Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546
How Breakthroughs Happen             
 





ความจริงที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของนวัตกรรม

เชื่อหรือไม่ว่า การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือนวัตกรรมหาได้ต้องใช้เวลานานอย่างที่เราเข้าใจไม่ ถ้าหากว่าคุณได้คนที่ "ใช่" มาเป็นคนหยิบจับองค์ประกอบต่างๆ ที่ "ใช่" มาผสมผสานกันจนได้สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน Andrew Hargadon ผู้อำนวยการโครงการบริหารจัดการเทคโนโลยีแห่งบัณฑิตวิทยาลัยการบริหารจัดการ ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, Davis กำลังบอกกับคุณว่า นักประดิษฐ์คิดค้นผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตอย่าง Thomas Edison, Alexander Graham Bell และ Steven Jobs และนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่คนอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแต่ใช้วิธีหยิบเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในขณะนั้น มาผสมผสานกันจนได้เป็นนวัตกรรมที่ยังได้รับการยกย่องมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่ง Hargadon เรียกกระบวนการนี้ว่า "technology brokering" Elvis Presley ก็ปฏิวัติวงการดนตรีร็อคแอนโรลด้วยการผสมผสานเพลง country กับ western เข้ากับ rhythm and blues ส่วน Henry Ford ยืมวิธีของอุตสาหกรรมอื่นๆ มาใช้ปฏิวัติการผลิตแบบ mass production

เทคนิคการ "ยืม" ความคิด

จากการศึกษาเรื่องการเกิดขึ้นของนวัตกรรมมานาน 8 ปี ทำให้ Hargadon ค้นพบเทคนิคการยืมความคิด 3 ประเภท ดังนี้

1. ยืมความคิดจากตลาดหรืออุตสาหกรรมอื่น บริษัทวิจัยชื่อ Menlo Park ซึ่งเป็นของ Thomas Edison นักประดิษฐ์ชื่อก้องโลก สามารถจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ได้มากกว่า 400 ฉบับในเวลาเพียง 6 ปี ซ้ำยังเป็นการคิดค้นนวัตกรรมที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแวดวงเดียว แต่เป็นความก้าวหน้าทั้งในด้านโทรเลข โทรศัพท์ หีบเสียง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องโรเนียวจนถึงหลอดไฟ ความสำเร็จของ Menlo Park เป็นเพราะบริษัทมีการติดต่อกับตลาดหลากหลายประเภท และมีความสามารถในการค้นพบตลาดใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในแต่ละตลาด ซึ่งบริษัทสมัยใหม่ในยุคนี้ก็สามารถ "ยืม" วิธีของ Menlo Park มาใช้ได้เช่นเดียวกัน ด้วยการพยายามมองหาความคิดดีๆ ที่มีอยู่แล้วในตลาดต่างๆ ให้ได้ก่อนคนอื่นๆ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตลาดอื่นๆ

2. ยืมความคิดจากกลุ่มอื่นๆ ในบริษัท เราสามารถค้นพบวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ ให้แผนกงานของเราได้ ด้วยการเรียนรู้จากความคิดดีๆ ของแผนกอื่นๆ ในบริษัท แล้วนำมาผสมผสานกันเป็นความคิดใหม่

3. ผสานความคิดกับภายนอก GM ริเริ่มโครงการ Onstar เพื่อรวมโทรศัพท์มือถือกับรถยนต์ โดยการสร้างทีมงานที่ทำหน้าที่เชื่อมแผนกต่างๆ ของ GM เข้ากับเทคโนโลยีจากภายนอก

Hargadon สรุปว่า แท้จริงแล้วนวัตกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการรื้อสิ่งที่มีอยู่แล้วออกมาเป็นส่วนๆ แล้วประกอบแต่ละส่วนขึ้นใหม่ด้วยวิธีการใหม่

ตัวอย่างจาก Ford

Ford Motor เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการยืมความคิดจากวงการอื่นๆ และอุตสาหกรรมอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ในการผลิตรถยนต์ โดย Ford สามารถปฏิวัติสายการผลิตแบบ mass production ด้วยการเลียนแบบสายการผลิตของบริษัท Chicago ผู้บรรจุหีบห่อเนื้อสัตว์ และยืมระบบการหล่อชิ้นส่วนรถยนต์มาจากบริษัท Washington Airbrake รวมทั้งประยุกต์ความคิดเกี่ยวกับสายพานลำเลียงมาจากโรงสีข้าวและโรงเบียร์

สุดท้าย Hargadon ชี้ว่ามีนวัตกรรมและการค้นพบมากมายในอดีตที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะคนคนเดียว หากแต่เกิดจากการร่วมมือร่วมใจของคน 2 คนที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เช่น Steve Jobs กับ Steve Wozniak, Bill Gates กับ Paul Allen และ Edison กับ Charles Batchelor.

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us