Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 ตุลาคม 2546
ธปท.ชี้47ปีทอง ศก.โตเฉลี่ย6.5%             
 


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
บัณฑิต นิจถาวร
สมชัย สัจจพงษ์




แบงก์ชาติปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยโตปีนี้เพิ่ม 0.5% เป็น 5.75% - 6.25% เหตุเศรษฐกิจ 3 ไตรมาสแรกขยายตัวดี คาดปี 2547 ไทยรับแรงหนุนจากการลงทุนรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น ทำให้ ธปท.ปรับประมาณการเศรษฐกิจประเทศขยายตัวเพิ่มปี 2547 อีก 0.5% เป็น 6.5% ด้าน คลังเตรียมเสนอยุทธศาสตร์พัฒนาชาติ ให้ครม.สัญจรที่สุราษฎร์ฯ ไฟเขียว 29-30 พ.ย.นี้ เน้นพัฒนาโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ดันเศรษฐกิจขยาย ยั่งยืนเฉลี่ย 6% ต่อปีอีก 5 ปีข้างหน้า เชื่อ 2547 ปีทองการลงทุน

นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยวานนี้ (30 ต.ค.) ว่าขณะนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยทุกตัว แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นแล้ว แต่สิ่งสำคัญ คือจะทำอย่างไรให้การเติบโตเศรษฐกิจของประเทศยั่งยืน

กระทรวงการคลังมองว่า เศรษฐกิจไทยไม่ ต้องการมาตรการกระตุ้นระยะสั้นอีกต่อไป แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกเพิ่ม ต้องเป็น มาตรการระยะปานกลางและยาว ซึ่งอาจเป็นมาตรการคลัง หรือมาตรการการเงิน ที่ไม่เป็นภาระ ต่องบประมาณ และฐานะการคลังมากเกินไป

ศก.ขาขึ้นอีก 5 ปี

"มั่นใจได้ว่าใน 5 ปีข้างหน้า จะเป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยปีละประมาณ 6% เป็นอย่างน้อย แต่เราก็ได้ตั้งเป้าแบบอนุรักษนิยมไว้ว่า เศรษฐกิจ ของประเทศ จะเติบโต 5% เพียงเท่านี้ เราก็สามารถตั้งงบประมาณเกินดุลได้ในปี 2548 แล้ว"

ส่วนปีหน้า เศรษฐกิจขยายตัวได้ถึง 8% ตาม ที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวไว้ หรือไม่ เขากล่าวว่าต้องขึ้นกับมาตรการรัฐบาล โดยเฉพาะการช่วยเหลือด้านการลงทุน ซึ่งหากการลงทุนเต็มศักยภาพ โอกาสก็เป็นไปได้

นายสมชัยกล่าวว่าวันที่ 29-30 พ.ย.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอยุทธศาสตร์การคลังต่อ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่สุราษฏร์-ธานี โดยกระทรวงการคลัง เป็น 1 ใน 4 กระทรวงนำร่อง ที่จะเสนอยุทธศาสตร์ต่อ ครม. ลำดับแรก

เสนอคลังเน้นลงทุนสาธารณูปโภค

กรอบยุทธศาสตร์การคลัง จะเสนอให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะต่อไปของรัฐบาล เป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้มีการเติบโตเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงการคลังจะต้องลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ประปา ไฟฟ้า สื่อสาร เป็นต้น

นายสมชัยกล่าวว่า สถานการณ์การเก็บราย ได้ของรัฐบาลที่ดีมาก ส่งผลให้ประเทศมีเสถียรภาพการคลังช่วงที่ผ่านมา จะเปิดโอกาสให้รัฐบาลสามารถจะปรับปรุงงบประมาณปี 2546 ช่วงกลางปี เพื่อนำเงินรายได้ที่เก็บได้เกินเป้าหมาย ใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อเสริม ขีดความสามารถของประเทศ การลงทุนดังกล่าว จะส่งเสริมให้เกิดการเติบโตยั่งยืนในอนาคต

