Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533
"เหมืองบ้านปู" ผู้ที่จะผงาดขึ้นภายหลังจากวิกฤตการณ์น้ำมันจบสิ้น             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

เหมืองบ้านปู
Mining




ในภาวะที่ประเทศไทยกำลังได้รับการพัฒนาให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นประเทศอุตสาห-กรรมใหม่ กิจการที่เน้นในด้านการผลิตและจัดหาพลังงาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมทุกประเภท จัดได้ว่ามีแนวโน้มที่จะขยายตัวออกไปได้อย่างกว้างไกลกว่าเพื่อน และยิ่งในช่วงที่น้ำมันกำลังมีราคาแพงเช่นนี้ อุตสาหกรรมพลังงานเพื่อทดแทนน้ำมัน อย่างถ่านหินลิกไนต์ จะมิก้าวกระโดดไปได้ยาวไกลกว่าอีกหรือ…?

ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้รอบรู้ในวงการธุรกิจหลักทรัพย์ ได้เคยให้ทัศนะเกี่ยวกับวิกฤติการณ์น้ำมันที่เกิดขึ้นจาก สงคราวในอ่าวเปอร์เซียตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่าหุ้นกลุ่มที่แทบจะได้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ดังกล่าวเลย จะได้แก่หุ้นของกิจการที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาหรือผลิตพลังงาน เช่นถ่านหินลิกไนต์ หรือแก๊สธรรมชาติ ในทางตรงกันข้ามหุ้นกลุ่มนี้อาจจะเป็นหุ้นที่มีแนวโน้มจะดีในอนาคตเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากความต้องการพลังงานที่จะมาแทนน้ำมันมีมากขึ้น

สำหรับในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของเรา หุ้นที่จัดเข้าอยู่ในข่ายที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนั้น มีอยู่เพียงไม่กี่บริษัท ซึ่งตัวที่ค่อนข้างจะชัดเจนที่สุด ได้แก่หุ้นของบริษัทเหมืองบ้านปูจำกัด

เหมืองบ้านปู ถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดให้เข้าไปร่วมอยู่ในหมวดของหุ้นกลุ่มกิจการเหมืองแร่ แต่คนในวงการอุตสาหกรรมกลับมองว่า กิจการของเหมืองบ้านปูน่าจะเรียกว่าเป็น "อุตสาหกรรมพลังงาน" มากกว่า

บริษัทเหมืองบ้านปู ดำเนินกิจการเป็นผู้นำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ แบบ "เหมืองเปิด" ขายเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2526 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 25 ล้านบาท ปัจจุบันมีบริษัทในเครือเหมืองบ้านปูเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 99% อยู่ทั้งสิ้น 3 บริษัท ได้แก่บริษัทแพร่ลิกไนต์ทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท และบริษัทถ่านหินสากล ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ประกอบกิจการเหมืองถ่านหินลิกไนต์เช่นเดียวกัน ส่วนอีกบริษัทหนึ่งได้แก่บริษัท มินเนอรัล รีซอร์สเซส ดีเวลลอปเม้นท์ ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ประกอบกิจการเป็นผู้ผลิตดินขาวคุณภาพสูง

แหล่งถ่านหินส่วนใหญ่ของเหมืองบ้านปู จะอยู่ในเขตภาคเหนือแถบ อ. ลี้ จ. ลำพูน โดยได้รับสัมปทานมาจากสำนักงานพลังงานแห่งชาติ ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 5 แหล่ง มี พื้นที่รวม 2,070 ไร่ ปริมาณถ่านหินสำรอง 11,816 ล้านตัน และปัจจุบันสำนักงานพลังงานแห่งชาติก็กำลังอยู่ระหว่างการเวนคืนที่ดินที่เหลืออยู่ อีกประมาณครึ่งหนึ่งของแหล่งบ้านปู เพื่อให้บริษัทได้เข้าไปสำรวจและทำเหมือง ตามสัญญาที่ได้ทำไว้ และบริษัทก็ได้ยื่นขอประทานบัตรในพื้นที่บางส่วนไปแล้วประมาณ 365 ไร่ เพื่อเริ่มทำเหมืองตามแผนขยายงาน

เหมืองบ้านปูได้เข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2532 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 500 ล้านบาท แต่เรียกชำระแล้วเพียง 105 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 10.5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ยังเหลือทุนจดทะเบียนที่ไม่ได้เรียกชำระอีก 395 ล้านบาท หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 39.5 ล้านบาท

การเพิ่มทุนครั้งล่าสุดมีขึ้นในเดือนเมษายน 2533 โดยเป็นการเพิ่มจาก 70 ล้านบาท เป็น 105 ล้านบาท จัดสรรขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดในอัตราส่วน 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 60 บาท เพื่อนำไปใช้ในโครงการขยายงานของบริษัท

ความต้องการใช้ถ่านหินลิกไนต์ในภาคอุตสาหกรรมของไทยปัจจุบันมีประมาณ 10 ล้านตันต่อปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านตันต่อปี ในปี 2539 สำหรับในจำนวน 10 ล้านตันนั้น ผู้ใช้รายใหญ่ได้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ของความต้องการใช้ทั้งหมด โดยกฟผ. เป็นผู้ผลิตและจัดหาถ่านหินมาเอง ส่วนที่เหลืออีก 20% หรือประมาณ 2.3 ล้านตัน เป็นความต้องการใช้ในภาคเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานผลิตปูนซีเมนต์, โรงงานผลิตเยื่อกระดาษและโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ในจำนวน 2.3 ล้านตันดังกล่าว บริษัทเหมืองบ้านปูเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 40% รองลงมาได้แก่บริษัทลานนาลิกไนต์ 30% ส่วนที่เหลือเป็นของผู้ผลิต รายย่อยอื่น ๆ เช่นบริษัทเอเซียลิกไนต์หรือบริษัท WORLD FUEL และถ่านหินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ

