Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546
ความทรงจำครั้งหนึ่งใน Thai Cooking School             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

Food Designer นูรอ โซ๊ะมณี

   
www resources

ร้านอาหารบลูเอเลเฟ่นท์โฮมเพจ

   
search resources

บลูเอเลเฟ่นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
นูรอ โซ๊ะมณี สเตปเป้
Food and Beverage




ชาวต่างชาติหญิงชายกลุ่มนั้นกำลังเดินตรงไปขึ้นรถไฟฟ้าสถานีสุรศักดิ์มนตรี โดยมีเป้าหมายต่อไปยังตลาดสดบางรัก เพื่อเรียนรู้การเลือกซื้ออาหารสด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรใน Blue Elephant Cooking School

8.30 น. นักเรียนทุกคนได้มาพร้อมกันที่ร้านบลูเอเลเฟ่นท์ หรือโรงเรียนศิลปะการทำอาหารไทย ในอาคารเก่าที่บูรณะใหม่จนสง่างามริมถนนสาทร (อ่านเพิ่มเติมที่ Blue elephant ในอาคารแห่งประวัติศาสตร์ นิตยสาร "ผู้จัดการ" กรกฎาคม 2545) นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และออสเตรเลีย มีคนไทยเพียง 2 คนเท่านั้น

หลักสูตรการเรียนการสอนอาหารไทยที่นี่ต่างจากที่อื่นตรงที่ ไม่ได้เป็นหลักสูตรนานเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่จะจัดไว้คอร์สละครึ่งวัน คือ Morning Course และ Afternoon Course แต่ละคอร์สสอนอาหารไทย 4 อย่าง ราคาค่าเรียน 2,800 บาทต่อคน

ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงเป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเมืองไทยเพียง ระยะเวลาสั้นๆ และยังมีวันว่างพอที่จะมาเรียนอาหารไทยเพียงครึ่งวัน หากชอบใจและมีเวลาเหลือ ก็ลงเรียนอีกในวันต่อไปได้ เพราะเปิดสอนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ โดยแต่ละวันทางโรงเรียนจัดเมนูที่สอนแตกต่างกันไป

ทุกคนสามารถจับจองเวลาเรียนได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ แมกกาซีน บริษัททัวร์ และจากสาขาต่างๆ ของบลูเอเลเฟ่นท์ที่มีในยุโรปและตะวันออกกลางรวม 12 สาขา และเร็วๆ นี้ กำลังเตรียมเปิดสาขาใหม่ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา

นูรอ โซ๊ะมณี สเต็ปเป้ เจ้าของร้าน ซึ่งวันนี้สวมบทบาทของ "ครู" สอนทำอาหาร พร้อมด้วยผู้ช่วยอีก 1 คน รอต้อนรับนักเรียนทุกคนอยู่แล้วพร้อมอาหารเช้า หลังจากทักทายแนะนำตัวกันชั่วครู่ ทุกคนก็เดินทางไปเข้าห้องเรียนแรก ที่ตลาดเช้าบางรัก โดยไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีสุรศักดิ์หน้าโรงเรียนนั่นเอง

เมื่อถึงตลาด นักเรียนจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อความสะดวก ทุกคนจะถูกสอนให้เลือกซื้อวัตถุดิบในการปรุงอาหารที่มีคุณภาพ สด สะอาด และปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น ปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ ผัก ผลไม้ เครื่องเทศต่างๆ รวมทั้งเข้าร้านของชำเพื่อเลือกซื้อน้ำปลา กะปิ และน้ำพริกเผา

ภาพชีวิตผู้คนและความวุ่นวายในตลาดสดยามเช้าที่หลายคนไม่เคยมีโอกาสสัมผัส เป็นสีสันที่สร้างความสนุกสนาน ทำให้เวลาประมาณ 45 นาที ผ่านไปอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นทุกคนได้หอบข้าวของขึ้นรถไฟฟ้ากลับมาที่โรงเรียน

