Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546
สะพานสู่สันติภาพ             
 

   
related stories

มูลนิธิสันติภาพนานาชาติ (International Peace Foundation)
งานที่จะจัดขึ้นภายในปี 2546

   
search resources

มูลนิธิสันติภาพนานาชาติ - International Peace Foundation : IPF
อานันท์ ปันยารชุน
อูเวอ มอราเวทซ์




หลังผ่านพ้นการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย-แปซิฟิก (Apec Summit) ไปแล้ว ประเทศไทยกำลังจะได้เป็นเจ้าภาพงานใหญ่ และสำคัญอีกงานหนึ่ง นั่นคืองาน "สานสัมพันธ์สู่สันติวัฒนธรรม" (Bridges : Dialogues Towards a Cultural of Peace) ซึ่งจัดโดยมูลนิธิสันติภาพนานาชาติ (Inter-national Peace Foundation : IPF) ร่วมกับสถาบันต่างๆ ในไทยอีกหลายสถาบัน

งานสานสัมพันธ์สู่สันติวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ "ทศวรรษแห่งสันติวัฒนธรรมและสันติวิธี" เป็นเวทีอิสระ ที่บุคคลสำคัญจากหลายสาขาอาชีพและชนชาติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และสื่อมวลชน รวมถึงผู้สนใจทั่วไป สามารถแสดงความคิดเห็น กำหนดแนวทางหรือข้อเรียกร้องสำหรับรัฐบาล สหภาพยุโรป และองค์กรสหประชาชาติ

โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 ได้มีการแถลงข่าวการจัดงานนี้ขึ้น ณ โรงแรมดุสิตธานี โดยมีอานันท์ ปันยารชุน ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาไทย และอูเวอ มอราเวทซ์ (Uwe Morawetz) ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิ เป็นผู้กล่าวแนะนำโครงการ

งานสานสัมพันธ์สู่สันติวัฒนธรรม ประกอบไปด้วยการบรรยาย การสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และศิลปะการแสดง ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2546 ถึงเดือนเมษายน 2547 ก่อนที่จะหยุดพักเพื่อตีพิมพ์ผลการประชุมและประเมินผลเป็นเวลา 6 เดือน และจะเริ่มงานอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงเดือนเมษายน 2548 นับเป็นการจัดงานที่จัดอย่างต่อเนื่องยาวนานอีกงานหนึ่ง

นอกจากนี้ การจัดงานครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่จัดให้มีขึ้นนอกทวีปยุโรป โดยก่อนหน้านี้งานนี้เคยจัดที่เวียนนา และเบอร์ลิน และยังเป็นงานแรกสำหรับประเทศไทยที่มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ มาร่วมงานมากที่สุด

อูเวอ มอราเวทซ์ กล่าวถึงเหตุผลที่ประเทศไทยได้รับเลือก ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ว่า เป็นเพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รักสงบและไม่นิยมใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะนำไปสู่สันติภาพ เหมาะที่จะเป็นแม่แบบในการประนีประนอมและยุติความขัดแย้งต่างๆ

จุดประสงค์ของการจัดงานก็เพื่อร่วมกันส่งเสริม ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ผ่านกิจกรรมอันหลากหลาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสันติภาพเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม

โดยภายในงานจะเปิดตัวด้วยการแสดงปาฐกถา โดยสาธุคุณเจสซี แอล แจ็คสัน (The Reverend Jesse Louis Jackson) ในหัวข้อ "สหรัฐฯ หลังสงครามอิรัก สหรัฐฯ จะเป็นผู้ผลักดันให้ เกิดสันติภาพได้หรือไม่?" ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ณ หอ ประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากนี้ในวันที่ 14 มกราคม 2547 ศาสตราจารย์มาร์เซีย ไฮเด (Prof.Marcia Haydee) ผู้กำกับคณะบัลเลต์สตุ๊ท การ์ท และอิสมาเอล อีโว (Ismael Ivo) นักเต้นรำแนวร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงเชื้อสายแอฟริกัน-บราซิลเลียน จะเปิดการแสดงร่วมกันเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

Marcia และ Ismael ได้เล่าให้ฟังว่า "ในการเต้นรำ เราต้องคอยดูจังหวะของอีกคนหนึ่ง เพื่อให้การเต้นรำเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เปรียบกับการพูดคุย เมื่อมีคนพูด เราต้องฟัง การพูดคุยนั้นจึงจะเป็นการสนทนาอย่างแท้จริง (dialogues) ซึ่งทั้งการเต้นรำ และการสนทนาถือเป็นหนึ่งในวิถีที่สามารถนำไปสู่สันติภาพได้เป็นอย่างดี"

ถึงแม้ว่าสันติภาพจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดในระยะเวลา 2 ปีต่อจากนี้ ถือเป็นการปลูกฝังเรื่องสันติภาพให้ฝังรากลึกลงไปในสังคมไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us