Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533
เส้นทางชีวิตของวิลาศ ชลวร             
 


   
search resources

วิลาศ ชลวร




น้อยคนนักที่จะรู้ว่าวิลาศ ชลวร เป็นใครมาจากไหน และกำลังทำอะไรอยู่ "ข่าวลือ" จึงดูจะเป็นเพื่อนสนิทของเขาตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นข่าวการอยู่เบื้องหลังการปั่นราคาที่ดิน ข่าวการใช้อิทธิพลกับคนในกระทรวงมหาดไทยกว้านซื้อที่ดินในต่างจังหวัดนับพันนับหมื่นไร่ และถูกกล่าวหาว่าเป็นนักธุรกิจที่จับเสือมือเปล่า ภาพอันเลือนลางของเขาดูเหมือนจะเป็นเพียงตัวแทนในการค้าที่ดินให้แก่กลุ่มนายทุนเท่านั้นเอง

หนุ่มใหญ่วัน 40 กว่าปี คนนี้เกิดมาในตระกูล "โง้ว" พ่อของเขาค้าขายผ้าย่านสำเพ็ง ที่มีฐานะในระดับเป็นเจ้าของตึก 7 ชั้นที่ถนนเยาวราชในยุคนั้นทีเดียว พี่ชายของเขาจึงมีโอกาสเรียนหนังสือถึงระดับเนติบัณฑิตไทย จนปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาระดับหัวหน้าคณะในศาลอาญา

สมัยวิลาศเป็นหนุ่มรุ่นกระทง ฐานะทางบ้านของเขาเริ่มตกต่ำ ทั้งนี้เพราะภัยทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำและพิษสงจากสงครามในอินโดจีน ประกอบกับตัวเขาเองก็เรียนไม่ค่อยเก่งนัก จึงสละตัวเองออกมาให้น้อง ๆ ได้เรียน

เมื่อออกจาก ม. 6 อายุเขาได้ 16 ปี อาของเขาที่ทำงานกับบริษัทสหพัฒนพิบูลย์อยู่แล้วได้ นำเขาเข้ามาฝากฝึกงานที่บริษัดด้วย ชีวิตของเขาจึงไม่ผ่านวันสนุกสนานแบบวัยรุ่นคนอื่น ๆ

ความที่วิลาศเป็นคนที่ไม่ค่อยยอมให้ใครง่าย ๆ จึงไม่เป็นที่พอใจของหัวหน้างาน จึงถึงขั้นเสนอให้เขาออก แต่เทียม โชควัฒนา ได้ขอเอาไว้โดยให้วิลาศเข้ามาช่วยงานเป็นการ ส่วนตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ นับตั้งแต่ชงกาแฟ ดูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ ตามแต่นายห้างจะใช้

วิลาศก็ได้รับความไว้วางใจจากนายห้างมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นผู้ติดตามและคอยบันทึกการประชุมต่างๆเกือบทั้งหมด

ในระหว่างนั้นวิลาศได้สมัครเข้าเรียนพาณิชย์ภาคค่ำที่นครหลวงวิทยาลัย แต่ก็เรียนไม่จบเพราะว่า งานที่เทียมมอบหมายให้เขาทำนั้นนับวันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับความไว้ใจ

จนในที่สุดก็ลองให้เขาลองเป็นพนักงานขายโดยให้ไปประจำที่จังหวัดร้อยเอ็ด รับผิดชอบการขายในเขตหลายจังหวัดในภาคอีสาน ในขณะที่วิลาศเพิ่งจะอายุ 20 ปีเท่านั้น

"ตอนอยู่กับท่านผมได้เรียนรู้วิธีการทำงาน การค้าการขายมากมายจากท่าน เพราะว่า จะต้องอยู่คอยรับใช้ท่านตลอด ผมเรียนรู้ถึงวิธีการทำงานที่ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและจริงใจ เรียนรู้ถึงการทำการค้าที่จะต้อขยัน ต้องมาทำงานตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าและกลับบ้านตอนสองยาม เพราะถ้าท่านไม่กลับเราก็ไม่รู้จะกลับได้อย่างไร" วิลาสพูดถึงความหลังที่เขาบอกว่าเขาโชคดีที่ได้มีโอกาสได้รับใช้ใกล้ชิดนายห้างเทียม แม้ว่าเขาจะไม่มีโอกาสเรียนหนังสือในห้องเรียนให้จบปริญญาอย่างคนอื่น ๆ

