Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2533
เส้นทางเติบโตของเอเวอร์กรีนจากธุรกิจบนผืนน้ำสู่ผืนฟ้า             
 

   
related stories

เอเวอร์กรีนสู่ธุรกิจการบินและการโรงแรม

   
search resources

เอเวอร์กรีนกรุ๊ป
Logistics & Supply Chain




กัปตันเรือชาวไต้หวันวัย 63 ปีอย่างชาง ยุง-ฟา ก้าวขึ้นเป็นเจ้าของธุรกิจทางด้านขนส่งสินค้าทางเรือของโลกทุกวันนี้ ด้วยการสร้างกิจการเดินเรือ "เอเวอร์กรีน" จากบริษัทเล็ก ๆ ที่มีเรือของตนเองเพียงหนึ่งลำจนเป็นบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเรือบรรทุกสินค้า 65 ลำกับพนักงาน 6,000 คนและยอดรายได้ปี 1989 สูง 925 ล้านดอลลาร์อีกทั้งกำลังสร้างความฮือฮาให้กับธุรกิจแขนงนี้ ด้วยแผนเปิดสายการบินนานาชาติขึ้นในชื่อ "อีวา แอร์เวย์" รวมทั้งเตรียมสร้างเครือข่ายโรงแรมทั่วภูมิภาคเอเชียอีกด้วย

แต่เบื้องหลังความสำเร็จของกิจการในขณะที่คู่แข่งร่วมธุรกิจต่างต่อสู้ดิ้นรนกับภาวะตกต่ำของธุรกิจแขนงนี้ ได้ก่อให้เกิดคำถามที่หลาย ๆ คนในวงการพากันสงสัยว่า ชางได้รับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นมากมายเพียงใด จึงสามารถสร้างอาณาจักรธุรกิจขนาดมโหฬารเช่นนี้

ปลายปีที่แล้ว ธนาคารฮอกไกโด ทากุโชกุแห่งญี่ปุ่น ได้ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งเข้าไปบริหารเงินทุน 170 ล้านดอลลาร์ ในนามของเอเวอร์กรีน มารีน คอร์ป หลังจากนั้น มารุเบนิ..กลุ่มบริษัทการค้ายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นก็เข้าบริหารการซื้อเครื่องบินมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ เท่ากับเป็นการให้ภาพชัดเจนของบทบาทและสายสัมพันธ์ระหว่างเอเวอร์กรีนกับบริษัทธุรกิจของญี่ปุ่นเป็นอย่างดี

และถ้าจะสืบสาวย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยที่ชาง ทำงานให้กับ "ไต้หวัน มาริไทม์ ทรานสปอร์ต" ในช่วงทศวรรษ 1960 จนได้เป็นผู้อำนวยการของเซ็นทรัล มารีน ในภายหลัง ตลอดระยะเวลาดังกล่าวชางติดต่อธุรกิจกับมารุเบนิเรื่อยมา จนแม้ชางเกิดขัดแย้งกับคณะกรรมการบริหารของเซ็นทรัล มารีนแล้วออกมาตั้งบริษัทของตนเองในปี 1968 ชื่อ "เอเวอร์กรีน" มารุเบนิก็ยังสนับสนุนเอเวอร์กรีน ในการซื้อเรือยนต์มือสองเพื่อใช้เป็นเรือบรรทุก สินค้าลำแรกครั้นเมี่อเรือลำดังกล่าวเกิดไฟไหม้ขณะบรรทุกสินค้ามุ่งหน้าสู่ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เอเวอร์กรีนก็ได้รับความช่วยเหลือจากยาสุดะ ไฟร์แอนด์มารีน ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่มีความร่วมมืออย่างหลวม ๆ อยู่กับมารุเบนิด้วย

กิจการเอเวอร์กรีนเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและถึงกับกำหนดอัตราการจัดเก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าเอง โดยไม่สนใจอัตราที่บริษัทชิปปิ้งกำหนดร่วมกันเป็นมาตรฐาน นอกจากนั้นชางยังพยายามหาทางลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอีกด้วย เขาใช้ความรู้และประสบการณ์ทางด้านชิปปิ้ง เพื่อออกแบบเรือขนส่งสินค้าให้เดินทางได้รวดเร็วขึ้น จากนั้นติดตั้งระบบการดำเนินการตรวจสอบบัญชีรายการสินค้าของเอเวอร์กรีนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

