Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533
ซัมซุง กรุ๊ป เตรียมผงาดติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก             
 


   
search resources

Electronic Components
ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์, บจก.




แม้ ลี บยุง-ซุล ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทซัมซุงแห่งเกาหลีใต้จะเสียชีวิตไปแล้วถึง 3 ปี แต่หลักการบริหารงานที่เขาใช้สร้างกิจการจากธุรกิจขนาดใหญ่ยังดำรงอยู่ทุกวันนี้ ลี คุน-ฮี บุตรชายคนที่สามของเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการของกลุ่มบริษัทแทน หลังจากที่ผ่านการทดสอบจากบิดาแล้วว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งมากกว่าพี่ชายทั้งสอง ภาระหน้าที่อันหนักหน่วงของคุน-ฮี ประกาศว่า "ทศวรรษใหม่นี้ เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นหนึ่งในสิบบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ด้วยแล้ว จังหวะก้าวของซัมซุงย่อมต้องมีความหมายชวนติดตาม อยู่ไม่น้อย

เครือข่ายธุรกิจของซัมซุงในปัจจุบันครอบคลุมตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, โรงแรม, ประกันชีวิต, อุตสาหกรรมหนัก, เวชภัณฑ์และสิ่งพิมพ์ ปีที่แล้วยอดรายได้รวมของกลุ่มสูงถึง 35,000 ล้านดอลลาร์ นับเป็นกลุ่มบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ และเป็นบริษัท ที่ไม่ใช่บริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งก็หมายความว่า ซัมซุงสามารถมองข้ามกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมสัญชาติอย่างฮุนได, แดวูและลัคกี้ โกลด์สตาร์ และตั้งเป้าหมายไปที่คู่แข่งระดับมิตซูบิชิกับโตชิบา บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นที่เคยเป็นต้นแบบ และแรงจูงใจสำคัญให้ซัมซุงขยายกิจการอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1980

แต่แม้คำประกาศของผู้นำนาวาธุรกิจซัมซุงจะเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความท้าทาย ทั้งคุน-ฮี เองก็หนักแน่น เต็มใจสุ่มเสี่ยงกับขวากหนามและอุปสรรคอย่างไม่หวาดเกรง ก็ใช่ว่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการก้าวกระโดดสู่เวทีธุรกิจโลก

เมื่อมองอย่างผิวเผิน ขนาดของกลุ่มธุรกิจซัมซุงนั้นยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับคำประกาศที่ท้าทายข้างต้น นิตยสารธุรกิจฟอร์จูนเองจัดให้ซัมซุงเป็นบริษัทอันดับที่ 20 ของ 500 บริษัทชั้นนำของโลกโดยพิจารณาจากยอดขายเป็นหลัก แต่เมื่อแยกพิจารณาบริษัทย่อยๆ ในเครือแล้ว จะพบภาพที่แตกต่างออกไป ตัวอย่างเช่นยอดขายในปี 1989 ของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกิจการหลักที่ผลิตเพื่อส่งออกนั้นสูงเพียง 6,000 ล้านดอลลาร์เทียบกับยอดขายของฮิตาชิที่ 51,000 ล้านดอลลาร์และมัตสุชิตะที่ 43,000 ล้านดอลลาร์ ชนิดคนละทิศทีเดียว นี่เท่ากับว่าซัมซุงนั้นยังอยู่ห่างไกลจากคู่แข่งญี่ปุ่นอยู่หลายขุม หนำซ้ำยังเดินรอยตามในหลายจุดด้วยกัน

ประการแรกซัมซุงยังต้องแข่งขันกับบริษัทญี่ปุ่นในด้านชื่อเสียของการผลิตสินค้าคุณภาพสูง ปัจจุบันรายได้หลักจากการส่งออกของซัมซุง มาจากสินค้าในตลาดล่างมี่มีส่วนต่างกำไรต่ำ อย่างเช่นโทรทัศน์, วีซีอาร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งมักแข่งกันในแง่ราคามากกว่า

ประการที่สองสินค้าส่งออกในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อการอุโภคราว 40% จำหน่ายโดยไม่ผนึกยี่ห้อของซัมซุง แต่ลูกค้าที่ซื้อไปจะรับไปติดป้ายยี่ห้อของตนเองก่อนจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง เนื่องจากภาพลักษณ์ของซัมซุงในตลาดนอกเอเซียนั้นไม่ดีเท่าที่ควร

ประการที่สามสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าของซัมซุงเพียง 5% เท่านั้นที่ผลิตในต่างประเทศเทียบกับ 28% ของบริษัทญี่ปุ่นซึ่งพยายามย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีต่ำออกไปนอกประเทศ

