Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
ครั้งหนึ่งในห้องเรียน ฮาร์เวิร์ด บิสเนสสคูล             
 


   
search resources

ฮาร์เวิร์ดบิสเนสสคูล
สุรัตน์ พลาลิขิต




ฮาร์เวิร์ดบิสเนสสคูล ฮาร์เวิร์ดบิสเนสสคูลถือเป็นสถาบันการศึกษาวิชาบริหารธุรกิจระดับ สูงที่ขึ้นชื่อ เป็นการจัดโปรแกรมการสอนผู้บริหารที่เน้นเอาประสบการณ์ความสำเร็จ และล้มเหลวทางธุรกิจมาศึกษากันในห้องเรียน

ดร.สุรัตน์ พลาลิขิต ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้มีโอกาสเข้าอบรมที่สถาบันแห่งนี้ในโครงการ Advance Management Program(AMP) รุ่นที่ 157 ซึ่งในครั้งนี้มีผู้บริหารเข้าร่วมอบรม 180 คน มาจากสหรัฐอเมริกา 1 ใน 3 โดยมี จำนวน 5 คนที่ไปจากประเทศไทย

การเรียนการสอนที่นี่เป็นการเรียนรู้จากกรณีศึกษาของบริษัทต่างๆ ระหว่างผู้บริหารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่ง แต่ละกลุ่มจัดไว้ 8 คน นอกจากนี้ก็เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับเพื่อนต่างกลุ่ม แล้วยังมีการกลับเข้าไปแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันไปมาในห้องเรียนอีกครั้งหนึ่ง ทุกคนมีความเห็น และมีแนวทางที่แตกต่างกัน ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ไม่มีคำตอบไหนถูก ไม่มีคำตอบไหนผิด ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริหารธุรกิจจริงๆ และนี่คือระบบการศึกษาของฮาร์ เวิร์ดบิสเนสสคูล

"เขาสอนให้รู้ว่า เราไม่ได้เป็นคนเก่ง สอนให้รู้ว่าไม่มีคำตอบไหนผิด ไม่มีคำตอบไหนถูกทั้งหมด" ดร.สุรัตน์เล่าประสบการณ์ให้ฟัง

การเรียนเกี่ยวการบริหารกับอินเตอร์เน็ต 50% การแข่งขัน การตลาด 20% เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกประมาณ 20% การบริหารทั่วไป 10%

การเรียนรู้ที่นี่จะใช้การหยิบยกกรณีศึกษา (case study) มาถกเถียง กัน ซึ่งกรณีศึกษาถือเป็นคุณค่าหลักหรือ core value ที่ได้มาจากศิษย์เก่า (alumni) ที่กระจายอยู่ทั่วโลก แตกต่างจากการเรียนจากตำรา ซึ่งจะนำบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาให้ความรู้ได้จริงในทางทฤษฎี แต่ในแง่ความเป็นจริงปัญหาที่แท้จริงอาจจะมองไม่ลึกซึ้งพอ ดังนั้นการนำกรณีศึกษาแล้วนำทฤษฎีมาใช้ จะทำให้ได้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีนั้นๆ มากกว่า แม้ทฤษฎีเหล่านั้นมีคุณค่า แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือภาพปัญหาที่แท้จริง

สถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญา จนถึงระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา มีการใช้ระบบการเรียนการสอนอย่างนี้ แต่สถาบันที่ใช้ได้ผลมากที่สุดคือฮาร์เวิร์ดบิสเนสสคูล กรณีศึกษาจะมีทุกกรณี ตั้งแต่องค์กรที่ล้มเหลว จนถึงองค์กรที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงผลงานการวิจัย ซึ่งจะได้ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากศิษย์เก่า

กรณีศึกษา กับผลงานการวิจัยจะมีความสัมพันธ์กันมาก ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากกรณีศึกษา แล้วถึงจะทำการวิจัยวิเคราะห์เป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีสถาบันการศึกษาไหนที่ใช้ระบบการเรียนการสอนอย่างนี้

นักศึกษาหรือผู้บริหารที่สมัครเข้าคอร์สนี้ จะต้องจ่ายเงินให้กับฮาร์เวิร์ด 10 สัปดาห์ ค่าใช้จ่ายต่อคนประมาณ 1.7 ล้านบาท ฮาร์เวิร์ดตอนนี้จึงร่ำรวยมหาศาล มีการซื้อที่ดินเป็นจำนวนมาก สถาบันฯ จะเป็นผู้สร้างคนเหล่านี้ให้มีความรู้ความสามารถ แล้วก็ส่งคนใหม่ๆ เข้ามาเรียนเป็นวงจร