รายได้รัฐบาลมีเข้ามามาก คงไม่มีปัญหาต่อ ฐานะการคลัง หากรัฐบาลจะนำเงินที่เก็บภาษีเกิน ใช้ลงทุนพื้นฐาน เพราะปีงบประมาณ 2547 คาด ว่าจะเกินดุลเงินสดอยู่แล้ว ส่วนปี งบประมาณ 2548 คาดว่าจะเกินดุลกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณาว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ หากจะนำ รายได้ส่วนที่เกินมาลงทุน ทั้งนี้ ต้องขึ้นกับการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี นายสมชัยกล่าว

47 ปีทองการลงทุน

เขากล่าวว่า ดัชนีเศรษฐกิจทุกตัวชี้ให้เห็นทิศ ทางที่ดีขึ้นแทบทั้งสิ้น มีเพียงตัวเลขด้านการลงทุน ที่ยังฟื้นตัวน้อยที่สุด ดังนั้น ปี 2547 ควรจะเป็น ปีทองของการลงทุน รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานช่วงขาขึ้นของเศรษฐกิจ เพื่อรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจได้ทันท่วงที

อีก 6 เดือนข้างหน้า สศค.จะสามารถสรุปยอดความจำเป็นในการใช้เงินในการลงทุนโครง สร้างพื้นฐานของภาครัฐทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองท้องถิ่น เพราะขณะนี้ อยู่ระหว่างสำรวจความจำเป็นทั้งหมด เพื่อรวบรวม และใช้กำหนดแนวทางระดมทุน ว่าควรจะใช้มาตรการด้านการคลังหรือ การเงินสนับสนุนการลงทุนดังกล่าว

ธปท.ปรับเพิ่ม ศก.ไทยโต 0.5%

นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยวานนี้ (30 ต.ค.) ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็น 5.75-6.25% จากเดิม ที่เคยประมาณการที่ 4.5-5.5% ก.ค.

เนื่องจาก 8 เดือนแรกปีนี้ เศรษฐกิจขยายตัวในเกณฑ์ดี รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก 3 ประเทศ (จี3) และกลุ่มประเทศคู่ค้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯปีนี้จะขยายตัว 2.6% กลุ่มสหภาพยุโรป ขยายตัว 0.5% ญี่ปุ่น 2% ขณะที่กลุ่มประเทศเอเชียอื่นๆ ปีนี้ คาดขยายตัว 3.5% ทำให้คาดว่าปีนี้ เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเฉลี่ย 2.7% จากเดิม 2.4%

นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดี ที่หนุนให้มีการบริโภคในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้มีการขยายตัวภาคการลงทุนใหม่ๆ เพิ่มตาม คาดว่า การบริโภครวมภาค รัฐและเอกชนปีนี้ 5-6% รวมทั้งการเร่งตัวการใช้ จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะอัตราเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ที่จะมีเพิ่มขึ้นจากปีนี้ หลังจากชะลอก่อนหน้านี้ โดยการลงทุนภาครัฐและเอกชน ปีนี้ เพิ่ม 11.5-12.5% จากเดิม 11-12% สิ่งเหล่านี้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ทำให้คณะกรรมการปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น

สำหรับภาคส่งออก คาดจะมีมูลค่าส่งออก 7.5-7.65 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 12.5-14.5% จากเดิม ที่คาดว่าจะขยายตัว 9-11% การ นำเข้า มูลค่าทั้งสิ้น 7.1-7.25 ล้านดอลลาร์ ขยาย ตัวเพิ่ม 12.5-14.5% จากเดิม ที่คาดว่าจะขยายตัว 9.5-11.5% ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่า จะเกินดุล 7,000-8,500 ล้านดอลลาร์ จากเดิมที่คาดว่าจะเกินดุล 6,000-7,500 ล้านดอลลาร์

