Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
เอกวานิช ยึดธุรกิจโรงแรม             
 

   
related stories

ธุรกิจเก่าภูเก็ต เติบโตใต้ขีดจำกัด
100 ปี เกาะภูเก็ต จากยุคเหมืองแร่ สวนยาง สู่การท่องเที่ยว

   
search resources

เอกวานิชและพี่น้อง
โสภณ เอกวานิช
Hotels & Lodgings




อีกหนึ่งตระกูลเก่าบนเกาะภูเก็ตที่มีวิถีชีวิตแตกต่างจากตระกูลอื่น กระจายตัว แย่งมรดก แยกธุรกิจออกจากกันเมื่อ 20 ปี ภายใต้ฐานธุรกิจ ท่องเที่ยว อันสามารถรักษาธุรกิจต่อไปได้ ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติร้ายแรง เพียงใด

ระกูลเอกวานิช" เริ่มต้นตระกูล และธุรกิจจาก "ก๋วน แซ่ตั้ง"ชาว จีนหนุ่มโสด แผ่นดินใหญ่จากมณฑลฮกเกี้ยนหอบเสื่อผืนหมอนใบข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาตั้งรกรากที่ภูเก็ตเมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้ว ก๋วนเริ่มทำงานครั้งแรกใน ภูเก็ตด้วยการเป็นลูกจ้างในเหมืองแร่ของชาวจีนด้วยกัน

หลังจากเป็นลูกจ้างในเหมืองแร่พอ มีประสบการณ์และเก็บเงินได้มากพอสมควรที่จะออกมาทำธุรกิจของตนเองได้ ก๋วนจึงได้ผันตัวเองจากลูกจ้างเหมืองแร่ มา ขอสัมปทานทำเหมืองแร่ของตนเองที่บริเวณ บ้านลักกงสี (ซอยสวนผัก หลังโรงเรียนประสาท ในปัจจุบัน) อยู่ใกล้ๆกับเหมืองของ ตระกูลหงษ์หยก ทำเหมืองแร่ของตนเองเหมืองแรกจนประสบความสำเร็จ ได้ขยายเหมืองแร่เพิ่มที่บริเวณบ้านสามกองอีกหนึ่ง เหมือง และได้แต่งงานกับสาวชาวพังงา มีลูกด้วยกัน 1 คน ชื่อนายโท แซ่ตั้ง

หลังจากที่นายโทเติบโตเป็นหนุ่ม ได้ เข้ามาช่วยกิจการเหมืองแร่ของครอบครัวจน เจริญขึ้นเรื่อยๆ และได้ขยายกิจการออกไป โดยการพลิกที่ดินที่ร้างจากการทำเหมืองแร่ และที่ดินที่อยู่สูงเป็นเนินไม่สามารถทำ เหมืองแร่ได้ มาปลูกยางพาราประมาณ 300 ไร่ ในที่ดินสัมปทานเหมืองแร่ และได้แต่งงานกับสาวภูเก็ตมีลูกด้วยกัน 6 คน ทำ เหมืองแร่มาเรื่อยๆ และได้ก่อตั้งบริษัท "บ่านเส่งลอง"ขึ้นมาบริหารธุรกิจเหมืองแร่และสวนยางพาราของตระกูลเอกวานิช จนลูกๆ สามารถทำงานช่วยเหลือกิจการของครอบครัว ได้ขยายกิจการเหมืองแร่ไปยังอำเภอท้ายเหมือง จ.พังงา,ตรัง,ระนอง หาดใหญ่ และขยายกิจการสวนยางพาราไปยังจังหวัด กระบี่

นอกจากกิจการเหมืองแร่แล้ว ตระกูลเอกวานิช ในสมัยนั้นยังได้ขยายกิจการออกไปอีกมากมายเช่นเดียวกับตระกูลอื่นๆ เช่น ตั้งโรงเลื่อยที่อำเภอท้ายเหมือง จ.พังงา โรงน้ำแข็งที่จ.ภูเก็ต และสงขลา ในนามบริษัท ประมงวิชิต จำกัด รวมทั้งขยายไปทำสวนมะพร้าว ที่จ.สงขลา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอกวานิชและพี่น้อง จำกัด บริหารกิจการทุกอย่างของ ตระกูลเอกวานิช

