Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 ตุลาคม 2546
TOCขายIPOที่30บาทฟุ้งนักลงทุนจอง15เท่า             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ปตท., บมจ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทรีนิตี้, บล.
เมอร์ริลลินช์ภัทร
ไทยโอเลฟินส์, บมจ.
โอมานออยล์
แอลจี อินเตอร์เนชั่นแนล
ภควัต โกวิทวัฒนพงศ์
สุวิทย์ มาไพศาลสิน
วุฒิชัย สัตยพานิช
Chemicals and Plastics




ทีโอซีเคาะราคา หุ้นไอพีโอที่ 30 บาท หลังประสบความสำเร็จจากการเดินทางโรดโชว์ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีนักลงทุนทั้งไทยและเทศสนใจจอง ซื้อสูงกว่าจำนวนหุ้นที่เสนอขายเฉลี่ยถึง 15 เท่า เนื่องจากแนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้น เริ่มเทรดซื้อขายในตลาดวันที่ 6 พ.ย.นี้ โดยเงินที่ได้จากการ เพิ่มทุนจะนำมาใช้ในโครงการ อีโอ/อีจี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาดึงพันธมิตรต่างชาติร่วมทุน คาดสรุปผลเจรจาต้นพ.ย.นี้

วานนี้ (28 ต.ค.) บริษัท ไทย โอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน)(toc) แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัดและบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน และแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์อีก 17 บริษัทเป็นผู้จัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่าย โดยจะเปิดจอง ซื้อหุ้นในวันที่ 29-31 ตุลาคมนี้ เสนอขายในราคาหุ้นละ 30 บาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาที่กำหนดไว้ที่ 24-30 บาท โดยจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) วันที่ 6 พฤศจิกายนนี้

นายวุฒิชัย สัตยพานิช รองผู้จัดการใหญ่สายงานการบริหาร บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหา ชน) กล่าวว่า จากการพบนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในการ ทำโรดโชว์ ระหว่างวันที่ 14-27 ตุลาคม ที่ผ่านมา ได้รับการต้อนรับจากนักลงทุนดีมาก โดยปริมาณความต้องการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนสูงกว่าปริมาณหุ้นที่บริษัทเสนอขายทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น กรรมการผู้ได้รับมอบอำนาจ จึงมีมติจัดสรรหุ้นส่วนเกิน หรือover-allotment อีก 29 ล้านหุ้น จัดสรร ให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทำให้หุ้นที่เสนอขายครั้งนี้มีจำนวน 226 ล้านหุ้น จัดสรรให้นักลงทุนในประเทศ 55% และนักลงทุนต่างประเทศ 45% ของจำนวนหุ้นที่เสนอ ขายโดยหุ้นส่วนเกินดังกล่าวเวลานี้ ได้จัดสรรหมดแล้ว โดยได้ยืมหุ้นจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทแม่ โดยทีโอซีจะซื้อหุ้นในกระดานมาใช้คืนปตท.ในภายหลัง หากราคาหุ้นในกระดานสูงเกิน ก็จะใช้คืนเงินในรูปเงินสดที่ระดับราคาไอพีโอ หรือ 30 บาทต่อหุ้น จากการเพิ่มทุนดังกล่าว ทางปตท.จะลดสัดส่วน การถือหุ้นจากเดิม 630.3% เหลือเพียง 44%

นายวุฒิชัย กล่าวต่อไปว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจหุ้นTOC เนื่องจากวัฏจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้น ความต้องการใช้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ 1-2 ปีข้างหน้า จะขยายตัวเฉลี่ย 5-6% ในขณะที่กำลังการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าเพียง 3-4% เท่านั้น ทำให้ราคาขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น

นายภควัต โกวิทวัฒนพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด กล่าวว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศให้ความสนใจ จองซื้อ TOC สูงกว่า 20 เท่า ส่วนนักลงทุน ทั่วไปให้ความสนใจจองซื้อมากเช่นกันแต่ไม่สามารถประมาณการออกมาเป็นตัวเลขได้ และนักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจจองซื้อมากกว่า 10 เท่า จึงได้สรรหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวโดยแบ่ง เป็นนักลงทุนในประเทศ 55% แบ่งเป็นนักลงทุน สถาบัน 20% นักลงทุนทั่วไป 35% และนักลงทุน ต่างประเทศ 45%