การที่เศรษฐกิจขยายตัวดี จึงไม่สร้างแรงกดดันภาวะเงินเฟ้อ โดยแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐาน ยังใกล้ 0%จากเดิมที่จะขยายตัว 0.5% ขณะที่เงิน เฟ้อทั่วไป จะอยู่ที่ 1.5-2% จากเดิมที่คาดจะขยาย ตัว 1-2% โดยระยะสั้น ยังคงมีความเสี่ยง แต่สำหรับช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า ยังอยู่ในเป้าหมาย โดยคาดจะเร่งตัวขึ้นปีหน้า ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับประมาณการเศรษฐกิจเพิ่ม เพราะเศรษฐกิจครึ่งปีแรกขยายตัวสูงถึง 6.2% ถือว่าน่าพอใจ แม้เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นสูง แต่ภาคส่งออกก็เพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นผลจากดอกเบี้ยต่ำ เอื้อต่อเศรษฐกิจ การที่รายได้ภาคเกษตรกรสูงขึ้น พร้อมทั้งไตรมาส 3 ชี้ว่าเศรษฐกิจยังคงขยายต่อ เนื่อง คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ยังจะถูก ขับเคลื่อนจากภาคส่งออก และการบริโภคในประเทศ จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจปีหน้าด้วย ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าว

คาดปีหน้า ศก.โต 6.5%

สำหรับขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 2547 คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับประมาณการ ขยายตัวเศรษฐกิจเพิ่มเป็น 5.5-6.5% จากเดิม 5-6% คณะกรรมการมองว่า สถานการณ์ต่างประเทศจะดีขึ้น และมีปัจจัยเกื้อหนุน จากการที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้มาก

คณะกรรมการฯ มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐปีหน้า จะขยายตัว 3.9% กลุ่มสหภาพยุโรปขยายตัว 1.7% ญี่ปุ่นขยายตัว 1.3% ขณะที่กลุ่มประเทศเอเชียอื่นๆ ปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 5% ส่งผลเศรษฐกิจ โลกปีหน้าขยายตัว 3.7% จากเดิม 3.6% ส่วน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ปี 2547 คณะกรรมการนโยบายการเงินประมาณการว่า จะอยู่ที่ 0-1% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ที่ 0.5-1.5% จากเดิมที่ขยายตัว 1-2%

อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจไทยแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์น่าพอใจ แต่ความเสี่ยงด้านต่าง ประเทศ การฟื้นตัวของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ที่ยังไม่ต่อเนื่อง และยังไม่ยั่งยืนระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ความผันผวนของตลาดการเงินต่างประเทศ โดยเฉพาะการปรับตัวของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐระยะต่อไป

รวมทั้งเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าฟื้นช้ากว่ากรณีฐาน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจาก 25.5 เป็น 26.4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ การขยายตัวเศรษฐกิจ ซึ่งคณะกรรมการ นโยบาย การเงินต้องพิจารณา และติดตามใกล้ชิด

ส่วนการปรับตัวของค่าดอลลาร์สหรัฐ จะส่ง ผลกระทบค่าเงินในภูมิภาค น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ต้องติดตามปีหน้า ว่าจะส่งผลกระทบต่อ ค่าเงินเอเชียอย่างไรบ้าง การประมาณการของ ธปท.มองว่าการปรับตัวของค่าเงินเอเชีย จะค่อย เป็นค่อยไป แต่ช่วงที่ผ่านมา การเงินบาทแข็งค่า ขึ้น ยังไม่ส่งผลกระทบการส่งออกของไทยมากนัก

สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของโลก คาด ว่าจะยังทรงตัวระดับปัจจุบันต่อไปอีกประมาณ 3 ไตรมาส ก่อนจะปรับขึ้น ตามการดำเนินนโยบาย ของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงปลาย ปีหน้าอีกครั้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us