Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
ดร.ดอน ภาสะวณิช "ความหวังทุกอย่างอยู่ที่รัฐบาล"             
 


   
search resources

ดอน ภาสะวณิช




ดอน ภาสะวณิช จากเมืองไทยไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นเขาย้ายไปศึกษาต่อปริญญาตรี-โท สาขาวิศวกรรม ไฟฟ้า ที่ Rensselaer Polytechnic Institute และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจจาก University of Pittsburgh สหรัฐอเมริกา และกลับไปต่อปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ที่ Liverpool University ประเทศอังกฤษ

หลังจากนั้นเขาไปเริ่มต้นชีวิตการทำงานยังสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มต้น การทำงานที่ Westinghouse Science & Technology Center ในตำแหน่งหัวหน้า วิศวกรประจำแผนก Optical Physics & Plasma and Nuclear Science เป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ ต่อมาเขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นวิศวกรอาวุโส ประจำแผนก Physics International Corporation ทำอยู่ได้อีกประมาณ 7 ปี เขาตัดสินใจหอบหิ้วครอบครัวกลับมาเมืองไทย เพื่อได้ใกล้ชิดกับบุพการี ระหว่างที่เขากลับมาเมืองไทย เขาได้ร่วมงานกับ TT&T ในตำแหน่ง รองประธานและ หลังจากที่มีคำว่า "อาวุโส" ต่อท้าย "รอง ประธาน" ได้แค่เดือนเดียว เขาก็กลายเป็นคนไทยคนแรกที่ได้นั่งในตำแหน่ง Country Manager หรือตำแหน่ง General Manager ที่ DHL (ประเทศไทย) ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดอนเล่าว่า เขาเริ่มต้นชีวิตการทำงานโดยรับผิดชอบในส่วนของ Back Office คือ ทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่แผนก Optical Physics & Plasma and Nuclear Science ต่อมาพอมีคนรุ่นใหม่เข้ามาซึ่งเก่งกว่า เขาก็ย้ายไปอยู่ในส่วนของ Product Deve- lopment ที่แผนก Physics International Corporation และท้ายสุดได้อยู่ในส่วนของ Front Line คือ ทำงานที่เน้นเรื่องการขาย ที่ DHL ประเทศไทย

"ผมคิดว่า ผมได้ทำงานที่ครบวงจร และเหมาะสมแล้ว ตอนผมอายุน้อย ผมก็ทำด้านวิชาการ เขียนรายงาน ไปประชุมสัมมนา ซึ่งอเมริกายุคนั้นเป็น ยุคของเรแกน มีเงินทุนทางด้าน R&D เยอะมาก และผมก็ทำจนอิ่มตัว จนกระทั่งช่วง 10 ปีหลัง ที่โซเวียตล่มสลายแล้ว รัฐบาลอเมริกาต้องหาทางทำของขายให้ได้ ผมก็เปลี่ยนไปเป็นคนขายของ โดยเอางานวิจัยที่ทำในแลบออกไปขายพวก Venture Capital ที่อยู่ในแคลิฟอร์เนีย โดยผมทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างนักวิชาการกับนักลงทุน ซึ่งผมชอบมากได้เจอคนหลายประเภท และท้ายที่สุดผมก็มาเป็นผู้จัดการทั่วไปที่ DHL ประเทศไทย ซึ่งผมคิดว่า เกือบจะเป็นงานที่ยากที่สุดของผมแล้ว เพราะเป็นงานจิปาถะมาก ต้องดูแลทุกเรื่อง แต่ผมคิดว่า เหมาะสมสำหรับผมที่อายุมากแล้ว ซึ่งวันนี้ ถ้าให้ผมไปเป็นผู้อำนวยการ R&D ที่ไหนสักแห่งผมก็คงไม่เอา เพราะคงไม่มีอะไรให้ทำ แต่ที่นี DHL ผมสามารถทำได้ทุกเรื่อง" ดอนเล่าประสบการณ์ทำงานของเขา