ความขยันทำให้ วิลาศ ชลวร หนุ่มวัย 21 ปี ได้กลายพนักงานขายที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจสำหรับนายห้างเทียมอย่างมากที่เขาใช้คนไม่ผิด

"พูดง่าย ๆ ว่าผมต้องทำงานมากกว่าคนอื่น ๆ เป็นสามเท่า อย่างนั้นแล้วจะไม่ให้ผมขายได้มากกว่าคนอื่นได้อย่างไร" วิลาศเล่าถึงปัจจัยที่ทำให้เขาเป็นเซลแมนมือเยี่ยม

ความสำเร็จนี้ นายห้างเทียมโชควัฒนา ได้แต่งตั้งเขาเป็นซุปเปอร์ไวเซอร์ กินเงินเดือน 20,000 บาททันที มีหน้าที่วางแผนจัดจำหน่ายและตรวจตลาดทั่วประเทศ ซึ่งวิลาศบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับตลาดคอนซูมเมอร์ ซึ่งมีบริษัท บอร์เนียว คอลเกต และลีเวอร์บราเดอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติครองตลาดเมืองไทยอยู่ก่อนแล้วทั้งสิ้น

จากซุปเปอร์ไวเซอร์ เปลี่ยนมาเป็นหัวหน้าแผนกวิจัยและวางแผนการตลาดและผู้จัดการผลิตภัณท์ ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายในสหพัฒนฯ ของเขาหลังจากที่ได้แสดงผลงานในการออกสินค้ายาสระผมไลอ้อนสูตรมะกรูดออกไปเป็นที่ต้อนรับของตลาดเป็นอย่างดี

เขาออกจากสพัฒนฯด้วยสาเหตุความไม่ลงรอยกับนักวิชาการในบริษัทเกี่ยวกับวิธีการออกวางตลาดสินค้ายาสีฟัน

เมื่อบริษัท ตัดสินใจตามที่นักวิชาการคนนั้นเสนอ ก็เป็นจุดที่เขายื่นใบลาออกในทันทีตั้งแต่บัดนั้น

"ต้องเข้าใจนะว่าถึงระดับหนึ่งแล้วนี่ความจำเป็นที่จะใช้นักวิชาการมันก็มีมากขึ้น ตอนนั้นปริญญาโทปริญญาเอกกำลังหลั่งไหลเข้ามาในบริษัทมาก ผมไม่มีปริญญาซึ่งก็ไม่เห็นด้วยกับเขา เพราะการออกสินค้าคอนซูมเมอร์นี่ถ้าผิดนิดเดียวมันก็ขายไม่ได้ความเสียหายมันสูง" เขากล่าวถึงเหตุผลที่จะต้องลาออกจากสหพัฒนฯ หลังจากที่เขาทำงานที่นี่มากกว่า 10 ปี

เมื่อจากสหพัฒน ฯ ก็เริ่มเป็นเถ้าแก่เอง โดยการตั้งบริษัทเฮ้าส์ซิ่งโปรดักส์ ทำธุรกิจทางด้านออกแบบตกแต่งและส่งสินค้าเกี่ยวกับการตกแต่งบ้านไปขายต่างประเทศ ซึ่งเป็นธุรกิจคนละอย่างกับที่เขาเคยทำมาจนเกิดความเชี่ยวชาญ

ธุรกิจของบริษัทเฮ้าส์ซิ่งโปรดักส์กำลังไปได้ดีก็เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่พลิกผันขึ้นในปี 2518 ที่ประเทศรอบข้างอย่างลาว เขมร ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมในปีต่อมาประเทศไทยเองก็เกิดรัฐประหารยึดอำนาจโดยกลุ่มขวาจัดขึ้นมาครองเมือง

เหตุการณ์รุนแรงถึงขนาดมีรัฐมนตรีบางคนเสนอให้ทำกำแพงกั้นตามแนวชายแดนเพราะกลัวคอมมิวนิสต์ยึดประเทศ นักธุรกิจระดับเศรษฐีหลายคนขนข้าวขนของเตรียมตัวจะหนีไปอยู่ต่างประเทศกันหมด

