Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546
การโอนเงินที่ไร้ขีดจำกัด             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

รูปแบบการโอนเงินระหว่างธนาคาร

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
สายัณห์ ปริวัตร
Banking




ความซับซ้อนของการทำธุรกิจที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการชำระราคา รูปแบบการจ่ายเงินใหม่ๆ ได้ถูกคิดค้นขึ้นมา จึงทำให้แบงก์ชาติจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้

คงเป็นเรื่องที่เหนื่อยน่าดู หากคู่ค้าที่เป็นผู้ขายสินค้าใช้บัญชีธนาคารคนละธนาคารกับเรา เพราะเมื่อเราต้องการจะจ่ายเงินค่าสินค้าที่ซื้อมาเป็นเงินสด เราจำเป็นต้องเดินทางไปถอนเงินออกจากธนาคารของเรา แล้วเดินทางต่อไปยังธนาคารของคู่ค้า เพื่อนำเงินไปใส่ไว้ในบัญชีของเขา

หรือหากเมื่อเราสมัครเข้าไปทำงาน ในบริษัทที่ใช้บริการอยู่กับธนาคารกสิกรไทย เราจำเป็นต้องเปิดบัญชีไว้กับธนาคารกสิกรไทยเพื่อใช้เป็นบัญชีรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกบัญชีหนึ่ง ทั้งๆ ที่เรามีบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารไทยพาณิชย์อยู่แล้ว

ในขณะที่พัฒนาการทางเทคโนโลยี ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของระบบสถาบันการเงิน ทำให้หลายคนเคยคิดฝันไว้ว่าสักวันหนึ่ง คนเราสามารถมีบัญชีไว้กับธนาคารใดธนาคารหนึ่งเพียง 1 บัญชี ก็จะสามารถทำรายการได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการรับหรือจ่ายเงินออกเพื่อชำระค่าสินค้า และสาธารณูปโภค โดยวิธีการตัดตัวเลข โดยไม่จำเป็นต้องนำเงินสดออกมาถือไว้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้ถือเงินเอง

อย่างน้อยวิโรจน์ นวลแข กรรมการ ผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ก็คิดเช่นนี้ และกำลังพยายามพัฒนาระบบเทคโนโลยีภายในธนาคารให้สามารถไปถึงจุดดังกล่าว

ความคิดความฝันของวิโรจน์อาจตรงกับนายธนาคารอีกหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารซึ่งมีบทบาทเป็นผู้กำกับอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย

ระบบ SMART : System for Managing Automated Retail Funds Transfer จึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ให้ความฝันดังกล่าวกลายเป็นจริง

"SMART เป็นระบบโอนเงินรายย่อยที่ทำระหว่างธนาคาร ซึ่งเดิมแต่ละธนาคารก็มีให้บริการกับลูกค้าอยู่แล้ว แต่ทำภายในธนาคารเดียวกันเอง แต่ระบบนี้สามารถทำรายการข้ามธนาคารกันได้" สายัณห์ ปริวัตร ผู้อำนวยการอาวุโส สายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความหมายถึงระบบ SMART กับ "ผู้จัดการ"

SMART ถือเป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องมาจากระบบ BAHTNET : Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มนำมาใช้เมื่อปี 2538

แต่ BAHTNET เป็นระบบสำหรับใช้กับการโอนเงินรายใหญ่ที่มีมูลค่าสูง ขณะที่ SMART ได้ถูกออกแบบมาไว้สำหรับการโอนเงินที่มีวงเงินย่อยลงไป โดยจำกัดไว้ไม่เกินรายการละ 500,000 บาท

