Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533
การต่อสู้ครั้งใหม่ของ "ผิน คิ้วไพศาล"             
 


   
search resources

ซาฟารีเวิลด์, บมจ.
ผิน คิ้วคชา
Entertainment and Leisure




นับจากวันที่ 9 ธันวาคมนี้ไปการต่อสู้ของคนที่ชื่อผิน คิ้วไพศาลกับโครงการสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์จะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากการประกาศปิดโครงการเพื่อทำการปรับปรุงสวนสัตว์ใหม่ไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2532 ซึ่งถ้านับจากวันนั้นจนถึงวันที่จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการกินเวลานานถึง 17 เดือนเศษ

ผินใช้เวลาในช่วงที่ปิดกิจการนี้เองเดินทางไปศึกษาและดูงานกิจการสวนสนุกและสวนสัตว์ในต่างประเทศหลายสิบแห่ง และนำกลับมาพัฒนารูปแบบของซาฟารีเวิลด์ให้แตกต่างและดีขึ้นจากเดิม

ถึงแม้ว่าคอนเซ็ปต์ของซาฟารีเวิลด์ใหม่หรือจะเรียกว่าซาฟารีเวิลด์ 2 นี้จะยังคงเป็นสวนสัตว์เปิดอยู่ก็ตาม แต่รูปแบบภายในได้ถูกปรับเปลี่ยนไปในเนื้อที่ที่น้อยลงกว่าเดิมถึงครึ่งหนึ่งคือมีพื้นที่โครงการโดยรวมทั้งหมด 630 ไร่ แบ่งออกเป็นส่วนของซาฟารี พาร์ค ที่ผู้ชมสามารถขับรถเข้าชมสวนสัตว์ โดยสัตว์ทุกตัวจะถูกปล่อยให้อยู่อย่างอิสระอย่างเช่น ม้าลาย ยีราฟ อูฐ แรดขาว รวมถึงสัตว์ดุร้ายประเภทเสือ สิงโต ซึ่งในส่วนนี้จะมีเนื้อที่ถึง 300 ไร่

อีกส่วนหนึ่งที่ปรับเพิ่มเข้ามาใหม่คือส่วนที่เรียกว่า มารีน พาร์ค จะเป็นส่วนที่จัดให้มีโชว์ต่าง ๆ ประมาณ 8 โชว์ มีโชว์ลิงอุรังอุตัง (ชิมแปนซี, ชะนี), โชว์ช้าง, โชว์ปาปัวนิกินี, โชว์ปลาวาฬและปลาโลมา, โชว์ STUNTMAN, โชว์นกและโชว์แมวน้ำ นอกจากนี้ยังมีการโชว์ให้อาหารสัตว์อย่างเช่นโชว์หมีขาว, โชว์ฉลาม เป็นต้น โดยมีพื้นที่ในส่วนนี้ 250 ไร่ และยังมีพื้นที่ในส่วนอื่น ที่เหลืออีก 80 ไร่

ในการปรับปรุงใหม่ครั้งนี้ผินต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีก 500 ล้านบาทจากเดิมที่ลงทุนไปแล้วในโครงการครั้งก่อน 700 ล้านบาท โดยลงทุนเพิ่มในส่วนของสัตว์ประมาณ 80 ล้านบาทและเป็นค่าตกแต่งสถานที่อีก 350 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 70 ล้านบาท เก็บไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

สำหรับการเปิดตัวซาฟารีเวิลด์ในครั้งนี้ผินค่อนข้างมั่นใจในความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้า เมื่อเปรียบเทียบกับความล้มเหลวที่เกิดขึ้นของสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงินซึ่งเป็นประเด็นหลักของความล้มเหลวในครั้งนั้น

ซาฟารีเวิลด์ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2531 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยคาดหวังว่าจะมีคนแห่มาเที่ยวสวนสัตว์เปิดแห่งแรกในประเทศไทยอย่างมากมาย แต่ดูเหมือนการเปิดครั้งนั้นจะไม่เป็นไปตามความคาดหมาย เนื่องจากความไม่พร้อมในหลายด้านของโครงการ ทำให้ผู้ที่มาเที่ยวเกิดภาพลบกับซาฟารีเวิลด์ ทำให้ต่อมาปริมาณคนมาเที่ยวชะลอตัวลง ส่งผลกระทบทันทีในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงินขณะนั้น

