Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533
แบริ่งฯ กระบี่มือหนึ่งค้าหุ้นและวิจัย             
 


   
search resources

Stock Exchange
หลักทรัพย์แบริ่ง, บล




มีเหตุผลเชิงธุรกิจที่สำคัญที่อยู่เบื้องหลังการทำมาหากินอย่างเป็นล่ำเป็นสันของบริษัทค้าหุ้นชาติยุโรปในเอเชีย นั่นคือค่าธรรมเนียมค้าหุ้น ที่ตลาดเอเชียไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ จาการ์ตา มะนิลา ไต้หวัน กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ ฮ่องกง และโตเกียวมีอัตราค่าธรรมเนียมที่คิดเอา จากลูกค้านักลงทุนสูงกว่าตลาดหุ้นในยุโรปมาก และอีกประการหนึ่งการแข่งขันในการประกอบธุรกิจค้าหลักทรัพย์และการให้บริการก็ยังไม่รุนแรงเท่าตลาดในยุโรปและอเมริกา

"ยกตัวอย่างตลาดหุ้นกรุงเทพ คิดค่าธรรมเนียมให้บริการค้าหลักทรัพย์สูงถึง 1% ขณะที่ในลอนดอนแข่งขันกันสูงมากไม่ถึง 0.5% ด้วยซ้ำ" แหล่งข่าวในบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำของยุโรปรายหนึ่งเล่าให้ฟังถึงความแพงของค่าธรรมเนียมของตลาดหุ้นกรุงเทพฯ ที่โบรกเกอร์คิดเอาจากนักลงทุน

ปัจจุบันมีบริษัทค้าหลักทรพัย์ยุโรปหลายแห่งเข้ามาลงทุนในลักษณะร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การลงทุนของเจมส์ คาเพิล ในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกชาติ การลงทุนของจาร์ดีนเฟรมมิ่งในบริษัทหลักทรัพย์เอกธนาคมก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น เจ เอฟ ธนาคม การลงทุนของดับบิว ไอคาร์ในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นวธนกิจ การลงทุนของชินตง (บริษัทค้าหลักทรัพย์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์แห่งอังกฤษ) ในบริษัทหลักทรัพย์ชินตงรัตตะ และล่าสุดมีความเป็นไปได้สูงที่ความร่วมมือกันทางธุรกิจ 2 ปี ระหว่างบริษัทค้าหลักทรัพย์แบริ่งกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตร อาจนำไปสู่การร่วมลงทุนในอนาคตปี 2535 ในที่สุด

นอกจากนี้แล้วยังมีบริษัท ค้าหลักทรัพย์ยุโรปและสหรัฐฯ หลายรายที่เวลานี้เปิดในรูปสำนักงานวิจัยเพื่อป้อนข้อมูลภาวะตลาดหุ้นไทยให้กับดีลเลอร์และผู้จัดการลงทุนของตนที่อยู่ในต่างประเทศเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ โตเกียว ลอนดอน ชูริค เช่น บาร์เคย์ โซเอ็ดเว็ดหรือที่รูจักกันในนามบีแส็ทดับบิว บริษัทวิจัยโอโกเว็ด บริษัทวิจัยครอสบี้ บริษัทวิจัยเอส.จีวาร์บวร์ก และสมิท นิวคอร์ท

ความจริงแล้วการที่ตลาดหุ้นไทยมีศักยภาพการเติบโตที่สูงทั้งที่มีจุดอ่อนหลายด้าน โดยเฉพาะความสุกงอมในเหตุผลการลงทุนและให้บริการของเหล่าโบรกเกอร์ท้องถิ่นและความยุติธรรมต่อการปกป้องผู้ลงทุนก็ตาม แต่อัตราค่าบริการการลงทุนที่สูงทำให้จุดอ่อนในประเด็นดังกล่าวกลายเป็นสิ่งที่สำคัญน้อยลงไป

เหตุนี้คือแรงจูงใจสำคัญที่บรรดาสำนักงานตัวแทนวิจัย อยากเข้ามาลงทุนทำธุรกิจค้าหลักทรัพย์ และให้บริการค้าหลักทรัพย์โดยวิธีเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทโบรกเกอร์ท้องถิ่นเนื่องจากไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจค้าหลักทรัพย์โดยตรง

"ทางบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอ็มซีซี กำลังเจรจาอยู่กับสมิทนิวคอร์ท เพื่อแสวงหาลู่ทางความเป็นไปได้ เพื่อผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายในการร่วมมือธุรกิจกัน ในช่วงแรกความร่วมมือจะออกมาในรูปของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันก่อนเช่นสมิทนิวคอร์ท ป้อนลูกค้าจากต่างประเทศผ่านเอ็มซีซี และให้ความช่วยเหลือด้านการสร้างทีมนักวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล ขณะเดียวกันทางเอ็มซีซีก็ให้ส่วนลดด้านค่าธรรมเนียมในจการบริการค้าหลักทรัพย์ในสมิทนิวคอร์ท ซึ่งลักษณะนี้จะเหมือนความร่วมมือระหว่างแบริ่งกับศรีมิตร ต่อจากนั้นอนาคตก็มีความเป็นไปได้สูงที่เอ็มซีซีกับสมิทนิวคอร์ท จะร่วมลงทุนกันทำธุรกิจค้าหลักทรัพย์ในลักษณะหุ้นส่วนกัน อุปมาอุปไมยเหมือนกับก่อนจะแต่งงานกันก็หมั้นหมายดูใจและความประพฤติ ว่าเข้ากันได้หรือเปล่ากันก่อน" แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ เล่าให้ฟังถึงตัวอย่างความเคลื่อนไหวของบริษัทค้าหลักทรัพย์ต่างชาติล่าสุดที่อยากเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย

