Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546
สืบสานลายไทยที่อัมพวา             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

เบญจรงค์ ปิ่นสุวรรณ

   
search resources

ปิ่นสุวรรณ เบญจรงค์
วิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ
Ceramics




บ้าน "ปิ่นสุวรรณ เบญจรงค์" ในพื้นที่กว้างขวางถึง 8 ไร่นั้น เปิดประตูโล่งไว้ทั้งวัน เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าที่เข้ามาติดต่อ เมื่อมองเข้าไปด้านขวามือจะเห็นบ้านเรือนไทยหลังใหญ่ ซึ่งวิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ เตรียมจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ไทย

ซ้ายมือเป็นบ้านหลังใหญ่ และโรงงานเล็กๆ ถัดไปจะเป็นเตาเผา และที่เห็นกำลังก่อสร้างอยู่ด้านใน คือบ้านอีกหลังหนึ่งของครอบครัว

ทุกเช้าตั้งแต่เวลา 8.00 น. หนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งประมาณ 50 คน อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จะทยอยเข้าประตูรั้วบ้านหลังนี้เพื่อเข้ามาทำงาน ในห้องติดแอร์ด้านล่างของตัวบ้าน ทุกคนเป็นลูกหลานของชาวสวนมะพร้าว สวนส้ม สวนลิ้นจี่ ในเขตท้องที่อำเภออัมพวา และย่านใกล้เคียง บางคนจบการศึกษาแค่ชั้น ป.6 บางคนจบมัธยม หรือระดับ ปวช. เมื่อไม่มีโอกาสเรียนต่อ และไม่อยากเป็นชาวสวน ก็เข้ามาหางานทำที่โรงงานแห่งนี้

"ทุกคนจะเรียกผมว่าพ่อ เราดูแลกันเหมือนลูกเหมือนหลาน ผมก็ภูมิใจอย่างมากที่มีงานให้เขาทำและยังเป็นงานที่มีเกียรติ เพราะเป็นงานศิลปะที่สืบทอดต่อกันมาจากคนรุ่นบรรพบุรุษ"

วิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ เจ้าของโรงงานปิ่นสุวรรณ เบญจรงค์ เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง ในวัย 76 ปี เขายังดูแข็งแรงแม้แลดูอ่อนเนือยไปบ้างแต่พร้อมที่จะพูดคุยอย่างกระฉับกระเฉง และเต็มไปด้วยความทรงจำอันสดใสในเรื่องราวความเป็นมาของการทำเครื่องเบญจรงค์

เมื่อเป็นโรงงานด้านศิลปะ คนที่เข้ามาต้องมีใจรักเป็นทุน และต้องมีความอดทนอย่างมากในการฝึกหัดเขียนลาย หลายคนที่ใจไม่เย็นพอก็เลิกรากันไปหลังจากฝึกอยู่ไม่กี่วัน แต่อีกหลายคนก็สามารถอยู่ต่อเนื่องกันเป็นเวลากว่า 10 ปี พร้อมๆ กับสะสมความชำนาญในเรื่องฝีมือเพิ่มขึ้น ในขณะที่บางคนเมื่อมีความเชี่ยวชาญระดับหนึ่งก็อาจจะออกไปตั้งโรงงานทำเองต่อไป

รุ่นพี่ที่ทำงานมากว่า 10 ปี คือคนช่วยฝึกสอน ถ่ายทอดวิชาให้รุ่นน้องอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันวิรัตน์ควบคุมดูแลอยู่เพียงห่างๆและเป็นผู้ดูแลหลักในเรื่องการผสมสีอย่างเดียวเท่านั้น

"สี" เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้งานแต่ละชิ้นสวยงาม ปัจจุบันมีสีคุณภาพราคาแพงจากต่างประเทศ เข้ามาเปิดสาขาขายในเมืองไทยมากมาย แต่เทคนิคสำคัญอยู่ที่ว่าจะผสมอย่างไรให้ได้อย่างที่ต้องการ เผาออกมาแล้วไม่ผิดเพี้ยนไป วิรัตน์ยืนยันว่าการเลียนแบบสีโบราณเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก และเขาได้ฝึกการผสมสีมานานกว่าจะได้เคล็ดลับออกมา