เมนูเด็ดในวันนั้นคือ ต้มยำทะเล หรือต้มยำอีสาน แกงเผ็ดเป็ดย่างรมควัน และกุ้งแม่น้ำผัดพริกไทยดำ เมนูทั้งหมดเหล่านี้ทางโรงเรียนเป็นผู้คิดขึ้นมาก่อนก็จริง แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากนักเรียนกลุ่มนั้นมีความเห็นที่ตรงกันว่าอยากเรียนเมนูไหนเป็นพิเศษ

จากเด็กสาวที่ขี้อายเมื่อหลายปีก่อน วันนี้ครูนูรอพูดเก่งมากขึ้น เธอบอกว่าเธอสอนด้วยใจรักจริงๆ เพราะในความเป็นเจ้าของเธอมีภาระ และหน้าที่ในการบริหารงานร่วมกับสามีเป็นหลัก ต้องเดินทางไปตามสาขา และไปร่วมชิมอาหารแปลกใหม่ในเทศกาลอาหาร และเชฟชื่อดังจากประเทศต่างๆ ตลอดเวลา

นูรอยังเป็นเจ้าของร้านอาหารอินเดียที่กรุงบรัสเซลส์และลอนดอน อีก 2 สาขาด้วย ดังนั้น หากใจไม่รักและไม่มีอารมณ์สนุกก็จะไม่ทำ เพราะรายได้ส่วนนี้ไม่ใช่รายได้หลักที่สำคัญของทางร้าน

เวลาที่มีไม่มากของนักเรียน ทำให้ต้องทำทุกอย่างให้นักเรียนสนุก และได้ประโยชน์ ไม่หวงเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ "การผัดเนยไม่ให้ไหม้ เราจะต้องใส่น้ำมันลงไปนิดหน่อยก่อนผัดเนย หรือการทอดกุ้งในน้ำมันเดือดด้วยความเร็ว (quick deep fried) ทำให้กุ้งไม่คายน้ำ และไม่อมน้ำมันมากเกินไปเวลาผัด" รวมทั้งเทคนิคต่างๆ ในการโขลกเครื่องแกงเอง แทนการใช้เครื่องแกงสำเร็จรูปแต่เพียงอย่างเดียว

พืชผักของแต่ละประเทศสามารถจะใช้แทนกันได้และให้รสชาติที่ใกล้เคียงกันอย่างไร เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ครูนูรอพร่ำบอกกับลูกศิษย์นานาชาติ

กลิ่นหอมอบอวลของอาหารที่ถูกปรุงอยู่บนเตา เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ผู้ปรุงอาหารจะได้รับ โดยเฉพาะกลิ่นคละคลุ้งจากเครื่องเทศของไทย ไม่ว่าจะเป็นยี่หร่า อบเชย มะกรูด ตะไคร้ ฯลฯ พืชเหล่านี้จัดเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ในการทำ "สุคนธบำบัด" หรือ "Aromatherapy" ครูนูรอไม่ลืมบอกนักเรียนให้สูดกลิ่นหอมอ่อนๆ ของเครื่องเทศเหล่านี้เพื่อสุขภาพด้วย

"การทำอาหารเป็นศิลปะ" ครูนูรอกล่าว ขณะที่บรรจงหยอดครีมกะทิสีขาวบริสุทธิ์ลงบนผืนน้ำแกงสีแดงตัดกับสีเขียวสดของใบโหระพา แซมด้วยสีม่วงเข้มขององุ่น และสับปะรดสีเหลืองจัด สีสันทั้งหมดนี้รวมกันอย่างลงตัวภายในโถกระเบื้องสีน้ำเงินใบเล็กสีน้ำเงินเข้ม

อาหารทุกอย่างถูกจัดเตรียมขึ้นโต๊ะเพื่อให้นักเรียนทุกคนร่วมรับประทาน และผลัดกันติชม เมื่อเวลา 12.00 น. ก่อนจะแยกย้ายกันกลับพร้อมกับเก็บความทรงจำดีๆ ของวันหนึ่งในชั่วโมงเรียน Thai cooking School

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us