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาระบบ SMART มาตั้งแต่ปี 2540 โดยวางคอนเซ็ปต์ไว้ว่าการโอนเงินรายย่อย ระหว่างธนาคารจะสามารถทำได้ทั้งด้านเครดิตและเดบิต แต่ปัจจุบันระบบนี้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก เพราะสามารถทำได้เพียงด้านเครดิตด้านเดียวและการทำงานยังไม่เป็นลักษณะ Realtime เพราะต้องแจ้งการทำรายการล่วงหน้า 1-7 วัน และธุรกรรมที่สามารถทำผ่านระบบนี้ก็ถูกจำกัด ไว้เพียงแค่การสั่งจ่ายเงินเดือนพนักงาน การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เพียง 2 ธุรกรรมหลักเท่านั้น

โดยบริษัทสามารถจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานผ่านระบบ SMART โดยที่พนักงานไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีไว้กับธนาคารเดียว แต่สามารถจ่ายให้กับบัญชีธนาคารใดก็ได้ เช่นเดียวกับการจ่ายเงินปันผล ซึ่งบริษัทผู้จ่ายปันผลสามารถจ่ายผ่านระบบนี้ เงินปันผลก็จะเข้าไปในบัญชีของผู้ถือหุ้น โดยที่ไม่จำกัดธนาคารเช่นกัน

"เรากำลังขอให้ธนาคารเข้ามาช่วยทำในเรื่องเดบิต คือ การตัดเงินจากบัญชีของลูกค้า เพื่อนำมาชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าเบี้ยประกัน หรือค่าโทรศัพท์มือถือ แต่บางธนาคารยังไม่พร้อม เพราะอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีข้อเสีย รวมถึงเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีภายใน เพราะแม้ปัจจุบัน หลายธนาคารจะมีบริการให้ลูกค้าสามารถจ่ายค่าสาธารณูปโภคผ่านการตัดบัญชี แต่ก็ทำกันได้ภายในธนาคารเดียวกัน การสั่งตัดเงินข้ามธนาคาร ยังมีหลายแห่งที่ไม่มั่นใจ โดยเฉพาะเรื่องของระบบบัญชีที่แต่ละธนาคารมีรายละเอียดต่างกัน" สายัณห์กล่าว

ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีแนวคิดที่จะผลักดันให้ระบบ SMART เป็นการดำเนินงานกันเองระหว่างธนาคาร โดยอาจตั้งเป็นบริษัทกลางขึ้นมารับผิดชอบ เช่นเดียวกับระบบ ATM Pool

"ตอนนี้แต่ละธนาคารก็เริ่มมีการคุยกันบ้างแล้ว คิดว่าภายใน 2 ปี ระบบนี้น่าจะได้ข้อสรุป"

ซึ่งหากเป็นดังว่า ระบบ SMART ก็จะเข้ามาเสริมช่องว่างของการโอนเงินระหว่างธนาคาร ที่จะสามารถทำได้ในทุกขนาดของวงเงิน จากปัจจุบันที่การโอนเงินรายย่อยสามารถทำได้โดยผ่านเครือข่ายเครื่อง ATM ในระบบ ORFT : Online Retail Funds Transfer แต่ถูกจำกัดไว้ให้สามารถทำได้ในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท และการโอนเงินรายใหญ่ โดยผ่านระบบ BAHTNET

"แบงก์ชาติต้องเข้ามามีบทบาทดูแลเรื่องนี้ เพื่อปิดช่องว่างให้สถาบันการเงินสามารถโอนเงินข้ามกันเองได้ เหมือนมีสะพานเชื่อม เพราะธุรกิจทุกวันนี้มันขยายตัวมากขึ้น ระบบนี้จะเสริมให้การค้าขายสามารถโอนจ่ายเงินกันได้อย่างสะดวก คล่องตัว และปลอดภัยมากขึ้น"

ที่สำคัญ หากการโอนเงินระหว่างธนาคารสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัดแล้ว ในอนาคตการใช้เช็คและเงินสดก็จะลดปริมาณลงไปเองโดยปริยาย ซึ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถควบคุมปริมาณเงินในระบบได้ง่ายขึ้น และลดต้นทุนในการพิมพ์ธนบัตรในแต่ละปีลงไปได้อีกมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us