Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
KRP ดึง PAMA กู้สถานการณ์             
 


   
search resources

เค.อาร์.พรีซิชัน - KRP




กู้สถานการณ์เมื่อตลาดหุ้นเอเชียดิ่งหัวลงเมื่อปีที่แล้ว บรรดานักลงทุนกองทุนส่วนบุคคลเริ่มกังวลเกี่ยวกับโอกาสการลงทุนว่า "หน้าต่างปิดลงแล้ว" รวมไปถึงเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นต่างเริ่มเห็นลางร้ายที่กำลังเข้ามาเยือนบริษัทตนเอง ความต้องการเม็ดเงินก้อนใหม่เข้ามาสร้างความมั่นใจ และเพิ่มสภาพคล่องให้บริษัทในระดับที่ปลอดภัยจึงเริ่ม ขึ้น ทางออกที่รวดเร็วและฮิตที่สุด คือ หาพันธมิตรรายใหม่เข้ามาร่วมลงทุนแต่ ในปีเริ่มเข้าสู่วิกฤติเจ้าของกิจการยังทำใจไม่ได้ที่ถูกนักลงทุนประเมินสินทรัพย์ ของบริษัทตนเองต่ำเกินไป

ปี 2541 ทิศทางกลับตรงกันข้าม เมื่อนักลงทุนและบริษัทในแถบเอเชียเริ่มที่จะมานั่งโต๊ะเจรจาเมื่อเริ่มรู้สึกว่าแบกรับหนี้ก้อนโตไม่ไหว บรรดาเจ้าของ บริษัทต่างๆ เหล่านี้จึงยอมปรับราคาลงมาในระดับที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

กรณีบมจ.เคอาร์ พรีซิชั่น (KRP) ผู้ผลิตชิ้นส่วนหัวอ่าน (precision components) และแกนหัวอ่าน (suspension assemblies) ในคอมพิวเตอร์ ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงจากการลดค่าเงินบาทเมื่อกลางปี 2540 ประกอบ กับความตกต่ำของอุตสาหกรรมฮาร์ด ดิสก์ไดร์ฟ ได้กลายเป็นแรงกดดันจนบริษัทต้องยอมผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศเป็นครั้งแรกเมื่อกลางปี 2541

นี่คือสาเหตุที่ทำให้บริษัทพรูเดนเชี่ยล แอสเซ็ท แมเนจเม้นท์ เอเชีย (PAMA) บริษัทบริหารสินทรัพย์ส่วนบุคคลประเภทหุ้นทุนที่มีการลงทุนในภูมิ ภาคเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 11 ประเทศ เข้ามาอัดฉีดเงินทุนใหม่เข้าสู่ KRP โดยผ่านทาง Prudential Asia Paivate Equity Partnership 2 (PAPE2) หุ้นส่วนหนึ่งใน PAMA เป็นจำนวนเงิน 945 ล้านบาท (ประมาณ 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ส่งผลให้ PAMA กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ KRP ด้วยสัดส่วนประมาณ 40% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

"เงินลงทุนจำนวนนี้ส่วนใหญ่นำไปใช้ลดภาระหนี้สิน ที่เหลือนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน และปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องมือให้ทันสมัยโดยมีเป้าหมายที่จะดึงส่วนแบ่งในตลาดฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของ KRP กลับคืนมา นอกจากนี้ PAMA ยังได้แสดงเจตจำนงที่จะขอใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ KRP หากมีผู้มาใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนต่ำกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่า KRP มีเงินทุนเพียงพอกับความต้องการ" ทิโมธี เชีย ประธาน PAMA กล่าว

PAMA ไม่เพียงแต่นำเงินทุนเข้ามาลงทุนเท่านั้น แต่ยังได้ทำงานร่วมกับ KRP และธนาคารเจ้าหนี้ในการจัดทำดีล นี้ให้ตรงกับความต้องการของทุกฝ่าย โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้ แม้ว่าที่ผ่านมา KRP ทุ่มเทแก้ไขปัญหาทางการเงินอย่างจริงจัง โดยพยายามมองหาผู้ร่วมทุนหลากหลายประเภท รวมถึง สถาบันการเงินและนักลงทุนต่างๆ

"เจ้าหนี้สถาบันการเงินของ KRP มีท่าทีเต็มใจให้ดีลนี้จบลงเร็วๆ ซึ่ง PAMA ได้เจรจาทั้งทาง KRP และเจ้าหนี้ ตั้งแต่ในปีที่แล้วแต่ผู้ถือหุ้นเดิมของ KRP และเจ้าหนี้ไม่สามารถตกลงกันได้ในรายละเอียด โดยเฉพาะเงื่อนไขเวลาในการชำระเงิน

ในที่สุดการเจรจาจบลงได้เมื่อเจ้าหนี้ตกลงที่จะตัดหนี้สูญ 50% จากหนี้จำนวน 36 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อตัด หนี้สูญออกไปได้ทำให้การเจรจาต่างๆ รุด หน้าไปได้ด้วยดี" Michael Kwee ซีอีโอของ PAMA กล่าว

โดยเจ้าหนี้ที่ยอมตัดหนี้สูญ ได้ แก่ ซากูระแบงก์, ซันวาแบงก์, ซูมิโตโมแบงก์, ไดอิชิ กังโยแบงก์, ฮ่องกงแบงก์ และสถาบันการเงินมอร์แกน เกียร์

กล่าวได้ว่า PAMA ได้ช่วยให้ KRP สามารถดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้คืบหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความสำเร็จในเรื่องที่เจ้าหนี้ยอมตัดหนี้บางส่วนให้กับบริษัท

"จากนี้ไปตลาดของ KRP จะเดินหน้าไปได้ เพราะไม่มีหนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง" Kwee กล่าว

ด้านมาร์ติน ฮอร์น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ KRP กล่าวว่าการลงทุนของ PAMA ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของ KRP ที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายมามุ่งเฉพาะด้านที่เป็นจุดแข็งของบริษัทเท่านั้น "อย่างไรก็ตามผู้บริหารของบริษัทพร้อมที่จะร่วมทำงานกับผู้ถือหุ้นรายใหม ่เพื่อดึงส่วนแบ่งตลาดที่ได้สูญเสียไปเมื่อ 2 ปีที่แล้วกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง" โดยในปี 2540 KRP มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 10% และ หดตัวลงเหลือประมาณ 6% ในปีถัดมา

การที่ PAMA เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทได้ช่วยสร้างความมั่นใจมากขึ้น ขณะเดียวกันยังช่วยปลุกขวัญกำลังใจให้กับผู้บริหารและพนักงานนอก เหนือจากพันธะที่จะเป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุนแล้วยังได้ทุ่มเทความพยายาม ช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้โดยต้องการให้ KRP หลุดพ้นจากภาระหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us