Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533
ส่วนหนึ่งของชีวิตคือไออีซี             
โดย รุ่งอรุณ สุริยามณี
 


   
search resources

อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง, บมจ.
Cement
เทียม กาญจนจารี




"ปูนขายไออีซีออกไป เป็นสิทธิของเขา เขาบอกผมว่านโยบายไม่ตรงกันเลยต้องขาย มันเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรมทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ยั่งยืนถาวร" เป็นความรู้สึกของชายแก่คนหนึ่งที่พรั่งพรูออกมาเมื่อทราบข่าวปูนขายไออีซีให้คนอื่นไป

ชายแก่ผู้นี้มีอายุมากถึง 85 ปีแล้ว แต่ยังมีความแข็งแรงของร่างกายเหมือนคนที่มีอายุเป็นเพียงแค่ตัวเลข เขาชื่อ "เทียม กาญจนจารี" ที่คนทั่วไปมักเรียก "คุณเทียม" แทนชื่อเขา

ทุกเช้าถึงเที่ยงคุณเทียมจะมานั่งที่ไออีซีนี้ทุกวัน มันเป็นเรื่องแปลกสำหรับคนทั่วไปที่ไม่รู้ถึงความหลังที่ชายแก่ผู้นี้มีต่อบริษัทแห่งนี้ แม้ในปัจจุบันมันจะตกเป็นสมบัติของผู้อื่นมานานปีแล้วก็ตาม

คุณเทียมทำงานกับไออีซี ( อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง) สาขาประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 1927 "วันที่ 25 เมษายน ผมจำได้ถึงวันนี้" เขาระบุวันเวลาอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เขาต้องการแสดงถึงความรักและผูกพันที่มีต่อบริษัทแห่งนี้เริ่มต้นงานด้วยการเป็นเสมียนชิปปิ้งกันเงินเดือน 80 บาทหลังจากจบซีเนียร์เคมบริจด์ที่สิงคโปร์

ไออีซีเป็นบริษัทอเมริกันจดทะเบียนที่ฟิลลาเดเฟีย สหรัฐฯ เมื่อปี 1923 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 บริษัทนี้ได้เข้ามาประมูลงานสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-อรัญญประเทศในสมัยที่กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธินเป็นเจ้ากระทรวงคมนาคมและพระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เซ็นสัญญากับนายเฮอร์แมน เฮพเชอร์ผู้จัดการคนแรกของไออีซี (ไทย)

ไออีซีเข้ามาเปิดบริษัทในกรุงเทพด้วยทุนเริ่มแรก 200,000 บาทโดยผู้ถือหุ้นทั้งหมดเป็นบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง อิ้งยูเอสเอ (บริษัทแม่) เพื่อดำเนินการโครงการสร้างทางรถไฟที่ประมูลได้ แต่ผลการดำเนินงานขาดทุนเนื่องจากอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเช่นพวกรถยนต์และแทรคเตอร์ กินน้ำมันมากทำให้มีค่าใช้จ่ายการสร้างทางสูง

ไออีซี (สหรัฐฯ) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเป็นนายหน้าและตัวแทนการค้าสินค้าเครื่องจักรกลเช่นรถแทรคเตอร์ยี่ห้อเวสต์ซิกตี้ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแคตเตอร์พิลล่า) เป็นนายหน้าขายเครื่องบินให้ยูไนเต็ด แอร์คราฟท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าเวสต์ติ้งเฮ้าและสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย

การขาดทุนจากโครงการสร้างทางรถไฟ ทำให้ไออีซี (ไทย) จะปิดบริษัททิ้งงานที่ยังทำไม่เสร็จ แต่ความที่เป็นบริษัทอเมริกันรายแรกที่เปิดกิจการในเมืองไทยทางรัฐบาลอเมริกัน จึงรู้สึกเป็นการเสียหน้ามากถ้าหากปล่อยให้เป็นเช่นนั้น จึงให้ทางสถานทูตสหรัฐ ฯ ประจำไทยเข้าช่วยเหลื อทางการเงินส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยการเข้าเจรจาขอร้องให้ทางธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งขณะนั้นมีผู้จัดารใหญ่เป็นชาวอเมริกันปล่อยสินเชื่อเป็นทุนหมุนเวียนค่าใช้จ่าย จนโครงการสร้างทางรถไฟสายดังกล่าวเสร็จสิ้นตามสัญญา

แม้ไออีซีจะไม่ได้กำไรคุ้มต่อการลงทุน แต่ก็สามารถหล่อเลี้ยงให้ไออีซีสามารถดำเนินธุรกิจค้าขายในเมืองไทยต่อไปได้