ในช่วงที่เอเวอร์กรีนก่อตั้งกิจการใหม่ ๆ ชางใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ที่ญี่ปุ่น ความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นกับความเต็มใจที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นช่วยให้ชางบริหารกิจการไปได้อย่างดีโดยมารุเบนิเป็นฝ่ายป้อนสินค้าให้ชาง และชางก็บรรทุกไปจำหน่ายยังไต้หวัน, สหรัฐฯและยุโรปตามลำดับ นับวันความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างมารุเบนิกับเอเวอร์กรีนก็ยิ่งแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ปีหนึ่ง ๆ มารุเบนิซัพพลายสินค้าจำพวกเหล็กและน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเอเวอร์กรีนเป็นมูลค่าถึง 35,000 ล้านเยน นอกจากนั้น มารุเบนิยังเป็นฝ่ายแนะนำให้เอเวอร์กรีนได้ติดต่อกับโอโนมิชิ ด๊อกยาร์ด ซึ่งต่อเรือให้กับเอเวอร์กรีน 18 ลำด้วยกัน และยาสุดะ ไฟร์แอนด์มารีน ก็รับประกันเรือของเอเวอร์กรีนถึง 90% นับเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดในประเภทการประกันภัยทางทะเล

ความสัมพันธ์กับมารุเบนิอย่างใกล้ชิดนี่เองที่ทำให้เกิดข่าวลือว่าเอเวอร์กรีนเป็นบริษัทที่นักลงทุนญี่ปุ่นเป็นฉากหน้าในการเข้าไปลงทุนในไต้หวัน แต่ทั้งมารุเบนิและเอเวอร์กรีนต่างปฏิเสธข่าวลือดังกล่าว "ไม่มีใครเข้าไปถือหุ้นของอีกบริษัทหนึ่ง" ชาง คูโอ-ฮู...บุตรชายคนโตของชางให้ความเห็น

แต่ผลประโยชน์อย่างหนึ่งที่มารุเบนิได้จากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับเอเวอร์กรีนก็คือ การได้ลดค่าขนส่งสินค้าในอัตราพิเศษ ช่วงทศวรรษ 1960 อัตราภาษี, ค่าเงินเยนที่แข็งตัวและปัญหาสหภาพแรงงานในญี่ปุ่น ส่งผลสะเทือนจนบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือของญี่ปุ่นไม่อาจแข่งขันกับคู่แข่งชาติอื่นได้มารุเบนิจึงต้องหาพันธมิตรเพื่อให้ได้ความได้เปรียบในจุดนี้ นอกจากมารุเบนิแล้ว เอเวอร์กรีนยังได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่งคือทากุกิน ซึ่งเสนอเข้าบริหารการเงินในกิจการเดินเรือของเอเวอร์กรีนบางส่วนในปี 1982 และยังจัดสรรวงเงินกู้ยืมระยะกลาง กับรับประกันให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อซื้อเรือบรรทุกสินค้าเพิ่มเติมอีก 6 ลำด้วย ปีถัดมาก็ได้จัดสรรวงเงินซื้อเรือบรรทุกสินค้าเพิ่มอีก 27 ล้านดอลลาร์ จนที่สุดมากุกินจึงกลายเป็นธนาคาร ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่เอเวอร์กรีนอย่างเป็น ทางการ