แต่วิลาศ เชื่อมั่นว่าไม่มีทางที่จะเป็นอย่างนั้นได้และมันก็ได้กลายเป็นจุดเกิดครั้งสำคัญของเขาจากเงินไม่ถึงล้านบาทกลายเป็นเศรษฐีระดับหลายพันล้านในปัจจุบัน

"เชื่อไหมว่าวิกฤตการณ์มักจะสร้างวีรบุรุษเสมอผมเห็นช่องทางจากที่มีคนจะขายที่ดินหนีสงครามตรงนั้นผมลงจับที่ย่านสุขุมวิทซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ชั้นเยี่ยม"

เงินทุนที่เขาได้มาเพื่อซื้อที่ดินแปลงแรกนี้ มีไม่ถึงล้านบาท โดยเป็นเงินที่เขาสะสมจากการค้าขายส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการเล่นแชร์กันในวงการพรรคพวก ซึ่งบางคนพอรู้ว่าวิลาศจะเอามาซื้อที่ดินก็ไม่ยอมลงด้วย แต่ยินดีจะให้ยืม

แล้วมันก็สำเร็จ เขาทำกำไรจากการขายออกไปหลังจากถือไว้ด้วยเงินดาวน์ไม่นานนัก หลังจากนั้นการจับที่ดินเพื่อเก็งกำไรก็เริ่มอย่างจริงจังและเกือบทุกแปลงให้ผลคุ้มค่าต่อการเสี่ยงทั้งสิ้น

การจับที่ดินแปลงที่น่าจะเป็นจุดสำคัญของวิลาศที่เขาภูมิใจ คือที่ดินจำนวน 6 ไร่พร้อมบ้าน 6 หลังในซอยสุขุมวิท 61 หรือซอยเศรษฐบุตรของหม่อมเจ้าดุลภากรณ์ วรวรรณในราคาตารางวาละ 6,000 บาท ซึ่งต่อมาภายใน 3 วันเขาสามารถขายและทำกำไรได้ถึง 10 ล้านบาท

"ท่านภูมิใจกับผมมากนะตอนแรกท่านไม่เชื่อว่าผมจะซื้อจริง ๆ เพราะมีคนมาติดต่อกับท่านเป็นสิบ ๆ คน แต่ไม่มีใครซื้อสักคน ส่วนผมกลับตกลงเลยไม่ได้ต่อราคาแม้แต่บาทเดียว ผมเรียนกับท่านไว้ว่าถ้าผมซื้อกับท่านแล้วท่านจะต้องไม่เสียดาย และต้องดีใจกับผมถ้าผมได้กำไรมากขึ้น ผมแบ่งออกเป็น 6 แปลงขายไป 5 แปลงเก็บเอาไว้อยู่เองแปลงหนึ่งได้กำไร 10 ล้าน ผมแบ่งขายเป็นแปลงย่อย ๆ นี่มันก็ขายง่าย สามวันเท่านั้นผมขายหมด" วิลาศพูดถึงเทคนิคการทำกำไร

วิลาศกล่าวว่าการเติบโตทางธุรกิจของเขาไม่เคยใช้สายสัมพันธ์กับใครมาก่อนทั้งสิ้นทุกอย่างใช้ความตรงไปตรงมาในการเข้าพบไม่ว่าการซื้อหรือขายสินค้า

แม้แต่การหาแหล่งเงินทุนก็เช่นกัน เขากล่าวว่าถึงวันหนึ่งที่มีทุนพอสมควรแล้วก็ใช้บริการแบงก์ทั้งฝากและกู้ยืม โดยเฉพาะการกู้ยืมซึ่งถือว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญที่เข้ามาแทนเงินแชร์นอกระบบการเงิน

"ก็ไม่มีอะไร ผมเห็นที่ดินสวยคิดว่าลงทุนแล้วจะได้กำไรก็ถามแบงก์เขาว่าสนใจจะไฟแนนซ์ผมไหม ซึ่งก็ธรรมดาบางแบงก์ก็ไม่เอา ผมก็หาแบงก์ที่เขาเอาก็เท่านั้น ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลยจริง ๆ และไม่ต้องให้ใครมาแนะนำ" เขาพูดด้วยความมั่นอกมั่นใจในเครดิตตนเอง