"เราขายของเกือบทุกอย่างตั้งแต่เครื่องบิน เครื่องทำน้ำแข็ง เครื่องทำไฟฟ้า ปืนยาววินเชสเตอร์ เครื่องทรานฟอร์มเมอร์ขนาด 3 กิโลวัตต์ให้หน่วยราชการเกือบทุกแห่งและแม้แต่ประกันชีวิตเราก็เป็นตัวแทนให้บริษัทประกันซิกน่าไลฟ์ของอเมริกา" คุณเทียมเล่าให้ฟังถึงบทบาทด้านการค้าของไออีซียุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้น

การเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ของไทยทำให้ทรัพย์สินของบริษัทอเมริกันในเมืองไทยถูกรัฐบาลยึดไออีซีก็เลี่ยงไม่พ้น เหตุการณ์นี้เป็นวิกฤติการณ์ครั้งที่ 2 ที่ไออีซีประสบในเมืองไทยหลังจากเคยประสบมาแล้วครั้งแรกเมื่อตอนสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-อรัญฯ

แต่พอหลังสงครามโลกสงบ ไออีซีก็ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ขณะที่คุณเทียมก็เริ่มสร้างธุรกิจส่วนตัวขึ้นมาโดยอาศัยเงินทุนส่วนหนึ่งประมาณ 400,000 บาทจากการยืมเพื่อนชาวจีน ชื่อลิ้มก่ำต่งที่อยู่แถวทรงวาดและอีกส่วนชวนประหยัด อังศุสิงห์ เข้าลงทุนถือหุ้นร่วมกันตั้งบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง โดยไม่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงเศรษฐการ

ธุรกิจที่คุณเทียมทำเวลานั้นเป็นเอเยนต์เรือให้อีสเวสต์ไลน์ ได้ค่าคอมมิชชั่นตันละ 10 เซ็นต์ เวลานั้นหน่วยงานสหประชาชาติเพื่อการฟื้นฟูและบูรณะ (UNRRA) ต้องการขนข้าว 10,000 ตันจากเมืองไทยไปจีนก็ส่งนายวินเตอร์ไมน์มาติดต่อคุณเทียมจัดหาเรือขนข้าวให้

และนี่คือที่มารายได้ก้อนแรก 1,000 เหรียญ ที่คุณเทียมหาได้และนำฝากเข้าบัญชีเหรียญสหรัฐ ฯ ของนายชูลท์เจ้านายเก่าสมัยเป็นลูกจ้างไออีซียุคก่อนสงครามฯ ที่เปิดบัญชีไว้ที่สิงคโปร์

เหตุผลที่คุณเทียมทำเช่นนี้เนื่องจากเวลานั้นค่าเงินบาทเทียบกับเหรียญสหรัฐ ฯ อัตราทางการตกเหรียญละ 9.80 บาทขณะที่ตลาดมืด 27 บาท ถ้านำเงินเหรียญเข้าในประเทศจะขาดทุนกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันทันทีเหรียญละ 18 บาท

เทคนิคตรงนี้เป็นผลกำไรมหาศาลที่คุณเทียมได้รับจากธุรกิจเอเยนต์เรือ และนำไปสู่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง (ไออีซี) ด้วยทุน 10 ล้านบาทร่วมกับ ประหยัด อังศุสิงห์และจอห์น เวสเตอร์ตัวแทนของไออีซีสหรัฐ ฯ อย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นทางการในปี 1956 โดยคุณเทียมเอากำไรจากธุรกิจนายหน้าเอเยนต์เรือและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นทุนเข้าถือหุ้น 15% มีนายเวสเตอร์เป็นกรรมการผู้จัดการ

ธุรกิจของไออีซีเดินหน้าอย่างรวดเร็ว มีซัพพลายเออร์ต่างประเทศหลายรายต้องการให้บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเช่น โทรศัพท์ไอทีทีของบริษัทไอทีที เครื่องทำน้ำแข็ง ชูการ์ฮัทของบริษัทไดนามอสต์ เครื่องทรานฟอร์มเมอร์ของบริษัทเวสติ้งเฮ้า เอเยนต์ขายเครื่องบินให้บริษัทยูไนเต็ดแอร์คราฟ และที่สำคัญเป็นเอเยนต์รถขุดและแทรกเตอร์แคตเตอร์พิลล่าของบริษัทแคตเตอร์พิลล่า

"เราเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของหน่วยราชการและบริษัทเอกชนใหญ่ๆในสินค้าอุปกรณ์และเครื่องกล" คุณเทียมเล่าให้ฟังถึงความยิ่งใหญ่ของไออีซีในสมัยก่อน

