Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546
เมื่อแมงเม่า เป็นพญาอินทรี             
 





ชื่อของเบนจามิน แกรห์ม ถูกหลงลืมไปจากวงการหุ้นระดับโลกนานพอสมควร เพราะถูก "กูรู" ตัวปลอมยุคใหม่ ออกมาบดบังเสียสนิท จนกระทั่งคนเกือบลืมไปแล้วว่า ครั้งหนึ่งเขาคือ ผู้ขับเคลื่อนตลาดหุ้นวอลล์สตรีทตัวจริงที่ใครต้องเงี่ยหูฟัง

จนกระทั่ง วอร์เรน บัฟเฟต ราชาหุ้นผู้ยิ่งใหญ่ยุคนี้ ออกมาประกาศตัวชัดเจนเมื่อต้นปีนี้เอง (ในยามที่ซุ่มซื้อหุ้นเก็บในพอร์ตเรียบร้อย รอวันขึ้นครั้งใหม่) ว่า สิ่งที่เขาทำจนร่ำรวย และใครอิจฉานั้น ไม่ได้มีอะไรใหม่เลย หากเพราะตามรอยเส้นทางของเบนจามิน แกรห์ม อดีตนายจ้างและครูสอนวิทยายุทธ์การลงทุนในพอร์ตโฟลิโออย่างใกล้ชิดนั้นเอง

แม้กระทั่ง บริษัท Berkshore Hathaway ของบัฟเฟตต์เอง ก็มีโครงสร้างและลูกค้าที่สานต่อความสำเร็จมาจากบริษัท Benjamin-Newman ที่ปิดกิจการไปแล้วของแกรห์มนั่นเอง

ชื่อเสียงของ เบนจามิน แกรห์ม จึงกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง และสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็ไม่รอช้าที่จะทำตัวเป็นเสือปืนไว หยิบยกเรื่องของเแกรห์ม ออกมาวางแผงหนังสือกันใหญ่ เพื่อให้นักลงทุนระดับแมงเม่า ที่หวังรวยจากการลงทุนในตลาดหุ้น ได้ศึกษาว่า value investing สไตล์ของแกรห์ม อันเป็นจิตวิทยาหลักของนักเล่นหุ้น ประเภท funadamental-based investors นั้น ล้ำลึกหรือเยี่ยมวรยุทธ์แค่ไหน

หนังสือเล่มนี้ก็เข้าข่ายนั้น แต่เนื้อหาของเล่มนี้ค่อนข้างแตกต่างจากหนังสือทั่วไปตรงที่ ไม่เน้นความสำคัญของเทคนิคการบริหารพอร์ตของแกรห์ม (ซึ่งว่าไปแล้วยากที่จะเลียนแบบบางครั้งก็พ้นสมัย) หากมุ่งไปที่เบื้องหลังชีวิต แนวคิดในการลงทุนมีลักษณ์กึ่งชีวประวัติด้วยสไตล์การเขียนที่รู้จักกันว่า เป็น new journalism นั่นเอง

เนื้อหาของหนังสือทั้งหมดพูดถึงการเริ่มต้นชีวิตนักลงทุนของยิวอเมริกันหนุ่ม ที่เชื่อมั่นในตัวเองกับความรู้ในการวิเคราะห์หุ้นในฐานะพนักงานค้าหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ จึงกระโจนเข้ามาเล่นหุ้นเสียเอง โดยร่วมหุ้นกับพรรคพวกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งตลาดห้วงเวลานั้นกำลังย่างเข้าสู่ภาวะ "ร้อนเกินขนาด" จนกระทั่งนำมาซึ่งหายนะของวอลล์สตรีทใน ค.ศ.1929 ที่เรียกกันว่า Black Tuesday อันเป็นตำนานเก่าแก่

เบนจามิน แกรห์ม ขาดทุนย่อยยับเพราะตัดใจไม่ขาย ทั้งที่มีคนบอกให้ขายหุ้นในราคาขาดทุน และหันมาเล่นชอร์ตเซล แต่การที่เขายึดติดกับความเชื่อมั่นเก่าๆ ของการซื้อหุ้นแบบดูผลประกอบการเป็นหลัก ทำให้นอนกอดหุ้นเอาไว้ในมือ จนหุ้นส่วนพากันหมดตัวไปตามๆ กัน

