Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2529
จากบางปะอินถึงนิวสปรินซ์: เส้นทางสายนี้มีแต่ความเจ็บปวด             
 


   
search resources

ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์, บมจ.
สมศักดิ์ พิทักษ์มงคลกุล
Pulp and Paper
บางกอกนิวสปรินซ์ คอมเพล็กซ์




มีคำกล่าวว่าคนที่เป็นนักอุตสาหกรรมนั้นก็เปรียบเหมือนกับการ “อุตสาหกรรม” มาใส่ตัวนั่นเอง ดู ๆ แล้วก็น่าจะเป็นความจริงอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะสำหรับเมืองไทย

และยิ่งน่าจะใกล้เคียงความจริงเอามากๆ เมื่อมามองดูเฉพาะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษในบ้านเรา

เพราะล้วนแล้วแต่เป็นแผลร้ายในหัวใจใครๆ มามากมายเสียเหลือเกิน

ตั้งแต่เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ที่โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ คิดตั้งโรงงานกระดาษรวมทั้งทำเยื่อกระดาษเองด้วย ก็อยู่ในช่วงทอปบู๊ทครองเมืองนั่นแหละ

โรงงานนี้อยู่กับกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนั้นกระทรวงก็เลยไปว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศสเข้ามาศึกษาดูว่าจะเอาอะไรมาทำเยื่อกระดาษดี

ดูไปดูมา เห็นไผ่เยอะแยะไปหมด แต่มาคิดดูหากปลูกป่าไผ่ขึ้นมาเพื่อป้อนโรงงาน คงหนีปัญหาถูกลักลอบตัดไม่ได้ เผลอๆ จะเจ๊งเอาซะก่อน

ก็ไปดูสนทางภาคเหนือ สมัยนั้นการขนส่งก็ยังสาหัสสากรรจ์อยู่ ก็ไม่เอา

ฝรั่งฉลาดมาก เห็นฟางข้าวเหลือทิ้งเยอะแยะ ก็เลยสรุปทันทีว่าทำเยื่อกระดาษจากฟางข้าวดีกว่าเวฟที่สุด

ก็ตกลงมาตั้งโรงงานทำเยื่อและกระดาษที่บางปะอินเสียเลย เพราะอยู่ในท่ามกลางนาข้าววัตถุดิบมีอยู่รอบตัวเหมาะสมร้อยเปอร์เซ็นต์ พอตั้งโรงงานเสร็จ เปิดผลิตได้ 6 เดือน ต้องปิดแผนกเยื่อ

เหตุผลเพราะไม่มีฟางข้าวมาทำเยื่อ...คุณเชื่อไหม

มันเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขาที่ฝรั่งไม่มีทางรู้ เพราะคันนาบ้านเรานั้นมันไม่กว้างพอให้รถขนฟางวิ่งได้ ที่สำคัญตอนนั้น เราไม่มีเบลลิ่งสเตชั่นเลย คือเครื่องอัดฟางข้าวให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมลูกบาศก์

กว่าจะขนฟางได้สักตันหนึ่ง นี่ต้องใช้แรงงานไม่รู้เท่าไร ใช้รถสิบล้อสัก 2 คันยังไม่รู้หมดหรือเปล่า ยิ่งเป็นเมื่อ 30 ปีก่อนด้วย

เรื่องง่ายกลับเป็นเรื่องยาก...โรงงานบางปะอินก็ตายไปครึ่ง ต้องอิมพอร์ตเยื่อเข้ามาทำกระดาษตั้งแต่นั้นมา

คนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ในสมัยนั้นตอนนี้ก็ล้วนปลดเกษียณกันไปคนละ 5 ปี 10 ปีหมดแล้ว ลองไปถามไถ่ดูท่านเหล่านั้นก็คงจะหัวเราะไม่ออก

ถัดมาก็เรื่องสยามคราฟท์ ผู้สร้างตำนานการผ่าตัดกิจการอันลือชื่อให้กับอมเรศ ศิลาอ่อนและคณะ ที่เข้ามาอุ้มไว้ในฐานะของเครือซิเมนต์ไทยนั่นเอง

แต่เบื้องหลังสยามคราฟท์ที่ไม่เคยได้ยินใครที่ไหนเล่าให้ฟังก็คือการหลอกต้มกลางเมืองของสยามคราฟท์ในยุคแรก

