Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
RCL ออกหุ้นกู้ ผ่อนลมหายใจสบายไปอีก 5 ปี             
 


   
search resources

อาร์ ซี แอล, บมจ.
สุเมธ ตันธุวนิตย์




การจัดโครงสร้างทางการเงินเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับกิจการทุกแห่งในไทยเวลานี้ ต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจกันถ้วนหน้า ไม่ใช่เฉพาะแต่กิจการที่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น แม้กิจการที่ยังมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ ก็จำเป็นที่จะต้องจัดตารางการชำระเงินใหม่ (re-schedule) เพื่อให้เม็ดเงินชำระหนี้สอดคล้องกับรายได้ที่เกิดขึ้น และมีกระแสเงินสดเพียงพอไว้ใช้ในการดำเนินงาน

บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับขนส่งสินค้าทางทะเลในระบบตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ไม่มีปัญหาเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ แต่จำเป็นที่จะต้องเจรจากับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ 7 รายในสิงคโปร์เพื่อปรับตารางการชำระหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระในช่วงปีพ.ศ. 2543-2545 ซึ่งได้แก่ ABN AMRO, Keppel Tatlee, DBS, Commerce Bank, Deutsch Bank AG, Hong Kong & Shanghai Bank และ Denorse Bank โดยสี่แบงก์แรกได้มีการเซ็นสัญญายอม รับการปรับตารางการชำระหนี้เรียบร้อยแล้วในวงเงินประมาณ 120 ล้านเหรียญฯ ส่วนสามแบงก์หลังเซ็นสัญญาร่วมรับรู้ เพราะมูลหนี้เกือบ 100 ล้านเหรียญยังไม่ถึงกำหนดชำระ

ทัศนัย จันทรางกูร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ ซี แอล เปิดเผยว่า "บริษัทฯ ได้ขอปรับตารางการชำระเงินรวม 5 ยอดโดยขอทำการยืดออกไป 2-3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับราย ได้ที่จะเกิดขึ้น และไม่ให้เกิดสภาพ cash short fall"

เมื่อปรับตารางการชำระเงินเสร็จ เรียบร้อย บริษัทจะมีภาระการจ่ายหนี้ปีละประมาณ 60 ล้านเหรียญ ขณะที่รายรับของบริษัทคาดว่าจะได้ประมาณ 60 ล้านเหรียญ ซึ่งเท่ากับ match กันพอ ดี แต่กระนั้น บริษัทจะมีเงินสดในมือที่เกิดจากการออกหุ้นกู้และกำไรที่ได้จากการดำเนินงานประมาณ 50 ล้านเหรียญ

บริษัทฯ กำลังดำเนินการออกหุ้น กู้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีประกัน มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท และมีจำนวนหนึ่งที่ออกในลักษณะ green shoe อีก 400 ล้านบาท รวม 1,400 ล้านบาท มีกำหนดระยะเวลาชำระคืน 5 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยคงที่สำหรับ 3 ปีแรก ระหว่าง 8.375% ถึง 9.125% ส่วนอีก 2 ปี ถัดไปเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว MLR ถึง MLR+0.75% มีกำหนดเวลาจ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน

เม็ดเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ครั้งนี้ส่วนใหญ่จะนำไปชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมบางส่วน ที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องและรองรับการขยายงานของธุรกิจ ทั้งนี้บริษัทฯ มีหนี้อยู่ประมาณ 310 ล้านเหรียญ หลัง จากที่ทยอยชำระหนี้ไปปีละ 60 ล้านเหรียญ ในปี ค.ศ. 2003 บริษัทจะมีหนี้ลดลงเหลือประมาณ 140 ล้านเหรียญ ขณะที่มีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 280 ล้าน เหรียญ และอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt equity ratio) จะเท่ากับ 0.5

ด้านผลการดำเนินงาน บริษัทยังคงมีกำไรจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลกำไร (EBITDA) ปีละ 54 ล้านเหรียญ ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 3 ปี และคาดว่าปีนี้จะมีผลกำไร EBITDA มากกว่านี้ โดยทัศนัยเปิดเผยว่า "ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 1999 นี้เราก็มีกำไรรวม 30 ล้านเหรียญแล้ว ขณะที่ปริมาณการขนส่งในไตรมาสสามปีนี้สูงกว่าไตรมาสสามปีที่แล้วถึง 24% คาดว่าในไตรมาสสุดท้ายจะดีกว่านี้มาก เพราะ แนวโน้มการขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มสูง มากเนื่องจากผู้ผลิตเร่งขนส่งสินค้าให้เสร็จก่อนสิ้นปีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Y2K"

ทั้งนี้ บริษัทแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน เพราะเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 ทำ ให้เกิดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งบริษัทจะค่อยๆ ทยอยตัดขาดทุนในแต่ละปีไป

