้ากระดาษ แล้ว

“เขาอ้างว่าช่วยเหลืออุตสาหกรรมการผลิตในประเทศให้ยืนอยู่ได้ แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องให้พวกผมแบกภาระกันอย่างนี้ แทนที่ผมจะผลิตกระดาษได้ราคาถูกลง ผู้ใช้ก็จะได้ใช้กระดาษราคาถูกลงด้วย แต่นี่เขากำลังทำให้โรงงานกระดาษตายกันเป็นแถว เพื่อรักษาฟินิคซฯ เอาไว้โรงเดียวเท่านั้นหรือ”

ผู้ใหญ่ในบีโอไอจะว่ายังไงไม่ทราบ?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us