ที่แม้แต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เองก็ยังถูกหลอก

ก่อนที่ทรัพย์สินฯ จะเข้าถือหุ้นในสยามคราฟท์จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น สยามคราฟท์ต้องการเงิน 160 ล้านบาท ก็เอาโครงการนี้มาให้บรรษัทพิจารณา

สมัยนั้นการพิจารณาที่บรรษัทต้องผ่านการวิเคราะห์ 3 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวิศวกรรม ด้านการตลาด และด้านการเงิน และต้องผ่านทั้ง 3 ด้านถึงจะโอเค ถ้าอันใดอันหนึ่งไม่ผ่านก็จบกัน

เมื่อโปรเจ็กต์นี้ผ่านมือผู้วิเคราะห์โครงการด้านตลาดและการเงินก็ผ่านไปอย่างเรียบร้อย แต่เมื่อผ่านไปถึงด้านวิศวกรรม ผู้วิเคราะห์บอกให้ผ่านไม่ได้

เพราะในแง่เทคนิคนั้น สยามคราฟท์ต้องการทำกระดาษเหนียวต้องใช้เยื่อใยยาว แต่เขาเอาชานอ้อยมาทำ ซึ่งเป็นเยื่อใยสั้น มันทำไม่ได้ ถ้าทำได้จะต้องอิมพอร์ตเยื่อใยยาวเข้ามาผสม ราคาก็ต้องสูงขึ้น ผู้วิเคราะห์แทงลงไปว่า “UNTECHNICALLY SOUND” แถมทำเป็นรีพอร์ตเรียบร้อยโครงการนี้ก็เลยถูก “KILL” ไม่ผ่านบรรษัท

และคนที่รีเจ็กต์โครงการนี้ก็คือคนที่ชื่อ สำเร็จ บุนนาค นั่นเอง

พอดีในช่วงนั้น ทรัพย์สินฯ เข้าไปร่วมทุนด้วย ก็ไม่จำเป็นต้องใช้บรรษัท หลังจากนั้นไม่นานสยามคราฟท์ก็ล้ม

และด้วยเหตุที่ปูนซิเมนต์ไทยหลวมตัวถือหุ้นอยู่ด้วย 10% ในฐานะที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อกระดาษคราฟท์จากสยามคราฟท์อยู่ด้วย ก็เลยต้องตกกระไดพลอยโจนไปด้วย ปลุกปล้ำอยู่ร่วม 10 ปี จนเดี๋ยวนี้สยามคราฟท์ก็ดีวันดีคืนขึ้นมาแล้ว

อันนี้ก็ต้องยกเครดิตให้ปูนซิเมนต์ไทยไปตามระเบียบ

ในช่วงไล่ๆ กับสยามคราฟท์นี่แหละที่สำเร็จ บุนนาค เข็นโครงการยูไนเต็ด พัลพ์ แอนด์เพเพอร์ ออกมาวิ่งหาแหล่งเงินทุนเพื่อทำโรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากปอเป็นแห่งแรก

หลังจากที่ใช้เวลาค้นคว้าด้วยตัวเองในฐานะที่เป็นวิศวกรอาชีพอยู่แล้วกว่า 6 ปี

ด้วยความไม่จัดเจนในแวดวงธุรกิจ โครงการนี้ก็หลุดมาอยู่ในมือของสมศักดิ์ พิทักษ์มงคลกุล โปรโมเตอร์ที่ไม่มีใครรู้จักและชื่อของสำเร็จ บุนนาค ก็หลุดหายไปจากวงโคจร

สมศักดิ์ฉลาดพอที่จะไม่ลอกโปรเจ็กต์เก่ามาทั้งดุ้น ดังนั้นจุดที่ตั้งโรงงานเดิมที่ยูไนเต็ดซื้อที่ไว้ที่สระบุรีก็เลยกลายเป็นที่ขอนแก่น พร้อมทั้งหันไปดึงผู้ใหญ่หลายๆ ระดับมาเล่นด้วย จนกลายเป็นโครงการแห่งชาติไป

แต่เมื่อสร้างโครงการนี้สำเร็จและเริ่มทำการผลิต สมศักดิ์ก็กลายเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนาไปเสียแล้ว เมื่อสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ ผู้ที่เขาดึงเข้ามาเป็นประธานกรรมการตลอดกาลของฟินิคซฯ มากระซิบกับเขาว่าขอให้เขาสละตำแหน่งกรรมการเสีย