เนื่องจากนักลงทุนให้ความสนใจในหุ้นสามัญเพิ่มทุน TOC จึงมีส่วนสนับสนุนให้หุ้นกลุ่มปิโตรเคมีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน โดยขณะนี้หุ้นกลุ่มดังกล่าวกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนตามภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่อยู่ในช่วงขาขึ้น จะเห็นได้จากราคาหุ้น ATC, APC, PTT และ PTTEP ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศไทย ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาระยะ หนึ่งแล้ว

"ขณะนี้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทยเหมือนกับอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่มีอนาคตสดใส คาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีการเติบโต 3-5 ปี อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น ทำให้โรงงานต่างๆ ที่ไม่ได้ขยายงานมา 3-5 ปี ได้ขยายงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น จึงมีผลทำให้ราคาสินค้าปิโตรเคมีมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น และบริษัทฯมีแผนขยายงานที่จะแล้วเสร็จในอีก 2ปีข้างหน้า ดังนั้น นักลงทุนถือหุ้น TOC ในระยะยาว ก็ไม่น่าผิดหวัง เพราะอุตสาหกรรมดังกล่าว คาดว่าจะเติบโตสูงสุดในช่วง 2548-2549Ž"

นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัด กล่าวว่า จากการที่บริษัทเดินทางโรดโชว์ในต่างประเทศทั้งแถบเอเชียและยุโรปพบว่า นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจสั่งจองหุ้นของ TOC สูงมาก โดยสนใจจองซื้อประมาณ 87% จาก ยอดของนักลงทุนที่เข้าฟัง หากบริษัทไม่จำกัดจำนวนหุ้นที่จองซื้อ เชื่อว่าจะมีความต้องการสูงกว่านี้อีกหลายเท่า โดยราคาเสนอขายนี้ถือว่าเป็น ราคาพรีเมี่ยมที่นักลงทุนได้เสนอมา เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในภูมิภาค เอเชีย อยู่ที่ระดับ P/E 11 เท่า และถือเป็นหุ้นที่เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ที่สุดในรอบปีนี้ (เฉพาะไอพีโอ) คิดเป็นมูลค่า 6,780 ล้านบาท

นายวุฒิชัย กล่าวถึงสถานการณ์ราคาปิโตร เคมีว่า จากการสำรวจราคาปิโตรเคมีในตลาดโลก ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นประมาณ ปีละ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยขณะนี้ราคาเอทิลีนอยู่ที่ 500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาโพพีลีน กว่า 500 เหรียญสหรัฐต่อตัน

"สำหรับธุรกิจปิโตรเคมีในตลาดโลกเติบโต 1.5-2 เท่าของจีดีพี เนื่องจากในการสร้างโรงงาน แต่ละแห่งต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างอย่างน้อย 5 ปี จึงจะเริ่มต้นการผลิตได้ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงมีวัตถุดิบออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการ ราคาในตลาดโลกจึงขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง" นายวุฒิชัย กล่าว

สำหรับเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนครั้งนี้ จะนำ ไปใช้ลงทุนในโครงการปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง คือ โครงการผลิตสารโมโนเอทิลีนไกลคอล (อีโอ/อีจี) ขนาดกำลังผลิต 3 แสนตันต่อปี ซึ่งจะก่อสร้างในพื้นที่ใกล้เคียงโรงโอเลฟินส์ในปัจจุบันที่จังหวัด ระยอง นับเป็นโรงงานผลิตอีโอ/อีจีแห่งแรกของ ประเทศไทยคาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในต้นปี 2549 แผนการตลาดจะเน้นขายในประเทศ ประมาณ 70% ที่เหลือส่งออกไปต่างประเทศ

โครงการดังกล่าวขณะนี้กำลังเจรจาร่วมทุน กับบริษัท โอมานออยล์ และบริษัท แอลจี อินเตอร์เนชั่นแนล โดยมีสัดส่วนการร่วมทุนไทยโอเลฟินส์ ถือหุ้น 60% โอมานออยล์ 20% และแอลจี 20% คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในต้นเดือนพฤศจิกายนศกนี้ โดยTOC ใช้ในการลงทุนประมาณ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนหนึ่งจะมาจากการกู้ยืมเงิน

ปัจจุบัน TOC ขาดทุนสะสมที่มีอยู่ 400 ล้านบาท คาดว่าในไตรมาส 1 ของปี 2547 จะสามารถล้างขาดทุนสะสมได้หมด และสามารถที่จะจ่ายปันผลจากผลการดำเนินงานงวดปี 2547 ในอัตราการจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 30% ของกำไรสุทธิ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us