Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546
บัตรใบที่ 3 ในกระเป๋า             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

บทบาทของ Visa
ข้อมูลบุคคล สมบูรณ์ ครบธีรนนท์

   
www resources

โฮมเพจ วีซ่า

   
search resources

วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
สมบูรณ์ ครบธีรนนท์
Credit Card




เป้าหมายของ Visa ในประเทศไทย มิใช่เพียงแค่การขยายฐานลูกค้าผู้ถือบัตร แต่แท้จริงแล้วคือความพยายามในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยการใช้เงินสดให้น้อยที่สุด

ภาพยนตร์โฆษณาบัตรเครดิต Visa ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ว่า "ใบเดียวก็เกินพอ" อาจถูกมองว่าเป็นเพียงกลยุทธ์การตลาด สำหรับการขยายฐานลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิต Visa ให้มากขึ้น

แต่วัตถุประสงค์นี้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จุดมุ่งหมายหลักของ Visa ในการรุกทำการตลาด ทั้งสำหรับบัตรเครดิต Visa และบัตรเดบิต Visa Electron คือการปูพื้นฐานให้คนไทยเข้าใจถึงประโยชน์ของการจับจ่ายซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ที่ทั้งสะดวกและปลอดภัยกว่าการใช้เงินสด

"เราหวังไว้ว่าในอนาคตบัตรจะสามารถเข้าไปทดแทนการใช้เงินสดของคนได้ทั้งหมด" สมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีน บริษัท Visa International บอกกับ "ผู้จัดการ"

Visa เริ่มกลับมายิงโฆษณาทางโทรทัศน์อีกครั้ง ตั้งแต่ปี 2545 หลังจากหยุดกิจกรรมดังกล่าวไปถึง 3 ปี ด้วยผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เกิดหนี้เสียขึ้น กับลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตเป็นจำนวนมาก

โฆษณาทางโทรทัศน์ของ Visa ที่ยิงออกมาในปี 2545 มี 2 เวอร์ชั่น เวอร์ชั่นแรกใช้ชื่อ Dining Out โดยได้จางซิยี่ นางเอกสาวจากภาพยนตร์ Crouching Tiger, Hidden Dragon มานำแสดง โดยเธอจะเปลี่ยนเหตุการณ์ปกติภายในร้านอาหารและชำระเงินด้วยบัตร Visa ให้เป็นเรื่องไม่ธรรมดา

เวอร์ชั่นต่อมาใช้ชื่อ Going Out ซึ่งได้ลิฟ ไทเลอร์ นักแสดงสาวสวยจาก The Lord of the Rings มานำแสดงด้วยการนำเสนอการเตรียมตัวไปเที่ยวนอก บ้านเพื่อสื่อให้คนดูรู้สึกถึงความสะดวกในการใช้บัตร Visa เช่น ซื้อตั๋วภาพยนตร์หรือป๊อปคอร์น

ส่วนปีนี้ Visa ได้ยิงโฆษณาออกมาถึง 2 ชุดด้วยกัน ชุดแรกคือเรื่องตุ๊ก ตุ๊ก ที่ได้พระเอกจากเรื่อง เจมส์ บอนด์ 007 มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ส่วนชุดที่ 2 คือชุดอสูรกาย ที่กำลังแพร่ภาพอยู่ในช่วงนี้

"มองโดยทั่วไป ดูเหมือนเราจะโหมทำการตลาดมากในปีนี้ เพราะมีโฆษณาทางโทรทัศน์ออกมาถึง 2 ชุด แต่วัตถุประสงค์ของเราไม่ใช่เพื่อต้องการขยายฐานผู้ถือบัตร แต่เป็นเรื่องการกระตุ้นตรา สินค้าให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทำมาอย่างต่อเนื่อง" สมบูรณ์อธิบาย

บทบาทของ Visa คือผู้ให้บริการระบบการชำระเงิน จึงไม่มีหน้าที่เป็นผู้ออกบัตร หน้าที่ดังกล่าวเป็นของสถาบันการเงิน ที่เป็นสมาชิกของ Visa ซึ่งในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 19 แห่ง (รายละเอียด อ่าน "บทบาทของ Visa")

