ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้เวลานั่งรถไฟผ่านไปแถวๆ ชินากาวาทีไร รู้สึกได้ถึงอะไรบางอย่างที่ค่อยๆ
เปลี่ยนไป เริ่มจากการแวะลงเข้าห้องน้ำเวลาเปลี่ยนรถไฟ ถ้าไม่ลืมไปว่าที่นี่คือสถานีรถไฟก็คงจะคิดว่าเป็นห้องน้ำ
ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ไหนสักแห่งหนึ่งในโตเกียว ร้านค้า ร้านอาหาร รวมไปถึง
decoration ในสถานีก็ดูคล้ายว่ากำลัง shopping อยู่ในห้างสรรพสินค้า แต่นั่นก็ยังไม่น่าแปลกใจเท่ากับบอร์ดโฆษณาขนาดยักษ์" 1 ตุลาคม พบกับ New Shinkansen ได้ที่นี่!"
ชินากาวา เป็นจุดแวะพักจุดแรกของการเดินทางจากโตเกียวไปเกียวโตในสมัยเอโดะที่มีชื่อว่า
"Tokaido" การเดินทางด้วยเท้ามาจากใจกลางโตเกียวถึงชินากาวาเป็นระยะทาง 6.8
กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 1 วันพอดี จุดแวะพักของเส้นทาง Tokaido มีทั้งหมด
53 จุด แต่ละจุดจะมีเรียวกัง (โรงแรมแบบญี่ปุ่นสมัยก่อน ถ้าจะให้เข้าใจง่ายให้นึกถึงโรงแรมในหนังซามูไร
หรือไม่ก็โรงเตี๊ยมในหนังจีน period ซึ่งได้บรรยากาศที่ใกล้เคียงกับเรียวกัง)
ร้านอาหาร เซนโตะ (และ/หรือ ออนเซน) และเกอิชา ประมาณว่าที่ชินากาวา มีเกอิชาอยู่มากถึง
1,500 คน และยังว่ากันอีกว่า บรรดาพ่อค้า ซามูไรที่ใช้เส้นทาง Tokaido ไปกลับบ่อยๆ มักจะมีเรียวกังและเกอิชา
(ขา) ประจำทั้ง 53 จุดแวะพัก
ปัจจุบันเส้นทาง Tokaido ยังคงเป็นเส้นทางสายหลักที่ใช้เดินทางไปมาระหว่างโตเกียว-เกียวโต
ต่อไปถึงโกเบด้วย ทั้ง 53 จุดแวะพักกลายมาเป็นสถานีรถไฟ ซึ่งสามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้ภายในประมาณ
10 ชั่วโมง หรือถ้าใช้ Shinkansen ก็ใช้เวลาประมาณ 2.5-4.5 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิดของ
Shinkansen ดังนั้นเรียวกังและเกอิชา จึงหมดหน้าที่ไปโดยปริยาย ทุกวันนี้ยังมีเรียวกังที่พอหาพักได้ตามสถานที่ท่องเที่ยว
หรือออนเซนในต่างจังหวัด ส่วนเกอิชาแท้แบบเอโดะคงไม่มีเหลือแล้ว แต่อาจจะเปลี่ยนรูปแบบ
ไปตามกาลเวลา ซึ่งจะกลายไปเป็นอะไรหรือเรียกว่าอะไรนั้นขออนุญาตไม่กล่าวถึงในที่นี้
จะว่าไปแล้ว ชินากาวาเป็นทำเลที่ดีมากทางใต้ของโตเกียว อยู่ใกล้ท่าเรืออ่าวโตเกียว
เป็นประตูผ่านไปทางนาโงยาหรือโอซากาได้ ทำให้สถานีชินากาวา เป็นชุมทางรถไฟสำคัญจุดหนึ่งของโตเกียว
รถไฟสายหลักที่เปรียบเหมือนกับเส้นเลือดใหญ่ของโตเกียว คือ JR Yamanote
line ที่วิ่งเป็น loop รอบเมืองหลวง มีจุดเริ่มต้นที่สถานีชินากาวา ที่นี่มีรถไฟของ
JR ตัดผ่านอีก 3 line คือ Tokaido line จากโตเกียวถึงโกเบ, Yokosuka line
นั่งไปทางโยโกฮามา เลยไปถึงแถวๆ คามาคุระได้, Keihin Tohoku line เริ่มจากโยโกฮามาผ่านโตเกียว
เลยขึ้นไปทางเหนือจนถึงโอมิยะ นอกจากนี้ยังมีรถไฟ Narita Express ซึ่งเป็น
bullet train ที่เชื่อม down town Tokyo กับสนามบินนานาชาติ Narita โดยตรง
โดยส่วนตัวแล้วขอแนะนำให้นั่ง Yokosuka line ไป Narita Airport ซึ่งจะประหยัดค่ารถไฟได้เกือบเท่าตัว
แต่จะต้องตรวจสอบตารางรถไฟให้แน่นอน เพราะขบวนของ Yokosuka line ที่จะวิ่งไปถึง
Narita Airport มีแค่ชั่วโมงละ 1 คันเท่านั้น และใช้เวลานานกว่า Narita Express
ประมาณ 20 นาที
ไม่เฉพาะรถไฟของ JR เท่านั้น ที่สถานีชินากาวายังมีรถไฟเอกชนสาย Keikyu
Main line มาเชื่อมต่อซึ่งสามารถนั่งไปเชื่อมกับ Tokyo Monorail ต่อไปถึง
Haneda Airport สนามบินภายในประเทศได้อีกด้วย
ถ้าออกจากสถานีชินากาวาไปลงรถไฟใต้ดิน Asakusa line ก็จะพบกับอีกเครือข่ายใยแมงมุมของรถไฟใต้ดินโตเกียว
ที่สามารถเดินทางไปที่ไหนๆ ก็ได้ในเขตโตเกียวและรอบๆ
ทั้งหมดนี้ก็เพียงพอที่จะทำให้คนที่อยู่ในแถบทางใต้ของโตเกียว เดินทางไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวไปอีกหลายทศวรรษ
แต่ด้วยคอนเซ็ปต์ของการบริการ ในความหมายของญี่ปุ่นแล้ว บริการที่สถานีชินากาวามีอยู่นั้นไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่รัฐจะมีให้กับประชาชนญี่ปุ่น
