Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533
วิสุทธิ วิทยฐานกรณ์ เขาสร้าง "องุ่น" จนนำตลาด             
 


   
search resources

น้ำมันพืชไทย, บมจ.
วิสุทธิ วิทยฐานกรณ์
Food and Beverage




เขาคนนี้ไม่ใช่เกิดบนกองเงินกองทองอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ และก็ไม่ใช่เกิดมาในครอบครัวที่ยากจนข้นแค้นถึงขนาดไม่มีอะไรจะรับประทาน พอลืมตาขึ้นมาดูโลกก็มองเห็นพ่อเป็นเถ้าแก่และพี่ ๆ ช่วยกันทำโรงงานปั่นด้ายและโรงสีขนาดย่อม ๆ แล้ว ในขณะที่เขาเองเป็นน้อยชายสุดท้องยังวิ่งคลุกฝุ่นอยู่แถวหน้าโรงงาน

แต่วันนี้เขาได้รับมอบหมายให้เป็น "หลงจู้" ของกลุ่มบริหารทรัพย์สินกว่าพันล้านบาทจากพี่น้องร่วมท้องเดียวกันถึง 8 คน ในขณะที่เขาเป็นน้องชายคนสุดท้องและมีอายุเพียง 37 ปีเท่านั้น

วิสุทธิ วิยฐานกรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด เจ้าของโรงงานน้ำมันพืชตรา "องุ่น" ซึ่งเป็นน้ำมันพืชที่มีส่วนแบ่งตลาด 3,000 ล้านบาท นี้ถึง 25% ถ้าเทียบเคียงกับน้ำมันพืชทุกชนิด และสูงถึง 80% ถ้าเทียบกันเฉพาะน้ำมันพืชที่ผลิตจากถั่วเหลือง ซึ่งตัวเลขนี้มันเพิ่งจะพุ่งขึ้นมาหลังจากที่เขาตัดสินใจเข้าทำงานให้แก่ครอบครัวเมื่อ 5 ปีก่อนนี่เอง

วิสุทธิบอกกับคนทั่วไปเสมอว่าตัวเขาเองนั้นเป็นคนที่เรียนสูงที่สุดในครอบครัว แต่ก็เพียงปีหนึ่งรามคำแหงเท่านั้น ไม่ได้มีปริญญาอะไรมากมายทั้งในและต่างประเทศ

"ผมทำอยู่ทุกวันนี้คืองานจัดการ ซึ่งผมได้รับมาจากประสบการณ์ของตัวเองที่มีทั้งล้มเหลวและประสบความสำเร็จความรู้ผมมีเพียงรามปีหนึ่งเท่านั้นเอง" วิสุทธิ์พูดด้วยความเจียมเนื้อเจียมตัว

ด้วยความที่เป็นน้องชายคนสุดท้องของครอบครัว จึงได้รับการฟูมฟักจากพี่ ๆ ค่อนข้างดี เมื่อถึงเกณฑ์ต้องเข้าเรียนทางบ้านก็ส่งเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนจีนใกล้บ้านย่านตลาดพลูชื่อ "กงลี้จงชัง" พอขึ้นมัธยมต้นก็ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนซันตาคลูส เชิงสะพานพุทธ ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ไกลบ้านเกินไปนัก

เมื่อแตกเนื้อหนุ่มจนขึ้นเรียนมัธยมปลายจึงได้ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล แล้วก็ตรงดิ่งเข้าไปเรียนที่โรงเรียนช่างอุตสาหกรรมหัวหมาก สาขาช่างยนต์ ซึ่งเป็นนักเรียน รุ่นแรกของโรงเรียนแห่งนี้ที่เปิดในปี 2515

การจับกลุ่มร่วมก๊วนระหว่างเพื่อน ๆ ทั้งเก่าและใหม่ก็เริ่มมีขึ้นประปรายตามประสาวัยรุ่น ก่อนที่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลำดับ

เพื่อนร่วมกลุ่มของเขาคนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าวิสุทธิเป็นเพื่อนที่น่ารักของกลุ่ม ไม่ค่อยขัดใจเพื่อน ๆ ไปไหนไปด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่กลุ่มนักเรียนเกเร แต่ชอบสนุกกับการกินและเที่ยวมากกว่าตามประสาลูกเถ้าแก่สมัยนั้น