ตลาดการดำเนินงานส่วนใหญ่ของอาร์ ซี แอล อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ในลักษณะ intra-regional ซึ่งมีปริมาณสินค้าที่ขนกันในตลาดนี้ราว 30% ของโลก สิงคโปร์ถือเป็นท่าเรือใหญ่สุดในการ ขนส่งสินค้าในภูมิภาค ต่อมา มาเลเซียเสนอตัวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญ และมีการลดราคาลงมาก สิงคโปร์จึงจำเป็นต้องลดราคาลงมาเพื่อรักษาสถานะความ เป็นผู้นำ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ก็เป็นผลดีต่อธุรกิจเดินเรือที่ทำให้มีต้นทุนการดำเนินงานต่ำลง และมีการขนส่งสินค้าปริมาณสูงมากขึ้น

ในภาวะที่ประเทศในเอเชียเริ่มมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ มีการประมาณการว่าในปี ค.ศ. 2003 จะมีสินค้าที่ขนส่งกันในเอเชียถึง 10 ล้าน ตู้คอนเทนเนอร์ เทียบกับปัจจุบันมีอยู่ 7 ล้านตู้ฯ เท่านั้น สุเมธ ตันธุวนิตย์ กรรมการผู้จัดการ อาร์ ซี แอล กล่าวว่า "หมาย ความว่าตลาดเอเชียกำลังโตขึ้นเรื่อยๆ ดีมานด์มีเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันในส่วนของซัปพลายเรือที่จะใช้ขนส่ง ปรากฏว่ามีการต่อเรือขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่าความจุ 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์) เพิ่ม สูงมาก แสดงว่าเรือประเภทนี้จะเข้ามาให้บริการมากขึ้น"

ในส่วนของดีมานด์จากกลุ่มลูกค้านั้น มีการแยกลูกค้าออกเป็น 2 ประเภทคือ SOC (Shipper-owned-containers) หรือกลุ่มที่ตู้คอนเทนเนอร์เป็นของผู้ส่งออก และ COC (Carrier-owned-containers) หรือกลุ่มที่ตู้คอนเทนเนอร์เป็นผู้ขนส่ง ซึ่งปรากฏว่าในปี 1998 อาร์ ซี แอลมีลูกค้าที่เป็น SOC 77% ส่วนลูกค้าที่เป็น COC นั้นมี 23% ส่วนปี 1999 ในช่วงสามไตรมาสที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีลูกค้า SOC 71% ส่วน COC โตขึ้นเป็น 29% ซึ่งเป็นการสนับสนุนว่ากลุ่มลูกค้าในภูมิภาคมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก สะท้อนภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวจริง

ลูกค้าในกลุ่ม COC ของอาร์ ซี แอล ได้แก่ เนสท์เล่, โซนี่, โตโยต้า, ฟิลิปส์ เป็นต้น

สุเมธกล่าวถึงจุดแข็งของบริษัทว่า "เราเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคนี้อยู่ในปัจจุบัน มีลูกค้าประจำในกลุ่ม SOC คือพวก global operator ตลาดการขนส่งภายในภูมิภาคก็มีอัตราโตวันโตคืนดียิ่ง บริษัทมีเครือข่ายที่กว้างขวาง มีความถี่ของการให้บริการสูง ในแต่ละท่านั้นบริษัทมีการออกเรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง บางท่ามากกว่า 3-4 ครั้ง นอกจากนี้กองเรือของบริษัทก็มีอายุน้อยมากด้วย"

อาร์ ซี แอล เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มโหงวฮก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจตัวแทนเรือ (shipping agent) และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทั้งทางบกและทางทะเล อาทิ ธุรกิจคลังสินค้า และลานพักตู้คอนเทนเนอร์ มานานเกือบ 70 ปี ในปัจจุบันกลุ่มโหงวฮก ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นประมาณ 28.7% บริษัทมีเครือข่ายการให้บริการการขนส่งสินค้าที่กว้างขวาง และเป็นบริษัทที่ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลในระบบตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย (the largest regional container feeder operator in Asia) มีเรือที่ใช้บริการขนส่งสินค้าจำนวน 32 ลำ ให้บริการครอบคลุม 48 เมืองท่าใน 17 ประเทศทั่วเอเชีย และบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาคนี้ 25%

กองเรือของกลุ่มมีอายุเฉลี่ยประมาณ 8 ปี ซึ่งถือว่าใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของเรือซึ่งคือประมาณ 25 ปี บริษัทจึงมีภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาค่อนข้าง ต่ำ และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการสูง นอกจากนี้บริษัทเพิ่งจะมีการลงทุนในการซื้อเรือใหม่จำนวน 2 ลำในปีก่อน จึงไม่มีโครงการที่จะลงทุนเพิ่มเติมในระยะเวลาอันใกล้นี้

สุเมธกล่าวทิ้งท้ายว่า "จากนี้ไปอีก 4 ปี เมื่อบริษัทสามารถจ่ายคืนเงินกู้ที่กู้มาซื้อเรือได้ตามโปรแกรมที่วางไว้ จะทำให้อัตราส่วนเงินกู้กับเงินทุนของเราดีขึ้นมากๆ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us