โชคดีที่แกรห์มมีเงินเหลือติดตัวเล็กน้อย เขาประคองตัวเองด้วยการหันไปสอนหนังสือวิเคราะห์ตลาดหุ้นตามมหาวิทยาลัย เป็นคอลัมนิสต์วิเคราะห์หุ้นระดับ "ปากตลาด" ในนิตยสาร Forbes เพื่อหารายได้มาใช้หนี้ และสะสมบางส่วนรอหุ้นขึ้นรอบใหม่ พร้อมกับปรับพฤติกรรมการเล่นหุ้นของตัวเอง ซึ่งเขาสรุปให้เพื่อนนักข่าวคนหนึ่งฟัง และกลายเป็นคัมภีร์ ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟตต์ยอมรับว่า เขาหมั่นเตือนความจำด้วยบทความนี้เสมอ (ดังตัวอย่างเต็มที่ยกมาข้างล่างนี้

Mr. Market Ben Graham, my friend and teacher, long ago described the mental attitude toward market fluctuations that I believe to be the most conductive to investment success. He said that you should imagine market quotations as coming from a remarkably accommodating fellow named Mr Market who is your partner in a private business. Without fail, Mr. Market appears daily and names a price at which he either buy your interest or sell you his.

Even Though the business that the two of you own may have economic characteristics that are stable, Mr. Market's quotations will be anything but. For, sad to say, the poor fellow has incurable emotional problems. At times he falls euphoric and can see only the favorable factors affecting the business. When in that mood, he names a very high buy-sell price because he fears that you will snap up his interest and rob him of imminent gains. At other times he is depressed and can see nothing but trouble ahead for both the business and the world. On these occasions he will name a very low price, since he is terrified that you will unload your interest on him.

Mr. Market has another endearing characteristic: He doesn't mind being ignored. If his quotation is uninteresting to you today, he will be back with a new one tomorrow. Transactions are strictly at your opinion. Under these conditions, The more manic-depressive his behavior, the better for you.

But, like Cinderella at the ball you must heed one warning or everything will turn into pumpkins and mice: Mr. Market is there to serve you, not to guide you. It is his pocketbook, not his wisdom, that you will find useful. If he shows up someday in particularly mood, you are free to either ignore him or to take advantage of him, but it will be disastrous if you fall under his influence.

Indeed, if you aren't certain that you understand and can value your business far better than Mr. Market, you don't belong to the game. As they Say in poker, "If you've been in the game 30 minutes and you don't know who the patsy is, you're the patsy."

แกรห์ม กลับมารุ่งเรืองเป็นมหาเศรษฐีหุ้นในวงการหุ้นครั้งใหม่เมื่อตลาดวอลล์สตรีทกลับมาเป็นขาขึ้นนาน 5 ปีติดกัน ระหว่าง ค.ศ.1932-1937 ไม่ใช่เฉพาะมีหุ้นส่วนชั้นเซียนอย่างเจอโรม นิวแมน (ดูแค่ชื่อหน้า ก็รู้แล้วว่าเป็นยิวอเมริกัน) เท่านั้น หากยังมาพร้อมกับทฤษฎีใหม่ value investing (หลักการง่ายๆ คือ ลงทุนในตลาดหุ้น มิใช่การซื้อ-ขายหุ้น หากเป็นการซื้อ-ขายอนาคตของบริษัท) ที่ลือลั่นในยุคนั้น (และกำลังกลับมาลือลั่นใหม่ในยุคของบัฟเฟตต์ยามนี้)