จบจากช่างอุตสาหกรรมสาขาช่างยนต์ยังไม่คิดจะทำอะไรก็เลยสมัครลงทะเบียนเรียนคณะพาณิชยศาสตร์สาขาการตลาดที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่เรียนได้เพียงปีแรกได้ 20 กว่าหน่วยกิตก็หยุดเรียน เพราะผู้เป็นพ่อเรียกให้ไปเป็นหลงจู้โรงสี ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวที่ตั้งอยู่ที่นครปฐม

ทั้งนี้เพราะว่าสภาพการขาดคนของครอบครัวเริ่มเกิดขึ้นเมื่อโรงงานน้ำมันพืชนครไชยศรี ซึ่งครอบครัวของเขามีส่วนถือหุ้นอยู่ประสบปัญหาการขาดทุนติดต่อกันมายาวนาน จนผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ บริหารทนไม่ไหวถอนตัวออกไปจนหมดครอบครัวของเขาจึงได้เข้าไปซื้อไว้ทั้งหมดและได้ส่งลูก ๆ เข้าไปบริหารเอง

พี่ ๆ ของเขาหลายคนต้องวางมือจากโรงงานทำด้ายและโรงสีเพื่อช่วยกันเข้าไปแก้ไขฟื้นฟูโรงงานน้ำมันพืชที่ซื้อมาให้เต็มกำลัง วิสุทธิจึงถูกดึงไปเป็นหลงจู้โรงสีแทนพี่ชายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

เขากล่าวว่าการที่เขาได้ไปเป็นหลงจู้โรงสีนั้นทำให้เขาได้ประสบการณ์ทาง "การจัดการ" ที่เขาไม่เคยได้เรียนมาเป็นครั้งแรก และก็มีประโยชน์อย่างยิ่งในอีกช่วงหนึ่งที่เขาขึ้นมาเป็นผู้จัดการโรงงานน้ำมันพืชนครไชยศรีซึ่งลักษณะของธุรกิจที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

"ผมเป็นหลงจู้โรงสีอยู่สองปี ทำงานกับผู้ใช้แรงงานจำนวนมาก ๆ ซึ่งก็รู้อยู่ว่าต้องทำใจอย่างมากในการบริหารคนกลุ่มนี้ การจัดการที่สำคัญของธุรกิจนี้อย่างหนึ่งซึ่งแทบจะเรียกว่าเป็นหัวใจของมันเลยก็ได้คือการจัดซื้อ วันหนึ่ง ๆ เราต้องซื้อข้าวเปลือกเป็นหมื่น ๆ กิโลกรัม และข้าวนี่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามันเป็นสินค้าเกษตรซึ่งผลผลิตจะออกเป็นฤดูกาล ทั้งปริมาณและราคาก็มีความไม่แน่นอนสูง คนที่จะทำได้จะต้อง "เชี่ยว" พอสมควร ตอนผมเข้าไปใหม่ ๆ ก็ยังโชคดีทีมีพี่สาวซึ่งปัจจุบันเป็นคนรับผิดชอบการจัดซื้อของกลุ่มที่เชี่ยวชาญด้านนี้มากคอยให้การช่วยเหลือแนะนำ อีกด้านหนึ่งก็คือการขาย พอสีเป็นข้าวสารแล้วก็จะต้องเข้ามาวิ่งขายในกรุงเทพฯ รวมทั้งการขนส่ง ซึ่งเหล่านี้ไม่แตกต่างกับการทำโรงงานน้ำมันพืช พี่ ๆ ที่เคยทำโรงสีพอมาทำโรงงานน้ำมันพืช พี่ ๆ ที่เคยทำโรงสีมาทำโรงงานน้ำมันพืช จึงไปได้ดีไม่มีปัญหา" วิสุทธิพูดถึงการเรียนรู้การบริหารการจัดการครั้งแรกในชีวิตของเขา

วิสุทธิเป็นหลงจู้โรงสีให้พ่ออยู่ 2 ปี ซึ่งเรียกว่ากรำงานหนักพอสมควร ทำให้ชีวิตที่เคยสนุกสนานกับเพื่อนฝูงห่าง ๆ ออกไปบ้าง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อผู้เป็นพ่อของเขาต้องขายโรงสีออกไป เพราะต้องการทรัพยากรทั้งหมดลงไปกับโรงงานน้ำมันพืช ซึ่งรวมถึงตัววิสุทธิเองด้วย