และด้วยภาวะของธุรกิจบัตรเครดิต ที่กลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้สถาบันการเงินทั้ง 19 แห่ง ต่างก็ออกแคมเปญโฆษณามาอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งหากมองในมุมนี้ ทำให้หลายคนสามารถคิดไปได้ว่าด้วยบทบาทของ Visa เองไม่มีความจำเป็นต้องโหมทำโฆษณาแต่อย่างใด เพราะมีเครือข่ายสถาบันการเงิน สมาชิกที่ทำให้อยู่แล้ว

"เราต้องทำร่วมกัน เพราะหน้าที่ของ Visa คือการบริหารตราสินค้า และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในระบบการชำระเงิน แต่ที่สำคัญคือวัตถุประสงค์ของเรา ซึ่งต้องการจะให้บัตร Visa เข้าไปมีบทบาทในการทดแทนการใช้เงินสด เราจึงจำเป็นต้องสื่อความกับผู้บริโภคให้มีความรู้ และมองเห็นประโยชน์ของการชำระเงินโดยผ่านบัตรที่มีมากกว่าการใช้เงินสด"

ความสำเร็จของ Visa ทั่วโลก วัดจากความสามารถที่จะเข้าไปแทนที่การใช้เงินสดและเช็คของผู้บริโภค ดังนั้นกิจกรรมทางการตลาดที่เริ่มกลับมาทำอย่างจริงจังอีกครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เรื่องบทบาทของบัตรชำระเงินต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

เนื้อความที่ Visa พยายามสื่อออกมาในช่วงนี้จึงแตกต่างจากในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง เพราะในช่วงนั้นเนื้อความจะเน้นหนักไปในเรื่องของความฟุ่มเฟือยเป็นหลัก

สมบูรณ์มองว่าด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมา ทำให้ความจำเป็นในการใช้เงินสด ไม่ว่าในการทำธุรกิจหรือในชีวิตประจำวันจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคที่ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมากแล้ว ยังเป็นการประหยัดต้นทุนของภาครัฐที่จะต้องพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้นทุกปี

มีการประมาณกันว่า ปัจจุบันคนไทยมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันรวมกันแล้วประมาณปีละ 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่ง Visa ได้เข้าไปมีบทบาทในการทดแทนเงินสดได้เพียง 4% ของวงเงินดังกล่าวคือประมาณ 1.32 แสน ล้านบาท

"เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าในอีก 2-3 ปี เราจะเพิ่มบทบาทจากเดิม 4% ขึ้นเป็น 6%"

ซึ่งหากยึดจากฐานตัวเลขเดิม ยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคผ่านบัตรวีซ่า จะต้องเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 1.98 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอีกปีละ 6.6 หมื่นล้านบาทจากในปัจจุบัน

ขณะเดียวกันจากตัวเลขประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 60 กว่าล้านคน มีจำนวนบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินต่างๆ ออกมาเพียง 3 ล้านกว่าใบ และบัตรเดบิตอีกประมาณ 5 ล้านกว่าใบ

แสดงให้เห็นถึงโอกาสการขยายตัวของจำนวนบัตรเครดิตและเดบิตในประเทศไทยยังมีอยู่อีกมาก

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา Visa International ประเทศไทย ได้จัดประชุมให้ความรู้แก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งเป็นการนำข้อมูลและสถานการณ์ การแข่งขันของธุรกิจนี้มาบอกเล่าโดยละเอียด

ถือเป็นครั้งแรกที่ Visa มีการจัดประชุมในลักษณะนี้

"การให้ความรู้กับสื่อมวลชน ก็ถือเป็นก้าวแรกสำหรับการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เพราะถ้าสื่อสามารถเข้าใจธุรกิจนี้ โดยถ่องแท้ก็จะสามารถนำเสนอเรื่องราว ของธุรกิจนี้ได้อย่างถูกต้อง"

แนวทางในการทำตลาดของ Visa ในช่วงหลังจากนี้ก็จะยิ่งเน้นในประเด็นนี้อย่างเข้มข้นขึ้น

ในอนาคตอันใกล้คนไทยจำเป็นต้องพกบัตรชำระเงินติดไว้ในกระเป๋าเป็นบัตรใบที่ 3 ถัดจากบัตรประชาชน และบัตรเอทีเอ็ม

และในอนาคตถัดไป บัตรเอทีเอ็มในกระเป๋าก็อาจจะต้องถูกยกเลิกไป เหลือแค่บัตรประชาชน และบัตรชำระเงิน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us