ส่วนจะด้วยเหตุผลใดนั้นไม่แจ้งชัด

สมศักดิ์ตอนนั้นก็คงรู้อยู่แก่ใจแล้วว่าประวัติศาสตร์กำลังซ้ำรอยตัวเอง และตัวเองก็มีเครดิตดีอยู่แล้วในสายตาของคนภายนอก ด้วยความที่เป็นคนที่ไม่หยุดนิ่งและมองหาสิ่งใหม่ ๆ ทำอยู่เสมอ

เขาก็เดินออกมาจากฟินิคซฯ ด้วยดี แม้ว่าจะมีคนเข้าใจอีกเป็นอันมากว่าเขายังอยู่กับฟินิคซฯ ก็ตาม

แล้วจู่ ๆ ก็มีข่าวว่าเขามาทำโครงการบางกอกนิวสปรินซ์ คอมเพล็กซ์ เพื่อผลิตเยื่อกระดาษและทำกระดาษหนังสือพิมพ์ ขึ้นมาอีกโครงการหนึ่ง

หลายคนมองว่าเขากำลังสร้างนิวปรินซ์ขึ้นมาเป็นคู่แข่งของฟินิคซฯ

แต่เขายืนยันว่า เป็นเพราะเขาหมดภาระจากการเป็นโปรโมเตอร์ให้กับฟินิคซฯ แล้ว และโครงการใหม่นี้ก็ไม่ได้เป็นคู่แข่งอะไรกับฟินิคซฯ เพราะเป็นตลาดคนละตลาดกัน

ซึ่งเขาในฐานะโปรโมเตอร์ก็อยากจะสร้างขึ้นมาอีกโครงการหนึ่ง เพราะเห็นว่ามันจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่างมหาศาลเช่นกัน

แล้วโครงการ 3.5 พันล้านก็เริ่มขึ้นเมื่อปี 2524

แล้วสมศักดิ์ก็ออกหาผู้ร่วมทุนและทำการล็อบบี้ใครต่อใคร เหมือนกับที่เขาทำกับโครงการฟินิคซ์ฯ โดยอาศัยเส้นสายที่เขามีอยู่สมัยเริ่มทำโครงการฟินิคซฯ ใหม่ๆ

แต่คราวนี้มันไม่ง่ายอย่างที่คิดเสียแล้ว เพราะขณะที่นิวปรินซ์กำลังเริ่มนั้น ฟินิคซ์ฯ ก็ฟุบไปเสียก่อน กลุ่มธนาคารไทยเองก็เริ่มมองสมศักดิ์ด้วยสายตาที่ไม่ค่อยเชื่อถือมากขึ้น (อาจมีบางคนมองอย่างไม่เชื่อถือมาตั้งแต่ต้นแล้วก็ได้)

เริ่มตั้งแต่กลุ่มผู้ร่วมดำเนินงานซึ่งก็มีบริษัทวิสโคส คอนซัลติ้ง ร่วมด้วย อันเป็นผู้ถือหุ้นและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคกระดาษของฟินิคซฯ แค่นี้แบงก์ก็เริ่มไม่ไว้ใจแล้ว

ต่อมาก็เรื่องของวัตถุดิบซึ่งจะต้องใช้ไม้สนจากป่าสัมปทาน ซึ่งงานป่าไม้เป็นงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับอิทธิพลท้องถิ่นและประสบการณ์สูงมาก รวมทั้งยังมีต้นทุนแอบแฝงอีกมากด้วย ซึ่งท้าทายต่อฝีมือทีมบริหารของนิวปรินซ์มากทีเดียว

รวมถึงเรื่องตลาดซึ่งผู้ซื้ออยู่ในประเทศทั้งหมด ซึ่งก็ยังไม่มีความมั่นใจในผลผลิตที่นิวสปรินซ์ทำได้ว่าจะสู้ของเมืองนอกได้ และในราคาที่เท่ากันหรือต่ำกว่าได้

ซึ่งตราบใดที่ยังดึงกลุ่มผู้ใช้มาเป็นผู้ถือหุ้นไม่ได้ โครงการนี้ก็ดูจะเกิดได้ยากเต็มที

ในที่สุดก็ล้มพับไปจริงๆ

“ต่อไปนี้คงไม่มีใครกล้าเล่นกับโครงการเยื่อกระดาษอีกแล้วละ จนกว่าฟินิคซฯ จะ SETTLE ได้เมื่อไรนั่นแหละ ค่อยมาพูดกัน” คนที่คลุกคลีกับเยื่อกระดาษมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทยรำพึงกับ “ผู้จัดการ”

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us