แบงก์ปรับกลยุทธ์รุกปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอี รับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปี
2547 ด้านผู้บริหารเอสเอ็มอีแบงก์ คาดการณ์วงเงินสินเชื่อเอสเอ็มอีสะพัดกว่า 5
แสนล้านบาท เพิ่มจาก ปีนี้มีเพียง 3 แสนล้านบาท ขณะที่ไทยพาณิชย์ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนสูงกว่า
20% ของสินเชื่อรวมในอีก 2 ปีข้างหน้า
หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นธุรกิจรากหญ้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
หรือเอสเอ็มอี เพื่อเป็นแรงผลักดันในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ต่างหันมาให้ความสนใจกับธุรกิจเอสเอ็มอี รวมถึงสถาบันการเงินที่ปรับกลยุทธ์และให้ความสำคัญในการ
ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีมากขึ้น
นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
แห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) กล่าวถึงแนวโน้มทิศทางการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี
ในปี 2547 ว่าสถาบันการเงินจะแข่งขัน ปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวและแบงก์พาณิชย์ต่างๆ ต้องการแก้ไข ปัญหาเงินล้นระบบ
โดยคาดว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีปีหน้าภาพรวมจะสูงถึง 500,000 ล้านบาท จากที่ปีนี้นี้มีประมาณ
กว่า 300,000 ล้านบาท และอัตราดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงตกต่ำ โดยถือว่าเป็นโอกาสที่ดีต่อผู้ประกอบการที่จะได้รับการบริการที่ดีขึ้น
ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหันไปรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินอื่นนั้น นายโชติศักดิ์
กล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหันไปรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินอื่นประมาณ
1,700 ล้านบาท และหากจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในปีนี้ก็จะไม่ส่งผล กระทบกับธนาคารแต่อย่างใด
และถือเป็นการช่วยภาคเอกชน ขณะที่เอสเอ็มอีแบงก์จะมุ่งปล่อยเงินกู้ตามนโยบายรัฐมากขึ้น
สำหรับนโยบายการปล่อยสินเชื่อในปี 2546 นั้น เอสเอ็มอีแบงก์ตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อไว้ประมาณ
30,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยอดปล่อย กู้ล่าสุดใกล้เคียงกับเป้าหมายดังกล่าว แต่ในปี
2547 นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดเป้าหมายไว้แต่อย่างใด ด้านภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) ได้ปรับตัวลดลง ล่าสุดเดือนกันยายน เอ็นพีแอลลดลงเหลือร้อยละ 22 และจำนวนผู้ประกอบการที่เป็นเอ็นพีแอลลดลงจาก
3,600 รายเป็น 3,500 ราย และคาดว่าจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนอุตสาหกรรมที่แบงก์เอส เอ็มอีเน้นปล่อยกู้ตามนโยบายรับเพื่อกระตุ้นความแข็งแกร่งของเอสเอ็มอีประกอบด้วย
8 อุตสาหกรรมได้แก่ อาหาร แฟชั่น อุตสาหกรรมบริการ การส่งออก ท่องเที่ยว ยานยนต์และชิ้นส่วน
เทรดดิ้ง และอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอาหาร ได้กำหนดวงเงินปล่อยกู้ ตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกไว้
2,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งในขณะนี้มีผู้มาขอกู้ทั้งเป็นจำนวนมาก ทั้งในยุโรป ออสเตรเลีย
และล่าสุดที่สหรัฐฯ โดยทางแบงก์เอสเอ็มอีเตรียม ไปโรดโชว์ที่เมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
ในเร็ว ๆ นี้
ไทยพาณิชย์ตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าเอสเอ็มอี
ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็น ธนาคารที่ได้ปรับกลยุทธ์และให้ความ สำคัญกับธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นอันมาก
ซึ่งได้มีการจัดงานเอสซีบี เอสเอ็มอี แฟร์ ขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา
โดยคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ว่า
ธนาคารมีเป้าหมายที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เนื่องจาก
ถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจ ไทยในอนาคต จึงมีแผนในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเงินให้ผู้ประกอบการได้รับทราบเพื่อนำไปใช้ในการจัดการธุรกิจของตัวเอง
ทั้งนี้ ธนาคารมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนลูกค้าเอสเอ็มอีให้มากขึ้นกว่าร้อยละ 20 ในระยะต่อไปอีก
2 ปีข้างหน้า จากที่ปัจจุบันมีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 20 โดยปี 2546 ธนาคารมี เป้าหมายสินเชื่อเอสเอ็มอี
19,000 ล้าน บาท ที่ผ่านมา ปล่อยไปแล้วประมาณ ร้อยละ 67 จึงมั่นใจว่าสิ้นปีจะสามารถ
ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าในตลาดจะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเอส เอ็มอีที่เป็นเป้าหมายนั้น ธนาคารยังคงเน้นกลุ่มลูกค้านำเข้าส่งออก
ภาค การผลิต ภาคบริการ อสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้ เท่าที่ได้สัมผัสกับเอสเอ็มอี ได้มีการปรับตัวไป มากในช่วงที่ผ่านมา แต่สิ่งที่ตนอยาก
จะให้เอสเอ็มอีได้ตระหนักก็คือ จะต้อง มีการบริหารจัดการที่ดี และมีการวาง แผนด้านการตลาด
มีการวางระบบการเงินที่ชัดเจน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในการขอสินเชื่อจากธนาคาร