หลักการคือสอนให้รู้ปัญหา และ วิธีการนำปัญหานั้นไปใช้ ซึ่งจะมีกรณีศึกษาว่าด้วยการนำพาบริษัทกลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง หรือ turn around case ซึ่งผู้บริหารที่เข้ามาดำเนินการแก้ไขบริษัท จะมีบุคลิกและแนวทางในการดำเนินการแตกต่างกัน บางคนมีความสามารถ ทำให้คนเชื่อถือ บางคนพูดไม่เป็น

ในห้องเรียนจะมีวันหนึ่งที่ฮาร์ เวิร์ดจะเชิญผู้บริหารองค์กรที่เป็นศิษย์เก่ามาพูดให้นักศึกษาใหม่ฟัง ซึ่งเขาจะนำวิดีโอมาฉายให้ดู เช่นผู้บริหารของบริษัทไนกี้ ไม่มีเทคนิคในการพูดจูงใจคนเลย ไม่มีบุคลิกของความเป็นผู้นำที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถพูดแล้วให้คนเชื่อ

ทำให้เห็นว่าความเป็นผู้นำไม่จำเป็นจะต้องมีบุคลิกที่คนเห็นแล้วเชื่อถือ แต่อยู่ที่ว่าเขาจะนำพาองค์กรไปทางไหน ที่ไหน เมื่อไหร่ รู้ว่าเป้าหมายที่ต้องการเดินจะถึงตรงไหน และจะทำอย่างไร โดยการวิเคราะห์ปัญหาทุกด้าน ทั้งด้านการเงิน ด้านพนักงาน

ว่าด้วยวิกฤติเอเชีย

เกี่ยวกับเรื่องวิกฤติเอเชีย นักเศรษฐศาสตร์ของฮาร์เวิร์ดยอมรับกับผู้บริหารที่เข้าอบรม AMP รุ่น 157 ว่าฮาร์ เวิร์ดมองพลาดในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ของอาเซียน โดยเขาไม่ได้คิดว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในอาเซียน

เพราะในช่วงนั้นการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของเอเชียสูงมาก ไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะเกิดการล้มครืนซึ่งยอมรับว่าพลาด แปลความหมายชัดๆ ว่าไม่มีใครเป็นเทวดา ซึ่งทางฮาร์เวิร์ดได้นำกรณีศึกษาของวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย ที่เพิ่งจัดทำเสร็จมาสอนเป็นครั้งแรกให้กับผู้บริหารที่เข้าอบรมรุ่น 157 เพื่อให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์จากฮาร์เวิร์ดไม่ได้มองว่าภูมิภาคไหนเป็นอย่างไร แต่จะเจาะลงไปในแต่ละประเทศ เช่นที่รัสเซีย ยุโรปตะวันออก จีนแดง และที่เรียกกันว่าเอเชียมิราเคิล ด้วยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

ฮาร์เวิร์ดมองว่าการขยายตัวของ เอเชีย ไม่ได้เกิดจากความมหัศจรรย์ใดๆ ทั้งสิ้น เกิดจากความสามารถของประเทศในเอเชีย สามารถดึงผู้หญิงเข้า มาทำงานได้มากขึ้น จากเดิมส่วนใหญ่ผู้ชายจะเป็นคนทำงาน และค่าแรงงานต่ำกว่าที่อื่น 2 ปัจจัยนี้นำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าส่งออก สร้างให้ผลผลิตของประเทศคือจีดีพีสูงมาก

ข้อจำกัดของ 2 ปัจจัยข้างต้น เมื่อเวลาผ่านไปค่าแรงมีทิศทางพุ่งสูงขึ้น ถ้าประสิทธิภาพในการผลิตไม่สูงขึ้นเท่าค่าแรงจะมีปัญหา และประเทศในเอเชียความสามารถในการผลิตต่ำ

ประเทศที่ฮาร์เวิร์ดมองว่าจะสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิ ภาพคือ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย ซึ่งสิงคโปร์มีความสามารถในการผลิตด้านการเงินและบริการสูง ขณะ ที่มาเลเซียเริ่มดำเนินการในช่วงนี้ จึงมีโอกาสฟื้นตัวได้มากกว่าประเทศในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

2 ประเทศข้างต้น แก้ปัญหาที่ถูกจุดจากการให้การศึกษาบุคลากร อบรมคนให้เข้าสู่ภาคการผลิตและการบริการที่มีค่าแรงสูง เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรืออุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะในการผลิตสูง

สอนให้ดูทิศทาง โดยนำปัจจัยการเมือง เศรษฐกิจ และอดีตเป็นอย่างไร และอนาคตจะเป็นอย่างไร ไม่ได้สอนให้มีการประมาณการว่าเศรษฐ กิจจะโตเป็นกี่เปอร์เซ็นต์

หลังจากที่พลาดไม่ได้มองเห็นว่าเอเชียจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทางฮาร์ เวิร์ดได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยเศรษฐกิจในเอเชียขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ จากก่อนหน้านี้ไม่เคยมีศูนย์วิจัยในเอเชียเพื่อศึกษาเศรษฐกิจของเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us