แต่เลือดคนหนุ่มอย่างเขายังร้อนแรง ต้องการออกมาจากครอบครัวทำธุรกิจของตัวเองด้วยความร้อนรุ่ม จึงออกมารวมกับเพื่อน ๆ สองสามคนเปิดร้านอาหารสำหรับคนมีระดับขึ้นที่บางกอกบาซาร์ ราชดำริ พร้อมกันนั้นก็เปิดบริษัทกับเพื่อนที่เป็นสถาปนิกรับออกแบบก่อสร้าง ซึ่งได้รับความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง งานนี้วิสุทธิบอกว่าเขาขาดทุนไปหลายหล้านบาท แต่ก็ได้รับบทเรียนทีคุ้มค่าและก็ได้ใช้ประโยชน์อย่างยิ่งในเวลาต่อมา

เขายอมรับว่าเมื่อก่อนนั้น ความคิดกับความจริง แตกต่างกัน ธุรกิจร้านอาหารเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ ทั้งในเรื่องบุคคลากร สินค้า บริการ วัตถุดิบ การตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกอย่างจะต้องมีพร้อมและทำให้สอดคล้องกัน

วิสุทธิเลือกทำร้านอาหาร และบริษัทรับออกแบบก่อสร้างเพียงเพราะว่าเขาต้องการเป็นตัวของตัวเอง อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง พอดีมีเพื่อนมาชวนทำสองอย่างก็ตัดสินใจทำเลย ไม่ได้คิดว่าเป็นธุรกิจที่ตัวเองถนัดหรือไม่ และธุรกิจที่จะทำนั้นมีรายละเอียดอย่างไร จึงทำให้พลาดและเจ็บปวดมากในครั้งนั้น

อย่างไรก็ตามเมื่อเจ็บปวดกลับไปหา "กงสี" พี่น้องทางบ้านทุกคนก็ยังอ้าแขนต้อนรับและช่วยสะสางหนี้ให้

บทเรียนนี้ทำให้ลดความเร่าร้อนส่วนตัวลงและหันมาช่วยครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง

วิสุทธิเข้าเป็นรองผู้จัดการฝ่ายการผลิตโรงงานน้ำมันพืชนครไชยศรี เมื่อปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่โรงงานกำลังเตรียมการขยายกำลังผลิตครั้งสำคัญจากกำลังผลิตปีละ 200 ตัน เป็น 600 ตันต่อวัน โดยมีการนำเทคนิคด้านการผลิตสมัยใหม่เข้ามาเปลี่ยนและเสริมกับอันเก่าที่มีอยู่เดิม

การขยายโรงงานประสบความสำเร็จด้วยดี จากกำลังผลิต 600 ตันก็เพิ่มขึ้นเป็น 800 ตันในปี 2529 และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ตัน ต่อวันในเร็ว ๆ นี้ จะว่าไปแล้ว วิสุทธิ มีส่วนสำคัญอย่างมากในการควบคุมงานนี้ ภายใต้การสนับสนุนของพี่ ๆ ของเขาทุกคน

วิสุทธิบอกว่า การทำโรงงานน้ำมันพืชโดยเฉพาะน้ำมันถั่วเหลืองนั้นอย่างน้อยจะต้อง "เชี่ยว" สามอย่างคือ การจัดซื้อวัตถุดิบเพราะปริมาณและราคาผันผวนตลอดเวลา สองเทคนิคการผลิต จะต้องจัดหาเทคนิคที่ทันสมัยที่สุดและมีเงื่อนไขในการซื้อขายดี เพราะเป็นต้นทุน ที่สูงมาก และสามการจัดจำหน่ายซึ่งมีการแข่งขันกันสูงมากทั้งน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และกากถั่วเหลือง

โดยเฉพาะการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สองอันหลังนี้มีทั้งคู่แข่งที่แข็งแกร่ง มีสายป่านยาว เจ้าตลาดล้วนแต่มียักษ์ใหญ่คอยหนุนหลังอยู่ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืชกุ๊ก ซึ่งมีกสิกรไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุน หรืออย่างน้ำมันพืชมรกตของกลุ่มปาล์มโก้ ยักษ์ใหญ่น้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย และมีธนาคารทหารไทยเป็นผุ้ให้การสนับสนุน

ส่วนตลาดกากถั่วเหลืองนั้นต้องคอยระมัดระวังการเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐบาล ในการอนุญาตให้นำกากถั่วเหลืองเข้ามาอย่างใกล้ชิดที่สุด และจะต้องแก้ไขสถานการณ์ให้ทันท่วงทีเมื่อมีรัฐมนตรีเข้ามารับผิดชอบงานใหม่ที่อ้าปากที่พูดเรื่องนี้ขึ้นมา