งานศิลปะนั้นเมื่อสมาธิเกิดขึ้นกับผู้สร้างผลงาน ความเพลิดเพลินและความสุขก็จะตามมา การเขียน การวาด ก็จะต่อเนื่องสัมพันธ์กันอย่างราบรื่น แต่จริงๆ แล้วขั้นตอนการทำนั้นยากมาก

งานชิ้นเล็กๆ อย่างถ้วยกาแฟชุดหนึ่ง ช่างต้องใช้เวลาเขียนลายและลงสีประมาณ 3 วัน ต่อจากนั้นก็นำเข้าเตาเผาในความร้อนสูงอีก 5 ชั่วโมง บางชิ้นที่มีความต่อเนื่องของลายยากๆ ก็จะใช้เวลามากกว่านี้ ราคาโดยเฉลี่ยของถ้วยและจานรองชุดนี้อยู่ที่ 1,200-1,600 บาท แต่หากไปเห็นวางขายตามโรงแรมใหญ่ราคาอาจสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับว่าคนที่ซื้อไปจะกำหนดราคาในการขายต่อมากน้อยแค่ไหน

งานชิ้นใหญ่ขึ้นก็ต้องใช้เวลามากขึ้นบางชิ้นเป็นอาทิตย์ บางชิ้นเป็นเดือน อารมณ์ช่างเขียนต้องต่อเนื่องราคาก็แพงขึ้นตาม

เครื่องเบญจรงค์ของปิ่นสุวรรณจะยึดลายโบราณเป็นหลักการพัฒนาลายอาจมีบ้างแต่ไม่ใช่เรื่องหลัก บางลายช่างจะตกแต่ง ให้ดูสวยงามอ่อนช้อยขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการประยุกต์และสานต่อ งานทางด้านศิลปะ หากได้รับความนิยมก็เท่ากับว่าเป็นงานใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคนี้และจะถูกสืบสานต่อไป

"เราไม่สามารถพัฒนาลายได้มากนัก เพราะลูกค้าจะสั่งงานตามลายต่างๆ ที่มีอยู่ หรือเอาของของเขาที่มีอยู่แล้วให้เราทำตามนั้น เช่น ลายเทพพนมนรสิงห์ ลายก้านขด ลายบัวเจ็ดสี ลายดอกรัก แต่เมื่อเราประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง ของบางชิ้นที่เราไม่เคยเห็นก็จะมีลูกค้าที่วางใจเอามาให้เราซ่อมแซม หรือเอามาให้ดู ทำให้เราได้ลายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเหมือนกัน อย่างเช่น ลายนกไม้พญาสุนทร ซึ่งเป็นงานสมัยรัตนโกสินทร์ ผมก็ไม่ค่อยจะได้เห็นบ่อยนัก"

วิรัตน์ชี้ไปที่งานชิ้นหนึ่งซึ่งมีลูกค้าเอามาให้ซ่อม แล้วเขาก็ให้ช่างถอดลายเก็บเอาไว้

สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือรูปทรงของเครื่องเบญจรงค์ที่มีรูปแบบการดีไซน์ทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้สอยจริงมากขึ้น

จากงานประเภท ถ้วยชาม แจกัน จานเชิง ถ้วยจิบน้ำชา โถ และผอบใบเล็ก กลายมาเป็นแบบของชุดน้ำชากาแฟ และชุดดินเนอร์ ซึ่งเป็นเซ็ตใหญ่ และกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน

ส่วนผอบใบเล็กใบน้อยสำหรับใส่แป้ง ลวดลายเก่าๆ ยังสามารถทำความนิยมได้ถึงปัจจุบันเช่นกัน ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมสั่งซื้อเป็นของฝาก และของสะสม

จากเวลาทำงาน 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น บางครั้งอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นทางโรงงานจึงจัดให้คนงานอีกกลุ่มหนึ่งมาทำต่อในช่วงเวลา 6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่มต่อด้วยเวลาเวลาวันเสาร์และอาทิตย์ด้วย

การสืบสานลายไทยให้เป็นมรดกตกทอดยังคงมีต่อไปอีกนานเท่านานด้วยฝีมือลูกหลานชาวอัมพวา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us