ธุรกิจของตระกูลเอกวานิช ดำเนินมาเรื่อยๆ และถ่ายโอนอำนาจการบริหารให้กับทายาทรุ่นต่อๆมา ในการทำกิจการเหมืองแร่และสวนยางพารา จนหมดยุค เหมืองแร่ แร่ดีบุกราคาตกต่ำ การท่องเที่ยว เข้ามาแทนที่ ที่ดินรกร้างจากการทำเหมืองแร่มีค่าดุจทองคำ การขยายกิจการออกไปทำธุรกิจอื่นๆ เป็นสิ่งที่ทุกตระกูลเก่าในภูเก็ต ต้องรีบฉกฉวย

ขณะนี้ทายาทของตระกูลเอกวานิช มีไม่ต่ำกว่า 200 คน ออกไปทำธุรกิจของตน เองกันเกือบทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านขายหนังสือ ร้านจำหน่ายจิวเวลรี่ จำหน่ายโทรศัพท์มือถือ และพัฒนา ที่ดินทั้งในภูเก็ตและกรุงเทพ ฯ

กล่าวได้ว่า ณ เวลานี้ กิจการเก่าแก่ ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างฐานะที่เหลืออยู่ในกงสีของตระกูลเอกวานิช ภายใต้การบริหารงาน ของบริษัทเอกวานิชและพี่น้องมีเพียงสวนยางพารา และโรงน้ำแข็ง ในนามของบริษัทประมงวิชิตเท่านั้น

แม้ว่าบรรพบุรุษของตระกูลเอกวานิชจะแบ่งมรดกให้ทายาทตามความเหมาะสม ทายาทตระกูลเอกวานิชที่รับช่วงมรดกได้มีการปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจจากกิจการเหมืองแร่ และสวนยางพารา เข้าสู่ยุคการท่องเที่ยวรุ่งเรือง เฉกเช่นเดียวกับตระกูลอื่นๆ บนเกาะภูเก็ต ที่ใช้ความได้เปรียบที่มีที่ดินจำนวนมากเป็นของตนเอง ชิงความได้เปรียบในการบุกเข้าสู่ธุรกิจการท่องเที่ยว

จากสายตาที่ยาวไกลของคนในตระกูลเอกวานิช มองเห็นศักยภาพการลงทุนด้านการท่องเที่ยวของเกาะภูเก็ต ทายาท เอกวานิช จึงได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจการท่องเที่ยว อย่างเต็มตัว โดยการลงทุนหลายร้อยล้านบาท ขึ้นโรงแรมระดับสี่ดาว บนพื้นที่ริมเขา หาดป่าตองกว่า 40 ไร่ ชื่อโรงแรม ไดมอนด์ คลิฟ รีสอร์ท จำนวน 220 ห้อง และโรงแรม บ้านสุโขทัย ริมหาดป่าตองอีก 180 ห้อง และ โรงแรมอื่นๆ อีกมากมาย หากรวมโรงแรมที่ลงทุนโดยทายาทตระกูลเอกวานิชบนเกาะภูเก็ตตอนนี้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ห้อง

และในปี 2534 ทายาทตระกูลเอกวานิชยังได้พลิกพื้นที่สวนยางพาราขยายการ ลงทุนก่อสร้าง"อุทยานอาหารไทนาน" ซึ่งเป็น อุทยานอาหารที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะภูเก็ต บน พื้นที่ 62 ไร่ บริเวณสี่แยกถนนวิชิตสงคราม ทางไปหาดป่าตอง เป็นอาคารทั้งหมด 6 หลัง ทำด้วยไม้สักทั้งหมด เพราะเห็นว่าภูเก็ตเป็น เมืองท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหารน่าจะมีอนาคตสดใส ซึ่งก็เป็นจริงตามความคาดหมาย เพราะขณะนี้อุทยานอาหารไทนาน ได้รับความสนใจจากลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก

ภายในภาวะที่การท่องเที่ยวของเกาะภูเก็ตได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ทั่วโลก มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก ธุรกิจโรงแรมของทายาทตะกูลเอกวานิช ย่อมที่จะได้รับอานิสงส์เช่นเดียวกับโรงแรม อื่นๆบนหาดป่าตอง เมื่อปี 2539 ผู้บริหารโรงแรมไดมอนด์จึงได้ตัดสินใจลงทุนขยาย โรงแรมออกไปอีกและยกระดับโรงแรมให้เป็นโรงแรมระดับห้าดาวบนหาดป่าตอง เพื่อ รองรับนักท่องเที่ยวในระดับที่สูงขึ้น

