คลังวางกรอบยุทธศาสตร์ 5 ปีข้างหน้า เน้นปรับปรุงโครงสร้างตลาด เงินและตลาดทุนไทยเข้มแข็ง
ด้วยการเสริมความแข็งแกร่งให้สถาบันการเงิน เดินเครื่อง ปล่อยกู้ต่อได้ เน้นเอสเอ็มอี
ดันตลาดตราสารหนี้เทรดให้คึกคักเหมือนตลาดหุ้น เพื่อเป็นฐานพัฒนาเศรษฐกิจประเทศต่อไป
หลังแบงก์อ้างหนี้เน่ายังท่วมระบบ ไม่ยอมปล่อย กู้เพิ่ม หลังฐานะการคลังเข้มแข็ง
คาดเริ่มเกินดุลงบฯ ปี 48 เตรียมชงเรื่องเสนอทักษิณ 25 พ.ย.
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า คลังประชุมแผนยุทธ-ศาสตร์กระทรวงการคลัง 5
ปีข้างหน้า เสนอร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รับทราบแล้วเมื่อวันเสาร์ที่
25 ต.ค. ซึ่งต้องรอผลพิจารณา ข้อเสนอแนะ และความเห็นชอบของรัฐมนตรีคลัง หลังจากนั้นจะสรุป
และทำรายละเอียดอีกครั้ง ก่อนจะเสนอ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบ
25 พ.ย. พัฒนาสถาบันการเงิน 3 ด้าน
กรอบยุทธศาสตร์การคลังที่ทำครั้งนี้ เน้นปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงิน เพื่อเป็นรากฐานระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกับที่ผ่านมา จะมุ่งพัฒนาครอบคลุม 3 ด้านหลัก ได้แก่
1. พัฒนาสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งสถาบันการเงินรัฐและเอกชน โดยสถาบันการเงินเอกชน
จะให้มีแนวทางสอด คล้องแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กำลังดำเนินการอยู่ ส่วนสถาบันการเงินรัฐ ระยะ 1-2 ปีนี้ ยังจำเป็นที่ต้องมีบทบาทพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(เอสเอ็มอี) ตามนโยบายรัฐบาลต่อไปอีก
2. พัฒนาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เข้มแข็งมากขึ้น และ
3. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้ ก้าวหน้า โดยต้องวางรากฐานให้ซื้อ ขายกันได้เหมือนตลาดหลักทรัพย์
ต้องพัฒนาระบบบัญชี และระบบกำกับตรวจสอบให้สอดคล้องยิ่งขึ้น เพราะแม้ขณะนี้ ตลาดตราสารหนี้จะเติบโตรวดเร็ว
แต่การซื้อขายตราสารยังเป็นแบบหักลบกลบหนี้กันภายในวันเดียว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การทำแผน ยุทธศาสตร์ที่คลังเน้นโครงสร้างระบบสถาบันการเงิน
เนื่องจากที่ผ่านมา คลังสามารถดำเนินการส่วน นโยบายการคลังได้ตามเป้าหมาย ทำให้ฐานะการคลังประเทศเข้มแข็ง
โดยปีงบประมาณ 2546 เก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมายเกิน 100,000 ล้านบาท แนวโน้มการคลังปีต่อไปดี
เชื่อว่าจะยังคงสามารถเก็บรายได้ได้สูงกว่าประมาณการ
"ขณะนี้ ฐานะการคลังประเทศไม่น่าเป็นห่วง ซึ่งเชื่อว่าในปี 2547 นี้ เราก็จะยังคงจัดเก็บได้เกิน
เป้าตามเอกสารงบประมาณ เพราะโดยปกติ การ จัดเก็บรายได้ จะมีการขยายตัวทุกปีอยู่แล้ว"
แหล่งข่าวกล่าว แบงก์ไม่ยอมปล่อยกู้อ้างหนี้เน่าสูง
ด้านดูแลหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังก็ ดูแลและบริหาร จนสามารถลดภาระหนี้ได้มาก
ซึ่งล่าสุด สิ้น ก.ย. หนี้สาธารณะคงเหลือเพียง 49.45% ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(จีดีพี) เป็น เงิน 2.901 ล้านล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่ปัญหาระบบเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน ยังติดที่ภาคการเงิน คือสถาบันการเงินยังมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) สูง จึงไม่ยอม ปล่อยสินเชื่อ ทำให้สภาพคล่องในระบบสูงขึ้นต่อ เนื่อง
ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศ สิ่งที่ต้องเร่งแก้ไข คือสร้างความแข็งแกร่งให้สถาบันการเงิน
เพื่อให้สามารถเป็นฐานพัฒนาเศรษฐกิจ ต่อไป
คาดเกินดุลฯ ปี 48
อย่างไรก็ตาม การวางเป้ากรอบเศรษฐกิจมหภาค คลังยังคงวางกรอบอนุรักษ์นิยม (Conservative)
คือใช้สมมติฐานให้อัตราเติบโตเศรษฐกิจประเทศขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5% ส่วนการ เกินดุลงบประมาณ
คาดว่าจะทำได้ปี 2548 หนี้สาธารณะต่อจีดีพี 55% และสัดส่วนงบประมาณเพื่อชำระหนี้ต่องบประมาณ
16%
"การจัดทำงบประมาณแบบสมดุลนั้น เชื่อว่าสามารถทำได้ในปีงบประมาณ 2548 แน่นอน
แต่หากรัฐบาลต้องการจะลงทุนในโครงการโครง สร้างพื้นฐาน ก็สามารถทำงบประมาณแบบขาดดุลต่อไปได้
โดยไม่กระทบเสถียรภาพทางด้านการคลัง" แหล่งข่าวกล่าว