ประการที่สี่แม้งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาของซัมซุงในปี 1990 สูงถึง 650 ล้านดอลล่าร์ เพิ่มจากปีก่อนถึง 30% แต่ยังนับว่าห่างไกลจากมัตสุชิตะและโซนี่ที่ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ 2,300 ล้านดอลล่าร์และ 1,100 ล้านดอลล่าร์ตามลำดับ นอกจากเทคโนโลยีทางด้านเซมิคอนดักเตอร์แล้ว เทคดนโลยีด้านอื่น ๆ ของซัมซุงล้วนอยู่ในระดับต่ำกว่ากลุ่มบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นทั้งสิ้น

ประการที่ห้าในขณะที่พยายามผลักดันให้เกิดคุณภาพในสายการผลิตสินค้า และติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่อช่วยงาน แต่เครื่องจักรกลต่าง ๆ ของซัมซุงก็ไม่มีความยืดหยุ่นพอที่จะทำให้สามารถผลิตสินค้าได้หลาย ๆ ชนิด ภายใต้สายการผลิตเดียวกัน เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

ประการทีหกซัมซุงจะไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลเช่นแต่ก่อนอีกแล้ว เพราะในระยะหลังรัฐบาลเกาหลีใต็เองถูกแรกดดันจากกระแสความไม่พอใจของประชาชนเพิ่มมากขั้น โดยหัวข้อหลักของการโจมดีก็คือการที่รัฐบาลปล่อยให้กลุ่มบริษัทรายใหญ่มีอำนาจต่อรองมากเกินไป ทั้งที่โดยประวัติศาสตร์แล้ว ซัมซุงนั้วเติบโตขึ้นมาจากแรงสนับสนุนของรนัฐบาลเกาหลีใต้ ทั้งในรูปของการสนับสนุนการส่งออกและการลดหย่อนภาษาให้ผู้ผลิตภายในประเทศ กับตั้งกำแพงภาษีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพี่อกีดกันคนต่างชาติ ยังไม่นับการอนุญาตให้ขูดรีดแรงงานให้ทำงานถึงสัปดาห์ละ 70 ชั่วโมง โดยกดค่าแรงขั้นต่ำไว้อีกทางหนึ่ง

แต่เมื่อสิ้นสุดยุคของรัฐบาลทหารในปี 1987 สถานการณ์ต่าง ๆ ได้แปรเปลี่ยนไป รัฐบาลประกาศจำกัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ, ค่าจ้างขั้นต่ำพุ่งสูงขึ้น, ชั่วโมงการทำงานลดลง รวมทั้งมีการยกเลิกการจำกัดการนำเข้าสินค้าและผ่อนคลายระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซัมซุงจึงต้องคิดหนักและหาทางรับมือกับปัญหาภายในให้ได้ เพื่อผลักดันตนเองให้มีฐานะบทบาททัดเทียมกับบริษัทญี่ปุ่น

โชคดีก็ตรงที่ซัมซุงมีความแข็งแกร่งในด้านระบบการบริหารที่าความมั่นคงตลอดมา จนจัดได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของซัมซุงทีเดียว ซัมซุงไม่เคยมีปัญหาการแก่งแย่งอำนาจบริหาร ผิดกับฮุนไดที่เหล่าญาติพี่น้องของผู้ก่อตั้งกิจการ ต่างฟาดฟันกันเองเพื่อครอบครองอาณาจักรธุรกิจไว้

แม้ลี บยุง-ซุล นั้นได้มอบหมายตำแหน่งผู้กุมบังเหียนซัมซุงให้กับลี คุน-ฮี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอำนาจเบ็ดเสร็จจะอยู่ในมือประธานกรรมการโดยลำพัง ตรงข้าม ทีมบริหารงานที่มีอดีตนายกรัฐมนตรีชิน เฮียนฮวอค และอดีตรองนายกรัฐมนตรี คิม จุน-ซุง รวมอยู่ด้วย กลับมีบทบาทสำคัญไม่น้อย

การกำหนดนโยบายของบริษัทมีขึ้นโดยคณะทำงานด้านบริหาร 250 คนที่ประจำอยู่ ณ สำนักงานใหญ่ ทำหน้าที่วางแผนยุทธศาสตร์และประสานงานกับกลุ่มบริษัทในเครือ คณะทำงานที่ว่านี้ถือว่าเป็นพนักงานระดับมันสมองและเป็นแกนหลัก นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการนำนโยบายไปปฏิบัติอีกคณะหนึ่ง คนกลุ่มนี้จะจับตาดูความเคลื่อนไหวของบริษัททั้ง 30 แห่งอย่างใกล้ชิด กิจการที่มีผลประกอบการดีจะได้รับอิสระในการดำเนินการ ส่วนกิจการที่มีทีท่าย่ำแย่จะได้รับการดูแลจากคณะกรรมการอย่างใกล้ชิด