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา สถานีชินากาวาได้เปิดให้บริการใหม่ ที่ช่วยประหยัดเวลาการเดินทางให้กับคนที่อาศัยอยู่ทางใต้ของโตเกียวได้ถึง
20-30 นาที โดยการเพิ่มชานชาลาพิเศษสำหรับ Tokaido Shinkansen พูดง่ายๆ คือ
ไม่จำเป็นต้องนั่งรถไฟไปถึงสถานีโตเกียว เพื่อขึ้น Shinkansen
Shinkansen รถไฟที่เร็วที่สุดในโลก มีอยู่หลายขบวน ซึ่งมีความเร็วและชื่อเรียกที่ต่างกันตามเส้นทางที่ใช้
ขบวนรถ Shinkansen ที่เปิดให้บริการใหม่ที่ชินากาวา คือ Tokaido Shinkansen
ซึ่งมีอยู่ 3 ขบวน คือ Nozomi Shinkansen เป็นเจ้าของสถิติรถไฟที่เร็วที่สุดในโลก
สามารถไปถึงโอซากา ที่อยู่ห่างออกไป 700 กิโลเมตรได้ภายใน 2 ชั่วโมงครึ่ง
Nozomi จะแวะจอดที่สถานีชินากาวา ชั่วโมงละ 5 ขบวน Hikari Shinkansen แชมป์เก่าจะจอดชั่วโมงละ
1 ขบวน ส่วน Kodama Shinkansen ขบวนหวานเย็น จะจอดที่สถานี ชินากาวาทุกขบวน
รายละเอียดตารางรถไฟสอบถามได้ที่สถานีรถไฟ JR ทั่วประเทศ หรือ http://www.jreast.co.jp
(ภาษาญี่ปุ่น)
กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่เคยใช้บริการ Shinkansen จากสถานีโตเกียว เปลี่ยนมาขึ้นที่สถานีชินากาวาแทน
ซึ่งช่วยประหยัดทั้งค่ารถไฟและเวลา ผลที่ตามมาคือ คาดว่าจะมีคนเข้าออกสถานีชินากาวาเพิ่มขึ้นถึงวันละ
60,000 คน ด้วยเหตุนี้เองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นใน Shinagawa area
พื้นที่ทางตะวันออกของสถานี East Gate E1 area ถูกพัฒนาเป็น Super-High-Rise
Building เป็นกลุ่มตึกระฟ้า 7 ตึกเรียงต่อกันกลายเป็นอีก Landmark หนึ่งของโตเกียว
กลุ่มตึกระฟ้านี้ถูกออกแบบให้เป็น Intelligent Building เหมือนอย่างที่มีอยู่ใน
West Shinjuku แต่มีทำเลที่ได้เปรียบกว่าเพราะอยู่ใกล้กับท่าเรือโตเกียว
ดังนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เช่น Sony, Canon, Mitsubishi group จะสามารถใช้
facility ในการขนส่งสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น
Shinagawa Intercity Skyway เป็นอีกตึกหนึ่งที่ได้รับความสนใจ ภายในเป็นแหล่ง
shopping ร้านอาหารที่เรียกได้ว่า modern และหรูหราที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
พื้นที่ทางตะวันตกของสถานีเป็น area สำคัญแห่งหนึ่งของโตเกียวอยู่แล้ว
รอบๆ Prince Hotel มี office ห้างสรรพสินค้าชั้นนำอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ถึงกระนั้นก็ตามการเปลี่ยนแปลงในทางตะวันตกคือ
มีสวนสาธารณะแห่งใหม่ ไว้รองรับการขยายตัวของ Shinagawa
แต่เดิมการเดินจากฝั่งตะวันออกไปฝั่งตะวันตกของสถานีเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก
เพราะต้องเดินอ้อมสถานีที่มีขนาดใหญ่ Rainbow Road ถูกสร้างขึ้นมาเชื่อมทั้งสองด้านของสถานี
เป็นการเดินทางที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง แม้ในเวลาที่สถานีปิด
อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกว่าอะไรบางอย่างค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปในประเทศนี้
อย่างที่รู้สึกกับชินากาวานั้น ถ้าคิดให้ดีๆ แล้ว ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกแต่อย่างใด
ญี่ปุ่นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังสามารถกลายมาเป็นญี่ปุ่นอย่างทุกวันนี้ได้
การ Modernized Shinagawa ก็คงไม่ใช่เรื่องยาก
กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากการ Modernized Shinagawa คือ กลุ่ม salary
man ที่ไปทำงานด้วย Shinkansen ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศ
การประหยัดเวลา 20-30 นาที ต่อ 1 เที่ยว Shinkansen ต่อคน อาจจะมีส่วนช่วยทำให้เวลาเพิ่มขึ้นในการคิด
modernize ส่วนอื่นๆ ของประเทศอีกก็เป็นได้