เขายกตัวอย่างการเข้าไปซื้อที่ดินจากหม่อมกอบแก้ว อาภากรณ์ จำนวน 5 ไร่ย่านเอกมัยในราคา 100 ล้านบาทซึ่งก็ไม่ได้ต่อราคาแม้แต่บาทเดียวเช่นเดียวกัน ไม่เคยรู้จักกับหม่อมกอบแก้วมาก่อน เพียงแต่ทราบว่าหม่อมกอบแก้วต้องการขายที่ดินก็ขอเข้าพบ และทราบว่าท่านต้องการนำเงินที่ขายได้ส่วนหนึ่งบริจาคให้โรงพยาบาลราชวิถีและมูลนิธิอีกหลายแห่ง วิลาศก็จัดการตามประสงค์ทันที

เมื่อตกลงซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วก็วางแนวคิดการลงทุนไว้ ซึ่งออกมาว่าจะต้องเป็นทาวเวอร์ที่ออกมาสูง แต่จะต้องรักษาสภาพธรรมชาติไว้ให้สวยที่สุด เสร็จแล้วก็ใช้เวลาเพียงวันเดียวในการหาผู้ร่วมลงทุน

"คุณเชื่อไหมว่าผมไม่เคยสนิทสนมกับคุณชัย โสภณพนิชมาก่อนเลย ผมใช้เวลาเพียง 5 นาทีทางโทรศัพท์เพื่อชวนเขามาร่วมลงทุนในโครงการทาวเวอร์พาร์ค เมื่อฟังผมพูดแล้วคุณชัยโอเคทันที กลุ่มผู้ร่วมลงทุนอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันคุยกันนิดเดียว ส่วนรายละเอียดตามมาทีหลังทั้งสิ้น" วิลาศพูดถึงการทำธุรกิจหาผู้ร่วมทุนของเขาในขณะที่คนข้างนอกคิดว่าวิลาศเป็นเพียงแค่ตัวแทนนายหน้าของกลุ่มชัย ฯ ในการทำธุรกิจที่ดิน

"ผมไม่ได้เป็นตัวแทนใคร แต่โครงการต่าง ๆ มันต้องใช้เงินเงินเป็นพันล้านผมลงทุน คนเดียวไม่ได้หรอกเป็นคนอื่นก็ไม่ไหวเหมือนกันจะต้องหาคนอื่นเข้ามาร่วมลงทุนแบ่งกันตามสัดส่วนความสามารถ ของแต่ละคนไป อย่างทาวเวอร์พาร์คนี่เพียงเดือนเดียวขายได้หมดผู้ลงทุนทุกคนก็รับผลตอบแทนคุ้มกันหมด" วิลาศกล่าวย้ำถึงความสำเร็จโครงการทาวเวอร์พาร์ค

ความมีชื่อเสียงในฝีมือลงทุนค้าที่ดินติดต่อกันมาหลายปี ทำให้เขาเข้ามามีบทบาทในภาคราชการ ถือการเข้าไปเป็นกรรมการในคณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินทั่วประเทศ และอนุกรรมการประเมินราคาที่ดินกรุงเทพมหานครของกระทรวงมหาดไทยในยุคที่พิศาล มูลศาสตรสาทร เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยและมีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการทั้งสองชุดนั้นโดยตำแหน่ง

ภาพของวิลาศเป็นเสมือนกระเป๋าเงินและคนทำงานให้พิศาลไปโดยปริยายในการกว้านซื้อที่ดินชายทะเลป่าเขาทั่วประเทศ รวมทั้งการทำตัวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการประมูลซื้อที่ดินทำเลทองแปลงใหญ่ๆ จากกรมบังคับคดี ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ดินของธนาคารสยามที่ สีลม จำนวน 4 ไร่ กรณีโรงแรมรามาการ์เด้นส์ หรืออย่างกรณีที่ดินของราชาเงินทุนที่สามเสนโดยเฉพาะแปลงหลังล้วนแต่เชื่อกันว่ามี พิศาล มูลศาสตรสาทร เป็นเงาทอดอยู่เบื้องหลังอีก ต่อหนึ่งทั้งสิ้น