นอกจากนั้น การเลื่อนขั้นตำแหน่งก็อิงกับระบบคุณธรรมมากกว่าระบบอาวุโส และขณะที่กลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ ของเกาหลีใต้ เน้นสไตล์การบริหารในลักษณะจากบนลงล่าง (TOP-DOWN MANAGEMENT) ซัมซุงกลับผสมผสานสไตล์การบริหารทั้งจากบนลงล่าง และจากล่างสู่ยอด (BOTTOM-UP MANAGEMENT) เข้าด้วยกันอย่างผสมกลมกลืน ทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานดี

ยิ่งเมื่อซัมซุงพยายามหลีกเลี่ยงการปิดโรงงาน และประนีประนอมกับสหภาพเพื่อไม่ให้เกิดการสไตรค์กิจการของซัมซุงจึงรุดหน้าไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ฮุนไดและแดวูต้องวนเวียนกับปัญหาแรงงานสัมพันธ์ ลิม ดอง-ซุน ประธานสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของซัมซุงชี้ว่า "คติพจน์ของเราก็คือ ยิ่งจ่ายค่าแรงมากคุณภาพในการผลิตก็สูงมากตาม"

กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จอีกดอกหนึ่งของซัมซุงก็คือ การใช้ลูกเล่นหรือเทคนิคบางอย่างในอาณาจักรธุรกิจของตน ธุรกิจการค้าและการประกันชีวิตเป็นแหล่งรายได้ที่มากที่สุดของกลุ่ม ซึ่งนำไปหล่อเลี้ยงกิจการด้านการวิจัยและพัฒนาและริเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ ได้ "การมีฐานกิจการครอบคลุมกว้างทำให้เราสามารถสนับสนุนบริษัทในเครือได้ ทั้งในสภาวะที่ตกต่ำและช่วงที่เติบโต" ลิม ให้ความเห็น

ซัมซุงยังมีความชำนาญพิเศษในการเข้าสู่ธุรกิจที่ทำกำไรได้ในจังหวะเวลาที่เหมาะสมอีกด้วย ตัวอย่างเช่นกรณีการตัดสินใจผลิตหน่วยความจำ "ดีแรม" ในปี 1983 ซึ่งช่วยก่อร่างสร้างฐานให้กับธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อการอุปโภคบริโภคที่สลับซับซ้อน ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปจนถึงเครื่องเล่นเลเซอร์ ดิสก์

ปีที่แล้วซัมซุงจึงขยับฐานะขึ้นจากผู้ผลิตเซมิคคอนดักเตอร์อันดับ 18 เป็นอันดับที่ 13 ของโลกแและยังเป็นผู้ผลิตเตาอบไมโครเวฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก และหลังจากการร่วมทุนกับริษัทคอร์นนิ่งแห่งสหรัฐฯ ก็ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตหลอดภาพโทรทัศน์อันดับ 3 ของโลก

แต่ในอนาคต ซัมซุงจะต้องเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้น เนื่องจากตลาดสหรัฐฯอันเป็นตลาดหลักของสินค้ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์กำลังซบเซาลงจากภาวะศรษฐกิจถดถอย ซัมซุงต้องประคองตัวอยู่ระหว่างคู่แข่งญี่ปุ่นที่เหนือชั้นกว่า กับผู้ผลิตหน้าใหม่จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เปรียบในแง่ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ขณะที่ในตลาดยุโรปก็ต้องผจญกับนโยบายต่อต้านการทุ่มตลาดสินค้าพื่อตัดราคา

ยุทธศาสตร์ที่ซัมซุงเตรียมใช้สำหรับรับมือกับปัญหาอุปสรรคข้างต้นมี 5 ประการด้วยกัน

หนึ่ง-โปรโมทสินค้าไฮเทคที่ผลิตขึ้นเองโดยให้ความสำคัญกับการโฆษณา และพัฒนาแผนการตลาดรวมทั้งเครือข่ายการบริการหลังการขายในต่างประทเศให้ดีขึ้น ที่ริเริ่มไปบ้างแล้วก็มี การโฆษณาโลโกของบริษัทบนรถขนถ่ายกระเป๋าเดินทางในสนามบิน, การลงทุนโฆษณาในบิลบอร์ดช่วงการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ในปักกิ่งที่ผ่านมา และยังจ้าง "โบเซล" … เอเยนซีแห่งสหรัฐฯรับผิดชอบงานด้านโฆษณาในทั่วโลกด้วย

