ดีเดย์ตั้งกองทุน รวมวายุภักษ์ 1 ธ.ค.นี้ หลังจากเปิด ให้ประชาชนจองวันที่ 11
พ.ย. 2546 พร้อมรับโอน 10 หลักทรัพย์ จากกระทรวงการคลังในราคาส่วน ลด 15% มูลค่ารวมกว่า
7 หมื่นล้าน บาท จากราคาตลาดสูงกว่า 8 หมื่น ล้านบาท เพื่อสร้างหลักประกันให้กับผู้ลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าปีละ
3%
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช กรรมการผู้จัดการบริษัท เทิร์น อะราวด์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง
กล่าว ถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง ว่า หลังจากการเปิดขายหน่วยลงทุนให้กับประชาชน
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 แล้ว จะสามารถจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์หนึ่งได้ในวันที่
1 ธันวาคมนี้ และจะดำเนินการรับโอนหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังขายให้กับกองทุน
ได้ภายในวันที่ 3-4 ธันวาคม 2546 และจะมีการตั้งสำรองเพื่อนำมาจ่าย เงินปันผลให้กับผู้ลงทุนตามที่ได้มีการประกาศคุ้มครองผลตอบแทนไม่น้อยกว่า
3% ต่อปี ได้ในวันที่ 15 ธันวาคม 2546
สำหรับหลักทรัพย์ที่กระทรวง การคลังขายให้กับกองทุนวายุภักษ์ หนึ่งนั้นมีจำนวน
10 แห่ง คือ บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด
(มหาชน) หุ้นบุริมสิทธิของธนาคาร ไทยพาณิชย์ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปูนซีเมนต์ นครหลวง จำกัด (มหาชน)
บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทภัทรประกัน ภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทฟินิค
พัพท์แอนด์เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด โดยกองทุนจะซื้อในราคาลดจาก
ราคาตลาด 15% ซึ่งจะใช้เงินในการซื้อหุ้นดังกล่าว ประมาณ 70,000 ล้านบาท จากราคาตลาดที่อยู่ที่กว่า
80,000 ล้านบาท
สำหรับนโยบายในการจ่ายผลตอบแทนจากการลงทุนนั้น กองทุนจะกำหนดอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำเฉลี่ยตลอดอายุโครงการในอัตรา
3% ต่อปี หลังจากนั้นถ้ามีผลตอบแทนเหลือจะทำการสำรองเพื่อจ่ายอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำใน
อนาคตให้แก่ผู้ถือหน่วยตลอดอายุโครงการ
นอกจากนี้ หากมีผลตอบแทนส่วนเกินกองทุนมีนโยบายที่จะแบ่งผลประโยชน์ส่วนเกินระหว่างผู้ถือหน่วย
กับกระทรวงการคลัง ดังนี้ อัตราผลตอบแทนส่วนเกินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3% แบ่งให้ผู้ถือหน่วย
70% และกระทรวงการคลัง 30% ส่วนที่เกิน 3% แต่ไม่เกิน 7% แบ่งให้ผู้ถือหน่วย 65%
และกระทรวงการคลัง 65% ส่วนที่เกิน 7% แบ่งให้ผู้ถือหน่วย 5% และกระทรวงการคลัง
95%
"การออกแบบกองทุนนี้ แทบจะไม่มีทางที่จะจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำไม่ได้ เพราะเมื่อจัดตั้งกองทุนนี้กองทุนจะมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นจากการซื้อหุ้นจากกระทรวงการคลังในราคาส่วนลดมา
15% ซึ่งจะคิดเป็นเม็ดเงิน 15,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินปันผลที่จะได้รับจากหุ้นดังกล่าวอีกประมาณ
4% คิดเป็นเม็ดเงิน 2,800 ล้านบาท รวมเป็น 17,800 ล้านบาท ก็สามารถนำเงินดังกล่าวมาใช้ในการสำรองเพื่อจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยได้ประมาณ
8 ปีแล้ว จากยอดที่จะใช้สำรอง 10 ปีจะใช้เงินประมาณ 21,000 ล้านบาท ดังนั้นเพียงวันจัดตั้งกองทุนเสร็จก็มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายผลตอบแทนเกือบตลอด
10 ปี แล้ว และเมื่อรวมกับการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนก็เชื่อว่ากองทุนดังกล่าวจะมีผลตอบแทนประมาณ
3-7.5%" นายชัยวัฒน์กล่าว
ทั้งนี้กองทุนวายุภักษ์ 1 จะเปิดขายให้กับบุคคลทั่วไปและนิติบุคคล รวมทั้งสิ้น
65,000 ล้านบาท โดยให้ซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ที่เหลืออีก
5,000 ล้านบาท จะจัดสรรให้กับมูลนิธิ วัด และองค์กรการกุศลต่างๆ โดยจะใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง
และจะจัดสรรให้รายละไม่เกิน 500 ล้านบาท
นายวราห์ สุจริตกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง
กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง มีความเหมาะสมสำหรับผู้ออมเงินระยะยาวเกิน
1 ปีขึ้นไป เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ
ซึ่งหากจะนำมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็จะได้รับผลตอบแทนประมาณกว่า 3% และไม่มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่านี้
ขณะที่กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง จะให้ผลตอบแทนสูงสุดถึง 7.5% หากสภาพตลาดอยู่ในภาวะที่ดี
ซึ่งไม่มีการลงทุนประเภทใดในเวลานี้ที่ จะให้ผลตอบแทนได้มากเท่ากับกองทุนวายุภักษ์
ส่วนการนำกองทุนเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป
แต่คาดว่าจะสามารถนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายใน 2 ปี หลังจากจัดตั้งกองทุน
สำหรับช่วงเวลาที่จะเดินทางโรดโชว์ จะเริ่มทำการโรดโชว์ที่จังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดแรก
ในวันที่ 29-30 ตุลาคม หาดใหญ่ 31-1 พฤศจิกายน เชียงใหม่ 1-2 พฤศจิกายน ชลบุรี
วันที่ 3-4 พฤศจิกายน โคราช วันที่ 4-5 พฤศจิกายน อุบลราชธานี วันที่ 8-9 พฤศจิกายน
และกรุงเทพมหานคร วันที่ 10 พฤศจิกายน 2546 นี้