การบริหารงานในช่วงนั้น จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถึงแม้ว่าส่วนของการตลาดจะได้มีการวางแผนงานอย่างดีด้วยการนำสิ่งแปลกใหม่มาเสนออยู่เรื่อย ๆ ก็ตาม แต่ข่าวคราวที่ออกมากลับมีแต่ภาพลบไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาด้วยการปลดพนักงานออกถึง 20% (ประมาณ 400 คน หรือการลดเงินเดือนพนักงานระดับผู้จัดการลงอีก 15% )

หากพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนของบริษัท ซาฟารี เวิลด์ จำกัด ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2531 ปรากฎว่าขาดทุนสุทธิเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษ จากรายได้รวมเกือบ 60 ล้านบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมบวกกับต้นทุนขายเป็นเงิน 64 ล้านบาท และในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารตกเป็นค่าเงินเดือนและค่าจ้างกว่า 22 ล้านบาท หรือประมาณ 35%

ที่ดินแถบรามอินทราที่ผินกว้านซื้อทั้งหมดมีประมาณ 4000 ไร่ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งในขั้นแรกผินมีโครงการที่จะพัฒนาที่ดินแปลงนี้ใน 2 รูปแบบ คือพื้นที่จำนวน 1,300 ไร่ เศษ จะพัฒนาเป็นซาฟารีเวิลด์ ส่วนพื้นที่อีก 2,000 กว่าไร่จะทำเป็นหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งแนวคิดนี้เมื่อบงล. ร่วมเสริมกิจได้เข้ามารับรู้ก็ยอมปล่อยเงินกู้ให้แก่โครงการดังกล่าวไป จนกระทั่งต้นปี 2530 ทางซาฟารี เวิลด์ ประสบปัญหาด้านเงินทุนหมุนเวียนจึงยื่นโครงการขอ กู้เงินเพิ่มเติมกับ บงล. ร่วมเสริมกิจ

และครั้งนั้นเองที่ชาตรี โสภณพนิช ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของ ผิน ซึ่งเริ่มพอกพูนเป็นจำนวนเงินมหาศาล ถึงขนาดที่จะทำให้ร่วมเสริมกิจล้มไปได้ในทันที

"ในขณะนั้นผมเป็นหนี้กับทางร่วมเสริมกิจอยู่ประมาณ 1,000 กว่าล้าน" ผินกล่าวถึงก้อนเงินจำนวนมหึมาที่ทำให้ชาตรีต้องโดดเข้ามาดูด้วยตนเอง

วิธีการที่ชาตรีเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ บงล. ร่วมเสริมกิจตั้งบริษัทเรียลเอสเตท เซ็นเตอร์ จำกัด ขึ้นมารับซื้อที่ดินจำนวน 2,300 ไร่จากผินซึ่งเป็นส่วนที่จะดำเนินการหมู่บ้านจัดสรรอยู่แล้ว เพื่อลดหนี้สินของซาฟารีเวิลด์และเสนอให้ตัดถนนเข้าสู่ที่ดินดังกล่าวเป็นระยะทางยาว 7 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณทั้งหมด 60 ล้านบาท โดยที่ซาฟารีเวิลด์ออก 20 ล้านบาท เป็นการเปิดที่ดินไปสู่ซาฟารีเวิลด์โดยตรง และการตัดถนนจะทำให้ราคาที่ดินในแถบนั้นมีราคาสูงขึ้นด้วย

ผินขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับร่วมเสริมกิจไปในราคาไร่ละ 3 แสนบาทในขณะที่ราคาปัจจุบันขึ้นไป 5-8 ล้านบาทต่อไร่ ซึ่งที่แปลงดังกล่าวปัจจุบันได้ถูกจัดสร้างเป็นสนามกอล์ฟปัญญาของปัญญา ควรตระกูล

และในช่วงที่ผินเผชิญกับมรสุมด้านการเงินกระหน่ำอยู่หลังจากการเปิดซาฟารีเวิลด์ ได้ไม่นานก็เป็นช่วงเดียวกับที่อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาและสันติ ภิรมย์ภักดี มีโครงการที่จะทำบ้านจัดสรรขนาดใหญ่พร้อมสนามกอล์ฟชั้นดีในย่านรามอินทรา (โดยใช้ชื่อโครงการ "วินสัน" หลังจากที่เจรจาซื้อที่ดินจากผินสำเร็จ) การติดต่อซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากผินจึงเริ่มขึ้นในช่วยกลางปี 2531 นั่นเอง