ทายาทเอกวานิช ทุ่มทุนอีก 470 ล้าน บาท เพิ่มห้องพัก อีก 110 ห้อง ทำให้ ไดมอนด์ คลิฟ รีสอร์ท มีห้องพักทั้งหมด ขณะนี้ 330 ห้อง

โสภณ เอกวานิช ประธานบริหารบริษัท เอกวานิชและพี่น้อง จำกัด หนึ่งในผู้ บริหารโรงแรมไดมอนด์ คลิฟ รีสอร์ท เล่าให้ฟังว่า ตามแผนที่วางไว้กลุ่มทายาทตระกูลเอกวานิชที่บริหารโรงแรมไดมอนด์ คลิฟ รีสอร์ท จะลงทุนขยายโรงแรมออกไปอีก 100 กว่าห้อง และยกระดับให้เป็นโรงแรมระดับห้าดาว ใช้เงินลงทุน 470 ล้านบาท พร้อมกับการขยายการลงทุนด้าน โรงแรมอีกหนึ่งแห่ง ซึ่งตามแผนที่วางไว้จะเปิดโรงแรมใหม่ที่บริเวณริมหาดกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต จำนวน 350 ห้อง ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,200 ล้านบาท เพราะมีที่ดินอยู่แล้วประมาณ 60 ไร่ คาดว่าจะเริ่มลง มือก่อสร้างในปี 2539 และจะเร่งให้เสร็จเปิดรับนักท่องเที่ยวไฮซีซั่นปีนี้ ซึ่งตอนนั้นธนาคารพร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อให้ แต่เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำธนาคารให้มีการประเมินโครงการใหม่ ทำให้โครงการต้องชะลอมาจนถึงขณะนี้ก็ไม่สามารถหาเงินกู้มาลงทุนได้

เท่าที่คุยกับธนาคารคงจะไม่ต่ำกว่า 2 ปี ธนาคารจึงจะกล้าปล่อยสินเชื่อให้ ทำให้เสียโอกาสในการทำธุรกิจโรงแรม ในภาวะที่การท่องเที่ยวของภูเก็ตกำลังบูมมากๆ ห้องพักที่มีอยู่ตามริมหาดไม่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยว

ตอนนั้นได้ลงทุนในการจ้างบริษัทเขียนแบบแปลนและปรับพื้นที่ ถนน และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไปแล้วหลายสิบล้านบาท ถึงตอนนี้โครงการก็ไม่ได้ลงทุนเพิ่ม กลับต้องมารับภาระจ่ายดอกเบี้ยอยู่ทุกเดือน

โสภณบอกว่าแม้โดยภาพรวมแล้ว พิษเศรษฐกิจตกต่ำจะไม่กระทบกับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้วมากนัก จากที่ธุรกิจส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องอยู่ในวงการท่องเที่ยวเกือบ ทั้งหมดก็ตาม เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำการท่องเที่ยวของภูเก็ตบูมมากๆ นักท่อง เที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถที่ จะขยายกิจการเพิ่มขึ้นได้ทั้งๆที่มีตลาดรอง รับอยู่แล้ว อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพราะการ ก่อสร้างโรงแรมได้กู้เงินมาจากต่างประเทศ เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น ต้องแบกรับต้นทุนดอกเบี้ยที่ เพิ่มขึ้นเท่าตัวโดยภาวะจำยอม

ในส่วนของโรงแรมที่เปิดดำเนินการ อยู่แล้ว แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วจะไม่ได้รับผลกระทบมากเหมือนที่อื่นๆ แต่ก็ทำให้กำไร ลดลงไม่ต่ำกว่า 20% จากปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นในปี 2541 ก็ได้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอีก 10% ในปีนี้ ทำให้เสมอตัวพอประคองธุรกิจอยู่ได้

แม้ว่าธุรกิจของทายาทตระกูลเอกวานิชจะกระจายอยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยวเกือบจะทั้งหมด ไม่เจ็บตัวมากนักในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ แต่เราก็ไม่ได้ประมาท มีการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อประคับประคองให้รายได้พอกับรายจ่าย รวมทั้งมีความรอบคอบในการขยายการลงทุนออกไปในช่วงนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us