Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
"ช้างไทย ช่างไทย"             
 





ประสบปัญหาต่างๆ มากมาย ช้างเผชิญภาวะการขาดแคลนอาหารเนื่องจากพื้นที่ป่าลดลง การเจ็บป่วย หรือถูกใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง องค์ กรต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนหลายหน่วยงานได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์และช่วยเหลือ

เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2542 ที่ผ่านมา ริเวอร์ซิตี้ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง จึงได้จัดนิทรรศการ "ช้างไทย ช่างไทย" ขึ้นเป็น กิจกรรมใหญ่ส่งท้ายปี 2542 โดยมี อา-นันท์ ปันยารชุน เป็นประธานเปิดนิทรรศการ ภายในงานได้พยายามให้ผู้คนได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของช้าง และความอลังการของช่างไทยเช่น ช้างในงานจิตรกรรม ช้างกับงานแกะสลักไม้ และช้างกับงานภาพถ่าย

ในจิตรกรรมไทย ช้างได้มีส่วนเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันอยู่อย่างเหนียวแน่น ในฐานะแม่บทของการฝึกหัดเขียนภาพจิตรกรรมไทย ดังนั้นช้างซึ่งมีความ ผูกพันกับชาวไทยจึงเข้าไปมีส่วนร่วมกับจิตรกรรมไทยเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นภาพพุทธประวัติตามวัดวาอาราม ต่างๆ หรือภาพในวรรณคดี

สำหรับจิตรกรรมร่วมสมัยของไทยมีศิลปินนำเรื่องราวของช้างมาสร้าง สรรค์จิตรกรรมไม่มากนัก นอกจากศิลปินที่สร้างสรรค์จิตรกรรมในแนวประเพณีอันมีแบบอย่างที่มาจากจิตร กรรมไทยแล้ว ศิลปินร่วมสมัยที่สร้าง สรรค์จิตรกรรมสากลเป็นเรื่องเป็นราวของช้างมีจำนวนนับคนได้ เช่น เหม เวชกร ถวัลย์ ดัชนี คำอ้าย เดชดวงตา สุชาติ ตั้งศิลปโอฬาร อัศวิน ดรุณแสง

งานในวันนั้นมีนิทรรศการผลงานจิตรกรรมจากศิลปินกว่า 70 คน เช่น ถวัลย์ ดัชนี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ วันเจริญ จ่าปะคัง สุรสิทธิ์ เสาว์คง

ทางด้านงานแกะสลักไม้ เป็นงานช่างหรืองานศิลปะแขนงหนึ่งที่นิยมใช้ช้างเป็นต้นแบบเนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีรูปทรงค่อนข้างใหญ่ ง่ายต่อการถ่ายทอด มีอิริยาบถที่สง่างาม น่าเกรงขาม และน่ารักปะปนกัน สำหรับช่างแกะสลักไม้ที่เลื่องชื่อของไทย ส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือ ด้วยเป็นดินแดน แห่งป่าไม้ และถิ่นอาศัยของช้าง และปรมาจารย์งานช่างแขนงนี้คือ ครูคำอ้าย เดชดวงตา

ครูคำอ้ายได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์ (แกะสลักไม้) และเป็นกรรม การผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนช้าง ครูคำอ้ายได้ตระหนักถึงความสำคัญของช้างในฐานะสัตว์คู่บารมีชาติไทย แต่ปัจจุบันช้างมีปัญหามากมาย จึงรังสรรค์งานแกะสลักไม้เป็นรูปช้างในลักษณะต่างๆ กัน ทั้งในเชิงเรียลลิสติก อีโรติก และจัดแสดงไว้ที่ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมชุมชน ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นทั้งที่ทำงาน และแสดงผลงาน รวมทั้งเป็นศูนย์ส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนมาศึกษา และฝึกฝนงานไม้เพื่อเป็นอาชีพเสริม ซึ่งได้พัฒนาขึ้นมาเป็นโรงเรียนศิลปหัตถกรรมเพื่อการอาชีพ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสถาบันจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว

ซึ่งงานนิทรรศการในครั้งนี้ ครูคำอ้ายได้นำผลงานของตนเองและลูกศิษย์มาร่วมแสดงด้วย รวมทั้งเปิดรับบริจาคสมทบกองทุนในการจัดตั้งโรงเรียนที่ยังต้องการงบในการสนับสนุนอีกมากด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us