จาก "วิศวกร" สู่ "พ่อบ้าน"... นับเป็นประวัติการทำงานที่น่าสนใจทีเดียว เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

"ฝรั่งเขาจะรู้จักประเทศไทยจากรายงานข่าวเท่านั้น ซึ่งในรายงานก็จะบอกแค่ระดับความมั่นคงของรัฐบาล ความสะอาดของสนามบิน ระบบธนาคาร ของเรามีความเกี่ยวดองกันเป็นเพื่อนฝูงกันหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นของนอกกายของพวกเรา แต่เป็นสิ่งที่ฝรั่งเขารับรู้กันว่าเขาจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยหรือไม่มา ซึ่งถ้าเราสามารถเปลี่ยนภาพเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ ผมคิดว่า ความเชื่อถือก็จะไม่มี และเงินทุนที่ไหลออกไปแล้ว ก็จะไม่กลับมาง่ายๆ และ ณ วันนี้ เงินทุนที่ไหลออกก็ยังคงไหลออกอยู่ ฉะนั้นบาดแผลของประเทศไทยยังปิดไม่สนิท" จากความเห็นนี้หลายคนอาจจะเกิดความรู้สึกคล้อยตาม หรือขัดแย้ง แต่หากย้อนคิดให้ดีแล้วจะพบว่านี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับเมืองไทยมาตลอด

เป็นความเห็นของชายหนุ่มผู้จากเมืองไทยไปนานกว่า 30 ปี และกลับเมืองไทยมาในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์ ทางเศรษฐกิจพอดี ภาพที่เขาได้เห็นคือ การล่มสลายของธุรกิจไทย โดยเฉพาะการที่เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่สูญหายไปภายในพริบตาเดียว

เขายังแสดงความเห็นต่อประเด็น นี้อีกว่า

"ผมว่า ถ้ารัฐบาลไทยใจกล้าแบบเกาหลีใต้ ซึ่งค่อนข้างรุนแรงมาก มีการเขียนกฎหมายใหม่เป็นร้อยๆ ฉบับ ซึ่งฟังดูดีแม้ว่าข้างในจะเละอยู่ แต่ภาพที่ออกมาคือ มีการเปลี่ยนแปลง แต่ของ เรากว่าจะเขียนกฎหมายได้ 1 ฉบับเถียง กัน 2 ปี และแก้ไปแก้มาเหลืออยู่นิดเดียว คนอ่านเขาก็รู้ว่ามั่ว ถ้าเรายังเป็นแบบนี้อยู่ ผมคิดว่าจะไม่มีคนมาลงทุน แต่ก็โชคดีที่เราไม่ได้แย่ที่สุดในภูมิภาคนี้ เรายังมีโอกาส แต่ต้องมีความตั้งใจด้วย และพวกหนุ่มสาวรุ่นใหม่จะต้อง เริ่มมีปากเสียง เริ่มพูดแทนเมืองไทยได้แล้ว ฝรั่งเขาไม่ได้นั่งอยู่ในเมืองไทย เขา อ่านแต่ข่าว ซึ่งข่าวเหล่านั้นก็เขียนแต่เรื่องของรัฐบาล...สนามบิน...รถติด ฉะนั้นถ้ารัฐบาลเห็นเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ก็เริ่มแก้ไข และออกกฎหมายที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ และบังคับใช้ได้จริง ภาพพจน์ของประเทศจะดีขึ้น เพราะทั้งหมดนี้คือ เรื่องของ "ภาพพจน์" เท่านั้น"

นอกจากนั้น เขายังคิดว่า ถ้าคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มีโอกาสได้ขึ้นมาบริหารประเทศ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงที่ดีขึ้น โดยเขาหวังว่า "คนยุคใหม่ จะสามารถสร้างความแตกต่างได้ และสามารถตอบได้ว่าที่ประเทศไทยเจ๊ง เพราะคนรุ่นก่อนบริหารงานไม่ได้ประ-สิทธิภาพประสิทธิผล" มุมมองของเขาน่าคิดทีเดียว...

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us