สมิท นิวคอร์ทเป็นบริษัทตลาดหุ้นแถบเอเชียเหมือนแบริ่ง ปีที่แล้วได้รับการโหวตจากนักลงทุน และผู้จัดการลงทุนทั่วโลกซึ่งจัดการสำรวจโดยนิตยสาร "เอเชียมันนี่" ว่ามีการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สนองความต้องการของผู้ลงทุนได้อย่างประทับใจเป็นอันดับสอง รองจากบีแส็ทดับบิว และให้บริการงานวิจัยที่ยอดเยี่ยมเป็นอันดับ 9 ในตลาดหุ้นฮ่องกง

กล่าวถึงการวิจัยแล้วต้องยอมรับว่าโบรกเกอร์ท้องถิ่นชาวไทยยังค่อนข้างล้าหลังอยู่มาก ส่วนหนึ่งอาจมาจากไม่ค่อยสนใจคุณค่าของความสำคัญในการวิเคราะห์วิจัยพื้นฐานของหุ้นในกระบวนการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนชาวไทย ซึ่งส่วนใหญ่รวมทั้งโบรกเกอร์ด้วยที่มักเคยชินและยอมรับกระบวนการตัดสินใจลงทุนที่อาศัยข่าวที่ถูกสร้างโดยกลุ่มนักปั่นหุ้นที่อยู่ในตลาดมากกว่า

บริษัทค้าหลักทรัพย์ชั้นนำของโลกทุกแห่ง ล้วนมีทีมงานวิจัยที่มีคุณภาพมากมาย เช่นโนมูระของญี่ปุ่นและแบริ่งของอังกฤษที่ว่ากันว่าทั้งสองบริษัทต่างลงทุนในงานวิจัยกันมากที่สุดเมื่อเทียบ กับบริษัทค้าหลักทรัพย์อื่น ๆ ของโลก

นิตยสารโกเบิล อินเวสเตอร์และเอเซียมันนี่ที่มีอิทธิพลต่อนักลงทุนในตลาดหุ้นของโลก ได้ทำการสำรวจเมื่อช่วงกลางปีนี้ถึงความเห็นผู้จัดการลงทุนทั่วโลกที่มีความเชี่ยวชาญ ตลาดหุ้นอาเซียนนับร้อยราย เกี่ยวกับผลงานวิจัยและให้บริการค้าหลักทรัพย์ของบริษัทค้าหลักทรัพย์ทั่วโลก พบว่าบริษัทหลักทรัพย์แบริ่งได้รับการยอมรับจากมาตรฐานงานวิจัย การให้บริการสั่งซื้อขายหุ้น การชำระราคาและส่งมอบหรือรักษาเอกสารหุ้นที่ดีที่สุดถึง 5 ตลาดใน 8 ตลาดของเอเชียคือตลาดกรุงเทพฯ เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับตลาดโตเกียว ซึ่งเป็นตลาดที่มีปริมาณการซื้อขายมากที่สุดของเอเชีย แบริ่งได้รับการยอมรับมากเป็นอันดับแรกจากบรรดาบริษัทค้าหลักทรัพย์ต่างชาติด้วยกัน จะเป็นรองก็แต่โนมูระเท่านั้น จากบรรดาทุกบริษัทที่ค้าหุ้นในตลาดโตเกียว

พูดง่าย ๆ ว่าถ้าจะยกให้บริษัทหลักทรัพย์แบริ่งของอังกฤษเป็นกระบี่มือ 1 ในตลาดหุ้นเอเชียก็ไม่เป็นการกล่าวเกินเลยความจริง

แบริ่งฯ กรุงเทพฯ เปิดสำนักงานวิจัยมาประมาณ 2 ปี แล้วเริ่มต้นทีมนักวิจัยที่มีอยู่เพียง 3-4 คนเท่านั้น แต่เวลานี้มีทีมนักวิจัยมากถึง 14 คน นับว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาบริษัทค้าหลักทรัพย์ทุกบริษัท (แม้แต่บริษัทไทย) ในตลาดหุ้นกรุงเทพฯ

ผลงานวิจัยของแบริ่งมีจุดเด่นอย่างน้อย 3 ประการคือ ประการแรก มีเนื้อหาที่กว้างขวางเชิง มหภาคที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญของภาพรวมทางเศรษฐกิจการเงินระดับประเทศและสาขาธุรกิจที่หุ้นนั้นสังกัดอยู่ในทุกตลาดของเอเชีย ประการสองมีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งทั้งด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกและสาขาธุรกิจเฉพาะด้าน ประการที่สาม มีการนำเสนอที่ดี เข้าใจง่าย

"การลงทุนในตลาดหุ้นเอเซีย ผู้ลงทุนยังขาดข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งในระดับมหภาค ซึ่งตรงนี้แบริ่งฯ ทำได้อย่างวิเศษ" บิลเอ็บเวอร์ตแห่งบริษัทฟิเดลริตี้ กล่าวถึงจุดแข็งงานวิจัยของแบริ่งในตลาดเอเชีย

มองผลงานวิจัยผ่านบริษัทต่างชาติแล้ว มาย้อนดูผลงานวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์ไทยแล้ว คงอีกนานที่จะก้าวพ้นจากความล้าหลังถ้าไม่ริเริ่มลงทุนสร้างระบบและทีมงานวิจัยที่ได้มาตรฐานโลกตั้งแต่วันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us