การเป็นเอเยนต์ให้แคตเตอร์พิลล่าเป็นเสมือนตัวทำเงินทำทองให้บริษัทด้วยเหตุผลอย่างน้อย 2 ประการคือ หนึ่ง เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลเริ่มลงทุนสร้างสิ่งสาธาณูปโภคตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ จึงเป็นตลาดใหญ่ของไออีซีที่จะป้อนสินค้าให้และ สอง แคตเตอร์พิลล่าเป็นสินค้าที่มีรูปทรงขนาดใหญ่ต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บรักษามาก การแสวงหาที่ดินตามแหล่งชานเมืองและจังหวัดหัวเมืองของกรุงเทพ ฯ ในขณะที่ยังมีราคาถูกจึงเป็นผลงานของการสร้างสินทรัพย์ในรูปของที่ดินที่มีมูลค่ามหาศาลในภายหลัง และเหตุนี้คือผลที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการมีสินทรัพย์ที่ดินมากมายของบริษัทไออีซีในระยะต่อมา

"คุณเทียมถือหุ้นใหญ่กว่า 50% โดยซื้อเพิ่มจากเวสเตอร์ที่ต้องการขายเพื่อกลับสหรัฐ ฯ แล้วแกก็ให้ลูกชายคือพลศักดิ์เข้ามากุมบังเหียนบริหาร" แหล่งข่าวในไออีซีกล่าวถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของไออีซี

คุณเทียมมีลูก 4 คน เป็นลูกชาย 2 ลูกสาว 2 พลศักดิ์เป็นลูกชายคนโต เป็นคนมีความสามารถพอตัว แต่เสียที่ชอบดื่มเหล้าแล้วเมาจนเป็นเหตุหนึ่งที่แคต ฯ เลิกให้ไออีซีเป็นเอเยนต์เมื่อปี 1976

แคตเตอร์พิลล่าเลิกให้ไออีซีเป็นเอเยนต์ก็มาจากความไม่พอใจพลศักดิ์ที่ทะเลาะมีปากเสียงกับคนของแคต ฯ แล้วเวลาเมาก็คุมสติตัวเองไม่อยู่

เมื่อหลุดจากแคต ฯ พลศักดิ์ก็จับอินเตอร์เนชั่นแนล ฮาร์เวสเตอร์มาแทน แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงเปลี่ยนมาเป็นเฟียต-เอลิส หวังมาสู้กับแคต ฯ ที่ไปให้เมโทร แมชชินเนอรี่ของ ทองไทย บูรพาศรี เป็นเอเยนต์แทน

"พลศักดิ์ใช้มาตรการปล่อยเครดิตและหั่นราคา ปรากฏว่าหนี้สูญบานร่วมสามร้อยล้าน ยิ่งเจอมรสุมน้ำมันแพง ดอกเบี้ยแพงและลดค่าเงินบาทเข้าไปด้วย ก็ขาดทุน" แหล่งข่าวเล่าให้ฟังถึงที่มาการเริ่มตกต่ำของไออีซี

ภายใต้สถานการณ์วิกฤตินี้ ทางออกของบริษัทมีทางเดียวที่ทำได้คือการลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด โดยการปลดคนงานออก แต่คุณเทียมไม่กล้าทำ เขาเลือกที่จะขายกิจการให้คนอื่น

คนที่รับซื้อคือปูนซิเมนต์ไทย โดยพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ ประธานกรรมการของปูนทราบจาก กิตติรัต ศรีวิสารวาจา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ไออีซีขณะนั้น

"ผมขายสินทรัพย์ของไออีซีออกไปไม่ถึง 20% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ไออีซีมีอยู่ โดยผมมีเงื่อนไขว่าทางปูนต้องรับหนี้สินส่วนตัวของผม 38 ล้านบาทที่ค้ำให้ไออีซีด้วย" คุณเทียมเล่าถึงเงื่อนไขการขายไออีซีของเขา

หนี้สินไออีซีมีอยู่ 100 ล้านขณะที่มีมูลค่าสินทรัพย์รายการลูกหนี้การค้าที่มีปัญหาการชำระอยู่ 300 ล้าน

สินทรัพย์ที่ดีที่สุดของไออีซีในการขายครั้งนี้คือที่ดิน 13 แปลง และที่สำคัญที่สุดคือแปลง 6 ไร่ข้างกรมอุตุนิยมวิทยา ถนนสุขุมวิทและแปลง 2 ไร่ครึ่งบริเวณโอเรียนเต็ลพลาซ่า ที่มีมูลค่ามหาศาล

"ผมขายให้ปูนถูกมากหุ้นละ 1,200 บาทเท่านั้น" คุณเทียมบอกถึงราคาที่เขาขายไออีซีให้ปูนเมื่อ 7 ปีก่อน

แม้จะขายให้ปูนไปแล้ว แต่ความที่มีความรู้สึกผูกพันกับไออีซีมาตลอดชีวิต เขาก็ยังมานั่งที่ไออีซีทุกวันโดยไม่รับเงินเดือน

"ผมมาขออาศัยที่นี่เป็นสำนักงานทำอะไรส่วนตัวของผมเช่นติดต่อพบปะเพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงานของผมที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ไออีซี" เขากล่าวถึงเหตุที่มาไออีซีทุกวัน ดูประหนึ่งไออีซีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us