สอง-ลงทุนในกิจการใหม่ ๆ อย่างหนักไม่ว่าจะเป็นการผลิตเครื่องบิน ปิโตรเคมีหรือรถบรรทุก

สาม-มุ่งหาช่องทางปรับปรุงคุณภาพในการผลิตสินค้า อย่างกรณีโรงงานกูมิในเครือซัมซุงอิเลกทรอนิกส์ที่นำเอาอุปกรณ์ออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ รวมทั้งติดตั้งหุ่นยนต์เพื่อช่วยงานอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้สามารถรับมือกับการเติบโตของออร์เดอร์สั่งซื้อสินค้าได้ถึง 30% ต่อปี โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งกระตุ้นให้มีการควบคุมคุณภาพการผลิต เพื่อลดข้อผิดพลาดให้น้อยลง ทุกวันนี้สัดส่วนข้อผิดพลาดในการผลิตหน่วยความจำ "ดีแรม" ของซัมซุงลดลงมาอยู่ในระดับเดียวกับคู่แข่งญี่ปุ่นแล้ว

สี่-ซัมซุงเตรียมบุกเข้าเจาะตลาดยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียตในอนาคต เพื่อลดการพึ่งพิงเฉพาะตลาดสหรัฐฯ อย่างแต่ก่อน โดยเริ่มเข้าไปสำรวจลู่ทางในโซเวียตแล้วเมื่อปี 1988 และตั้งคณะทำงาน 80 คน เพื่อเจรจาในโครงการลงทุนนับสิบโครงการ ทั้งกิจการโรงแรม, โรงงานน้ำตาล, โทรศัพท์ และโรงงานผลิตชิ้นส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และปัจจุบันก็เข้าไปร่วมลงทุนผลิตโทรทัศน์สีในฮังการีแล้ว

ห้า-มุ่งพัฒนาและผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่เข้ากับยุคปัจจุบัน เช่น เครื่องอัดวิดีโอ, โทรทัศน์ จอกว้างและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกภายในบ้าน โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการด้านวิจัยและพัฒนาที่คุน-ฮีให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แม้สถาบันเทคโนโลยีแห่งซัมซุงจะคาดการณ์ไว้ว่าซัมซุง ต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี ในการปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีกับญี่ปุ่นก็ตาม

ทุกวันนี้เทคโนโลยีของซัมซุงนั้นมาจากการซื้อลิขสิทธิ์เป็นส่วนใหญ่ ซัมซุงมักลังเลที่จะร่วมทุนกับต่างชาติ เพราะเกรงว่าจะสูญเสียอำนาจในการบริหารไป แต่แนวโน้มที่บริษัทญี่ปุ่นและสหรัฐ จะไม่ยอมขายเทคโนโลยีที่อ่อนไหวง่าย ๆ อีกต่อไป ซัมซุงจึงมีทางเลือกไม่มากนัก และต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองขึ้นให้ได้ ในท่ามกลางภาวะการขาดแคลนวิศวกรและนักวิจัย

ส่วนหนทางที่จะขยายกิจการออกสู่ระดับโลกได้เร็วที่สุดนั้น ก็น่าจะเป็นการผนวกกิจการหรือการซื้อกิจการ แต่ซัมซุงก็พยายามหลีกเลี่ยงวิถีทางนี้เรื่อยมา "เรารู้ดีถึงความสำคัญของการผนวกกิจการและการซื้อกิจการ แต่วิธีการนี้ออกจะเสี่ยงอยู่ เพราะเราไม่มีประสบการณ์ในการเข้าไปบริหารกิจการต่างประเทศ เราจึงต้องการสร้างบริษัทใหม่ขึ้นมาเอง" ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกิจการในต่างประเทศให้ความเห็น

แนวทางการบริหารกิจการในแบบฉบับของซัมซุงข้างต้นนี้ จะช่วยผลักดันให้กิจการก้าวขึ้นเป็นบริษัทท็อปเท้นของโลกได้หรือไม่ เป็นคำถามที่ชวนคิดอยู่ไม่น้อย แต่ดูเหมือนว่า คุน-ฮีนั้นจะเข้าใจดีแล้วว่า นับจากนี้ เขาจะต้องแบกรับภาระอันหนักอึ้ง และจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอีกต่อไปแล้ว ยืนยันได้จากคำพูดของเขาที่ว่า "ต่อไปนี้เราจะต้องยืนบนขาของตัวเอง โดยไม่พึ่งความช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us