เจอโรม นิวแมน เป็นนักซื้อขายกิจการ (เรียกว่า liquidations นั่นคือ การซื้อกิจการเน่าๆ มาผ่าตัดแบ่งขายเป็นชิ้นๆ ใครที่จินตนาการไม่ออก ขอให้กลับไปดูภาพยนตร์เรื่อง Pretty Woman ซึ่งริชาร์ด เกียร์ พระเอกของเรื่องมีอาชีพนี้) ที่ขึ้นชื่อ และมีศัตรูทั่วเมือง เพราะเขาสั่งปิดกิจการ ปลดคนงาน และขายทรัพย์สินอย่างอึงคนึง ทำให้ต้องหลบไปทำงานอยู่ข้างหลัง แต่ความชำนาญในการค้นหาข้อมูลวงในของบริษัทนั้น เป็นประโยชน์กับแกรห์มและหุ้นส่วนอย่างมาก โดยเฉพาะทำให้ทฤษฎีวิเคราะห์ที่เรียกว่า E-companies (กฎ 6 ข้อของการประเมินฐานะและคุณค่าบริษัทก่อนซื้อหุ้น) สมบูรณ์มากขึ้น

ความสำเร็จที่ไม่ขาดระยะของแกรห์ม-นิวแมน ยาวนานหลายทศวรรษ แม้จะถูกสอบสวนบ่อยครั้งในข้อหาใช้ข้อมูลวงในซื้อขายหุ้น หรือความผันผวนตลาดหุ้นจะเป็นขาขึ้นหรือลง ต่อเนื่องมาจนถึงทศวรรษ 1960 ไม่เพียงสร้างความมั่งคั่งให้หุ้นส่วนและพนักงานเท่านั้น หากยังได้ช่วยตอกย้ำความยิ่งใหญ่ของกฎการลงทุนหุ้น 14 ข้อของแกรห์มที่ลือลั่นในยุคนั้น

หนึ่งในกฎสำคัญ ก็คือ ซื้อหุ้นที่มีอนาคตไกลในราคาต่ำ (อาจจะไม่ถึงก้นเหว) และขายเมื่อกำไรพอสมควร (ส่วนที่เกินนั้น ให้บรรดาแมงเม่าไปเสี่ยงเอาเอง

เมื่อ เจอโรม นิวแมน เสียชีวิต และเบนจามิน แกรห์ม อายุเกิน 60 ปี ทำให้แกรห์มเริ่มตัดสินใจที่จะล้างมือในอ่างทองคำ โดยหวังไปมีอาชีพสอนหนังสือใน UCLA ว่าด้วยการวิเคราะห์หลักทรัพย์

ความรู้จักพอของแกรห์ม เป็นหนึ่งในตำนาน เพราะเขาเสนอขายหุ้นให้กับคนที่พร้อมจะเป็นทายาทในบริษัทของเขาทั้งหมด พร้อมทั้งมอบรายชื่อลูกค้าหุ้นที่เป็น "สาวกของแกรห์ม" ให้ด้วย (อย่างหลังนี้มีคุณค่ามหาศาล) โดยคนที่ถูกเสนอตัวได้แก่ วอร์เรน บัฟเฟตต์นี้เอง แต่บัฟเฟตต์ก็ไม่สามารถทำงานได้ เพราะขัดแย้งกับผู้บริหารคนอื่นจึงลาออก

แกรห์มไม่มีทางเลือกอื่น จึงปิดกิจการบริษัทที่ยังคงรุ่งเรือง และล้างพอร์ตโฟลิโอทั้งหมด เพื่อไป "เสวยสุขยามชรา" ทิ้งตำนานความสำเร็จเอาไว้เบื้องหลัง

หนังสือที่มีสีสันและจุดประกายปัญญาเล่มนี้ให้ภาพ และเบื้องหลังที่น่าสนใจอย่างมากถึงเบื้องหลังวิธีคิดของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ล้มแล้วลุกขึ้นมารวย ไม่ใช่ด้วยคุณธรรม หรือด้วยความรู้อย่างเดียว แต่ด้วยทรัพยากรทางธุรกิจที่หลากหลาย (การใช้สื่อ การใช้ข้อมูลวงใน การอาศัยช่องโหว่กฎหมาย การใช้จังหวะซื้อขายตามสัญญาณทางเทคนิค และการวิจัยอนาคตธุรกิจ) ในยุคของความรุ่งเรืองอเมริกากลางห้วงสงครามเย็น