"ผมรู้จักกับปลัดพิศาลเพราะพลเอกสิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนก่อนแนะนำ ผมกับพลเอกสิทธิรู้จักกันตั้งแต่สมัยที่เป็นประธานกรรมการมูลนิธิพระเจ้าตากสินและผมเป็นรองเลขานุการ เมื่อท่านมาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยท่านก็เห็นว่าควรจะมีการปรับปรุงการประเมินราคาที่ดินกันใหม่เพื่อให้รัฐไม่เสียประโยชน์จากการจัดเก็บภาษี โดยให้มีคณะกรรมการประเมินขึ้น ท่านก็เห็นควรให้มีเอกชนที่มีความรู้เข้ามาร่วมด้วย" วิลาศพูดถึงที่มาการเป็นกรรมการประเมินราคาที่ดินของมหาดไทย

แต่เดิมการประเมินราคาที่ดินต่ำกว่าความเป็นจริงมากยกตัวอย่างที่สีลม ทางการประเมินไว้เพียงตารางวาละ 40,000-50,000 บาทเท่านั้นเองขณะที่ซื้อขายกันจริงตารางวาละ 150,000 บาท และสิ่งนี้คือที่มาการประเมินราคาที่ดินเพื่อจัดเก็บภาษีใหม่ของกรมที่ดินที่วิลาศมีส่วนอย่างสำคัญยิ่งในการให้ข้อมูลราคาซื้อขายในตลาดที่เป็นจริง

วันนี้ วิลาศ ชลวร กล่าวกับ "ผู้จัดการ"เขาเลิกแล้วทุกอย่าง จะไม่เป็นคู่แข่งของใครอีกต่อไป เพราะว่าถึงเวลาที่เขาบอกไว้กับตัวเองเมื่อ 17 ปีก่อนแล้วว่าเมื่ออายุ 45 แล้วเขาจะวางมือจากธุรกิจซึ่งปัจจุบันนี้เขามีบริษัทในเครือที่กลุ่มถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์และที่ร่วมลงทุนกับกลุ่มอื่นเฉพาะกลุ่มของเขาถือหุ้นตั้งแต่ 50 % ขึ้นไปรวมกัน 14 บริษัท

บริษัทลงทุนของกลุ่มคือบริษัท ชลวร โฮลดิ้งส์ บริษัท เฮ้าซิ่งอินเตอร์ บริษัท ปิยาลัย โฮลดิ้งส์ บริษัทที่ทำธุรกิจได้แก่ บริษัทปิยาลัย รีสอร์ท บริษัทเฟิร์สอันดามัน บริษัทโกลด์ ซัน- บีช บริษัทอันดามัน อินเตอร์ บริษัทพังงา บีช บริษัทพังงา เบชอร์ บริษัทสมุย รีสอร์ท บริษัทบำรุงราษฎร์ เอ็ม.ซี. บริษัทสุขุมวิทนานา บริษัทพุสวรรค์การเกษตร บริษัทชลทะเล รวมทรัพย์สินทั้งในรูปที่ดินและเงินสดมีมูลค่าตามราคาตลาดหลายพันล้านบาท

ทั้งนี้จากการประเมินราคาที่ดินที่เขาซื้อไว้จำนวนนับหลายพันไร่แถบชายทะเลอย่างกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระยอง เฉพาะที่เขาปิหลันที่พังงากว่า 1,000 ไร่นั้นตกประมาณไร่ละไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท

ด้านบริหารเขาวางบทบาทของตัวเองเป็นประธานกรรมการโดยมี อุทัย ชลวร น้องชายของเขาเป็นกรรมการผู้จัดการของกลุ่ม จันทร์ฉาย ชลวร น้องสะใภ้ดูแลทางด้านการเงินและสธน ชลวร น้องชายของเขาอีกคนดูแลทางด้านต่างประเทศ ส่วนตัวเองนั้นหยุดงานการเจรจาต่อรองทางธุรกิจอย่างสิ้นเชิงเมื่อเดือนที่ผ่านมาหลังจากเซ็นสัญญาโครงการปิยาลัยรีสอร์ทเสร็จไปเรียบร้อยเป็นงานสุดท้าย ต่อไปนี้คงจะมีแต่บทบาทในการรับแขกและดูแลการทำงานภายในอย่างห่าง ๆ เท่านั้นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us