ผินตัดสินใจแบ่งขายที่ดินที่เหลืออยู่จำนวน 1,700 ไร่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้พัฒนาเป็นซาฟารีเวิลด์แล้วจำนวน 1,310 ไร่ ขายให้กับกลุ่มของอุกฤษและสันติไป 800 ไร่ในราคาไร่ละ 1 ล้านกว่าบาท ซึ่งมีการโอนกันในเดือนพฤศจิกายนของปีนั้น และเงินที่ได้จำนวนนั้นผินได้นำมาชำระหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่กับ บงล.ร่วมเสริมกิจประมาณ 500 ล้านบาท

"กลุ่มซาฟารีเวิลด์สามารถใช้หนี้ของร่วมเสริมกิจได้จนหมดสิ้นแล้ว และยังเหลือเงินสดในมือไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท แต่เพื่อการดำเนินธุรกิจของเงินทุนหลักทรัพย์ที่จะต้องมีการปล่อยสินเชื่อ เราจึงเจรจาขอให้กลุ่มนี้คงเหลือวงเงินกู้กับเราประมาณ 100 ล้านบาท สรุปแล้วเวลานี้เขามีเงินลงทุนอยู่ประมาณ 400 กว่าล้านบาท เพื่อนำไปพัฒนาโครงการซาฟารีเวิลด์ต่อได้" ดร. ชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท กรรมการผู้จัดการของบงล.ร่วมเสริมกิจเล่าถึงสถานะการเงินของผินให้ฟัง

สำหรับผินแล้วเขากล่าวว่า "ที่ผมต้องตัดที่แบ่งขายนั้น เพราะแบกรับภาระดอกเบี้ยเดือนละ 10 ล้านบาทไม่ไหว อีกทั้งกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เจ้าหนี้นำมาใช้เร่งรัดให้ชำระ ทุกวันนี้ผมเหลือหนี้อยู่น้อยมาแล้ว ซึ่งต่อไปคงไม่เป็นปัญหาอีก"

หลังจากการชำระหนี้แล้ว บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 251 ล้านบาทในช่วงปลายปี 2531 และในปีถัดมาผินก็ได้เฉือนที่ดินจำนวน 240 ไร่ในซาฟารีเวิลด์ขายให้กับกลุ่มของสันติอีก ทำให้ผินเหลือเนื้อที่ในโครงการซาฟารีเวิลด์ ปัจจุบันเพียง 630 ไร่เท่านั้น

การปลอดจากภาระหนี้สินและลงทุนโดยอาศัยเงินทุนตนเองเป็นหลักดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ผินมั่นใจว่าการบริหารงานของเขาในซาฟารีเวิลด์ 2 นี้จะต้องประสบกับความสำเร็จอย่างแน่นอน ประกอบกับการที่ขนาดของโครงการย่อส่วนเล็กลง (ทำให้เห็นสัตว์ต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น) และการนำรูปแบบใหม่ในส่วนของมารีน พาร์คเข้ามาจะเป็นที่ถูกใจของบรรดาผู้เข้าชมมากกว่าเดิม

นอกจากนี้ในส่วนของค่าบริการก็ลดลงจากเดิมอีก 10 บาท คือในส่วนของซาฟารี พาร์ค ผู้ใหญ่บัตรราคา 60 บาท เด็กบัตรราคา 40 บาท ส่วนมารีน พาร์ค ผู้ใหญ่บัตรราคา 100 บาท เด็กบัตรราคา 70 บาท นอกจากนี้ยังมีบริการทำบัตรสมาชิกเที่ยวฟรีตลอดปีในราคา 260 บาท และเที่ยวฟรีตลอด 2 ปีในราคา 320 บาท

"การลงทุนพัฒนาโครงการของเราเป็น 1,000 กว่าล้าน เราสร้างเสร็จจะรื้อทิ้งไปทำไม รื้อทิ้งเราต้องเสียหายมาก อีกอย่างตอนนี้เราไม่มีหนี้สิน เราไม่จำเป็นต้องขาย เพราะถ้าเราคิดจะขายเราก็ไม่สร้างแล้ว คงไม่ต้องห่วง อย่าว่าแต่ 2 ปีเลยต่อให้ 20 ปีก็ไม่ต้องห่วง" ผินกล่าวยืนยันเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคนที่คิดจะสมัครเป็นสมชิกเที่ยวฟรีตลอดปีหรือตลอดไปได้รับทราบ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us