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีทั้งรุกทั้งรับกันอย่างดุเดือดมาโดยตลอด และก็เป็นที่ทราบกันดีในวงการว่า วิสุทธิ วิทยฐานกรณ์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่มีบทบาทสูงในวงการมาโดยตลอด

เมื่อวิสุทธิเข้ามานอกจากได้เปลี่ยนใช้เทคนิคการผลิตแบบใหม่ให้ทันสมัยขึ้นแล้ว ตัวสินค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันพืชเพื่อการบริโภคคือน้ำมันพืชองุ่น บรรจุขวดนั้นก็ได้มีการปรับรูปโฉมใหม่ ทั้งฉลากและแพ็คกิ้ง มีการนำเอาความคิดทางการตลาดสมัยใหม่เข้ามาใช้แบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การวิจัย พัฒนา และวางแผนก่อนที่จะนำสินค้าออกสู่ตลาด ทั้งติดตามภาวะตลาดและคู่แข่งอย่างใกล้ชิด โดยเชิญมานิต รัตนสุวรรณ และอีกหลายๆคนเข้ามาให้คำปรึกษา

เมื่อน้ำมันพืชองุ่นโฉมใหม่ออกสู่ตลาดเมื่อปี 2529 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่วิสุทธิเองได้รับการยกฐานะให้ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการบิรษัทน้ำมันพืชนครไชยศรีอย่างเต็มตัว

"องุ่น" โดยวิสุทธิชูจุดเด่นที่เป็นน้ำมันพืชที่ผลิตจากถั่วเหลืองล้วน ๆ ในขณะที่น้ำมันพืชอื่น ๆ ยังมีส่วนผสมของน้ำมันอื่นอยู่เช่นน้ำมันปาล์ม รำข้าว หรือเม็ดฝ้าย วิสุทธิยังได้หยิบฉวยเอาเรื่องโคเลสเตอรอล ซึ่งคนพากันหวาดกลัวมากในขณะนั้นมาเป็นจุดขาย โดยเน้นให้องุ่นเป็นน้ำมันพืชที่ไม่มีโคเลสเตอรอล ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากตลาดอย่างคาดไม่ถึง

แต่ก็ปรากฏว่า มีการกระโดดเข้ามาสกัดน้ำมันพืชองุ่นในตลาดกันทุกวิถีทางแบบที่เรียกว่ารวมกันตี แต่วิสุทธิก็สามารถแก้ไขสถานการณ์นี้ไปได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ การที่ถูกโจมตีมาก ๆ แทนที่จะเป็จุดดับขององุ่น แต่กลายเป็นจุดเกิดและจุดแข็งขององุ่นจนถึงวันนี้ ในฐานะผู้ชนะอยู่ในเกมส์ธุรกิจน้ำมันพืช

เพียงสามปีต่อมาน้ำมันพืชองุ่นก็ผงาดขึ้นเป็นผู้นำด้านการตลาดน้ำมันพืช เพื่อการบริโภคในตลาดอย่างองอาจและรักษาฐานอันแข็งแกร่งนี้ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน

เมื่อมีการตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ชื่อบริษัทน้ำมันพืชไทยเพื่อเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัทนี้เข้าไปซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทโรงงานน้ำมันพืชนครไชยศรี วิสุทธิก็ได้รับความไว้วางในจากญาติพี่น้องให้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้

บริษัทน้ำมันพืชไทยเป็นกิจการหลักและใหญ่ที่สุดของกลุ่ม "วิทยฐานกรณ์" แบ่งหุ้นออกเป็น 10 ส่วน แย่งกันถือระหว่างพี่น้องคนละส่วนเท่ากัน สองส่วนที่เหลือให้เป็นของผู้เป็นพ่อ

นอกจากนี้ยังมีบริษัทเพื่อลงทุนและร่วมลงทุนกับนักธุรกิจกลุ่มอื่นๆ อีกประมาณ 5 แห่งประมาณมูลค่าทั้งหมดในปัจจุบันเกือบ 2,000 ล้านบาทในการไปลงทุนร่วมกับกลุ่มอื่นจะมีการหารือกันระหว่างพี่น้องโดยมี วิสุทธิ วิทยฐานกรณ์เป็น "หลงจู้" ดำเนินการทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่พี่น้องทุกคนก็จะเอาด้วยตามที่เขาเสนอ

ลูกคนสุดท้องในตระกูลเศรษฐีเมืองไทยอย่างเขา มีน้อยคนนักจะได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องมากขนาดนั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us