เพียงแต่เมื่อดูราคาแล้วถือว่าหนังสือของเพนกวิน บุ๊กเล่มนี้แพงผิดปกติทีเดียว ซึ่งคงช่วยไม่ได้ เพราะยามนี้ตลาดหุ้นกำลังเป็นขาขึ้น ได้เวลาของการเก็บเกี่ยวของสำนักพิมพ์บ้าง

เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนระดับแมงเม่า ซึ่งปัจจุบันดูเฉพาะสัญญาณแท่งเทียน (candlestick technical symptom) เป็นหลัก โดยเฉพาะข้อเตือนใจจากข้อความที่บัฟเฟตต์แนะนำ (ที่ยกมาในภาษาอังกฤษข้างต้น) ที่ว่า

...ถ้าคุณลงไปคลุกวงในของเกมนาน 30 นาที และยังหาไม่เจอว่าใครคือเหยื่อ...คุณน่ะแหละคือเหยื่อตัวจริง

เนื้อหาในเล่ม

chapter 1 The Dean of Wall Street กล่าวถึงคุณูปการที่แกรห์มและพวกทำไว้ พร้อมกับตำนานที่เป็นบทเรียนให้คนที่ประสบความสำเร็จรุ่นหลังตามรอย

chapter 2 Graham's Early Years on Wall Street

chapter 3 Pushing a Poker Hand for All It's Worth

กล่าวถึงการเริ่มต้นอาชีพนักวิเคราะห์หุ้น และกระโจนเป็นนักลงทุนประเภทแมงเม่าด้วยตัวเองอย่างร้อนวิชาในช่วงขาขึ้นร้อนแรงของตลาดวอลล์สตรีท ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1

chapter 4 The Crash-1929 and the Great Depression

chapter 5 The Gospel According to Ben: Security Analysis

chapter 6 Graham's Economic Influence: a Cure for War and World Hunger

ชะตากรรมที่เลี่ยงไม่พ้นของแมงเม่า หลังจากตลาดวอลล์สตรีทพินาศในปี 1929 ที่เรียกว่า Balck Tuesday พร้อมการเอาตัวรอดในระยะคับขัน โดยกล้าเผชิญหน้ากับเจ้าหนี้ ไม่ใช่ด้วยหลัก 3 ไม่ (ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย) พร้อมกับการสรุปบทเรียนกลายเป็นข้อสรุปใหม่ที่พลิกชะตากรรมจากวิกฤติเป็นโอกาสใหม่ของแกรห์ม และนิวแมน ที่ไม่จำกัดเฉพาะบทบาทในตลาดหุ้นอย่างเดียว

chapter 7 The Quiet Gardens of Safety and Value เป็นบทที่สำคัญและมีเนื้อหาน่าสนใจมากที่สุด รวมทั้งกฎการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอ 14 ข้อที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพลาดไม่ได้เลย และไม่ควรอ่านเที่ยวเดียว หากต้องทวนกลับไปกลับมา

chapter 8 The GEICO Story บาปของนักบุญ กล่าวถึงรอยด่างในความสำเร็จ ซึ่งเลี่ยงไม่พ้น เมื่อแกรห์มและพวกถูกข้อหาใช้ข้อมูลวงในซื้อขายหุ้น และเอาตัวรอดมาได้หวุดหวิด เป็นกรณีตัวอย่างวัฒนธรรมธุรกิจอเมริกัน "ความรวยนั้นดีเสมอ ถ้าตราบใดไม่ทำผิดกฎหมายและถูกจับได้"

chapter 9 The Kindred Soal of Young Warren Buffet นักเรียนน้อย ที่เรียนรู้วรยุทธ์หุ้นจากแกรห์มก่อนกลายเป็นเจ้าพ่อวอลล์สตรีทในปัจจุบัน เป็นบทแถมว่าด้วยวอร์เรน บัฟเฟตต์เมื่อครั้งยังไม่รวย

chapter 10 The End of Graham-Newman Era

chapter 11 Graham as California Guru

chapter 12 Graham's Final Adventures

การล้างมือในอ่างทองคำเหลือแต่ตำนานอย่างคนที่รู้จัก "พอ" ของแกรห์ม ที่เข้าปรัชญาสโตอิกของกรีก-โรมัน "ทำงานหนักวัยหนุ่มสาว สบายยามชรา"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us