ในแง่ของการตลาดสำหรับกิจการเหมืองถ่านหินลิกไนต์นั้น การแข่งขันไม่ค่อยมีความรุนแรงมากนัก เนื่องจากความต้องการใช้ ดูเหมือนจะมีมากกว่าผลผลิตที่ได้ และในส่วนนี้เมืองบ้านปูก็ค่อนข้างจะมีจุดที่ได้เปรียบบริษัทคู่แข่งอันดับรองลงมา เพราะว่าบริษัทลานนาลิกไนต์นั้นเป็นบริษัทในเครือบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ดังนั้นผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่จะป้อนให้กับบริษัทแม่ ทำให้โอกาสที่จะเพิ่มตลาดให้ขยายกว้างออกไปของเหมืองบ้านปูจึงจะมีมากกว่า

"ปัจจุบันการใช้ถ่านหินในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของความต้องการใช้พลังงานในเชิงพาณิชย์ทั้งหมด ซึ่งน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี หรือไต้หวันที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมเหมือนกัน ของไทยนั้นในอนาคตน่าจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็นประมาณ 20% ชนินทร์ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้จัดการบริษัทเหมืองบ้านปู กล่าวถึงช่องทางตลาดที่น่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภายหลังจากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันขึ้นมาในคราวนี้

จะสังเกตได้ว่าในช่วงตั้งแต่ต้นปี 2533 เป็นต้นมา ถึงแม้จะยังไม่มีวิกฤตการณ์เกิดขึ้น เหมืองบ้านปูก็ได้มีการประกาศโครงการขยายออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่องของ การสำรวจหาแหล่งวัตถุดิบในต่างประเทศ ซึ่งมีถ่านหินที่มีคุณภาพ และสะอาดกว่าถ่านหินของไทยอยู่มาก

และเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมา ความสนใจของคนก็เริ่มพุ่งเป้ามายังบริษัทมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลเร่งให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมรับกับความต้องการใช้ในอนาคต และเป็นการกระจายความเสี่ยงในการพึ่งพาพลังงานที่มาจากน้ำมันเพียงอย่างเดียว ซึ่งบริษัทเหมืองบ้านปูก็ได้เสนอตัวอย่างเป็นทางการกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่จะขอเข้าร่วมลงทุนด้วยประมาณ 10-15% ของโครงการตั้งโรงงานไฟฟ้าที่อ่าวไผ่ จ. ชลบุรี ที่มีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 44,000 ล้านบาท

ชนินทร์กล่าวถึงโครงการนี้ว่า เรื่องนี้ทางกฟผ. ยังไม่ได้มีคำตอบกลับมา เพราะต้องพิจารณาถึงเอกชนที่เสนอตัวเข้ามาด้วย เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนที่สูงมาก

"แนวโน้มในช่วง 1 ปี ข้างหน้าเหมืองบ้านปูคงหันไปลงทุนในต่างชาติมากขึ้น โดยในสิ้นปีนี้การเจรจากับประเทศอินโดนีเซียคงจะเสร็จ ต่อไปก็ที่ออสเตรเลียและเวียดนาม ตอนนี้เรามีการตั้งทีมงานขึ้นมารับผิดชอบทั้งสองส่วนขึ้นมาโดยเฉพาะ อย่างของออสเตรเลียนี่เป็นทีมฝรั่ง ส่วนที่อินโดนีเซียเราทำเอง เพราะงานที่นี่จะเป็นลักษณะของการร่วมทุน" ชนินทร์พูดถึงเป้าหมายธุรกิจของบริษัท

สำหรับผลพวงของสงครามที่เกิดขึ้นมาครั้งนี้ ชนินทร์ มองว่าจะส่งผลให้ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 2% เท่านั้น เพราะไม่แน่ใจว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อยาวนานมากแค่ไหน หากวิกฤติการณ์ยุติและราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลง บริษัทก็จำเป็นจะต้องลดราคาขายถ่านหินให้กับลูกค้าที่ได้ปรับขึ้นไปในช่วงก่อนหน้านั้นลงมาด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าวิกฤตการณ์จากสงครามน้ำมันครั้งนี้จะมีต่อเหมืองบ้านปูมากหรือน้อยเพียงใด ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะจุดที่น่าให้ความสนใจก็คือ นโยบายของรัฐบาลที่จะกระจายการใช้พลังงาน ซึ่งทำให้ถ่านหินลิกไนต์ถูกมองว่าจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีกมากในอนาคต

เหมืองบ้านปูในอี 5 ปีข้างหน้า (ถึงปี 2537) มีเป้าหมายทำกำไรสุทธิจาก 71 ล้านบาท ในปีนี้เป็น 106 ล้านบาทในปี 2537 ขณะเดียวกันรายได้จากการขายจะเพิ่มจาก 372 ล้าน ในปี 2533 เป็น 862 ล้านบาท ในปี 2537 สิ่งนี้หมายความว่าเหมืองบ้านปูจะมีความสามารถในการให้ผลตอบแทน เมื่อเทียบจากยอดขายจาก 18% ในปี 2533 เป็น 12% ในปี 2537 และกำไรต่อหุ้นจาก 9.8% ในปี 2533 เป็น 10.1% ในปี 2537

ดังนั้นหุ้นของบริษัทเหมืองบ้านปู ที่เป็นผู้ผลิตถ่านหินลิกไนต์รายใหญ่ที่สุดในส่วนของภาคเอกชนจึงน่าจะมีแนวโน้มที่สดใสตามขึ้นเช่นเดียวกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us