แต่สิ่งที่สร้างความงุนงงให้กับผู้เฝ้าสังเกตการณ์ อยู่ก็คือว่า เอเวอร์กรีนไม่เคยยอมเปิดเผยแหล่งระดมเงินทุนเพื่อขยายกิจการของตนนับจากปี 1982 จนถึงปี 1986 เอเวอร์กรีน สามารถเพิ่มทุนดำเนินงานได้ถึง 14 เท่าหรือจาก 400 ล้านดอลลาร์ไต้หวันเป็น 5,500 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน โดยที่เอเวอร์กรีนได้แต่อ้างอิงแหล่งเงินทุนสำคัญของตนว่าคือ "เอเวอร์กรีน อินเตอร์เนชั่นแนล" อันเป็นบริษัทแม่และจดทะเบียนในปานามา มีครอบครัวของชางถือหุ้นอยู่ 100% เท่านั้น

และที่น่าสงสัยยิ่งขึ้นก็คือ ปี 1986 เอเวอร์กรีนเป็นกิจการทำกำไรถึง 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากกว้านซื้อเรือบรรทุกสินค้าไว้ 24 ลำเป็นมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่ช่วงกลางทศวรรษ 1980 นั้นอุตสาหกรรมเดินเรือบรรทุกสินค้าทั้งระบบทรุดดิ่งลงจากการแข่งขันสูงและมีบริษัทกระโจนเข้ามาทำธุรกิจประเภทนี้มากเกินไป จนหลายบริษัทต้องพับฐานไป "ยู.เอส.ไลน์" ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือชั้นนำของสหรัฐฯ ถึงกับถูกฟ้องล้มละลาย ขณะที่ "ซีแบนด์." ที่ก่อตั้งโดยมัลคอม แม็คลีน. "บิดาแห่งการเดินเรือบรรทุกสินค้า" ก็พบกับภาวะขาดทุนอย่างมหาศาล เหล่านี้ล้วนแต่สวนทางกับเอเวอร์กรีนที่เติบโตอย่างพุ่งพรวดจนวงการต่างประหลาดใจไปตาม ๆ กัน

ชางนั้นตั้งเป้าหมายให้กิจการเอเวอร์กรีนสามารถให้บริการขนส่งสินค้าได้ในทั่วโลก แม้ว่าคู่แข่งหรือผู้ที่อยู่ในวงการจะเห็นว่า ความฝันตรงนี้ของชางอาจทำให้กิจการของเขาถึงคราวล่มสลายเสียมากกว่าแต่ด้วยยุทธวิธีทุ่มลงทุนต่อเรือ เสนอบริการใหม่ ๆ และตัดราคาคู่แข่ง ปัจจุบันเอเวอร์ กรีนจึงมีโรงงานผลิตตู้คอนเทนเนอร์ป้อนบริษัทตัวเองและบริษัทลูกค้า ในแง่การขายก็มีสำนักงานขายใน 70 ประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะในเส้นทางมหาสมุทรแปซิฟิก อันเป็นเส้นทางเดินเรือบรรทุกสินค้าใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งสามารถให้บริการเดินเรือสินค้าในทั่วโลกได้ตั้งแต่ปี 1984 โดยการเชื่อมประสานการทำงานของเรือในน่านน้ำต่าง ๆ จนรอบโลก

เอเวอร์กรีนยังมีจุดเด่นตรงความสะดวกรวดเร็ว เพราะเรือทุกลำสื่อสารกับสำนักงานภาคพื้นดินผ่านดาวเทียม หรือไม่ก็ทางเครื่องโทรสาร อีกทั้งดำเนินธุรกิจด้วยต้นทุนต่ำ เพราะใช้อุปกรณ์ทันสมัยล้ำหน้าคู่แข่ง จึงเสียเงินจ้างพนักงานน้อยกว่าสายการเดินเรืออื่น ๆ

กองเรือบรรทุกสินค้าของเอเวอร์กรีนทุกลำตั้งชื่อให้นำหน้าด้วยคำว่า "เอเวอร์" ทั้งหมด เช่น เอเวอร์การ์ด, เอเวอร์โกอิ้ง, เอเวอร์กลอรี่, เอเวอร์โกลเด้น, เอเวอร์ไชน์ ฯลฯ นอกจากนั้นตู้บรรทุกสินค้าของเอเวอร์กรีนทุกตู้ยังทาสีเขียวสดทั้งหมด และหมายรวมถึงอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในไทเป เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน หรือแม้แต่เครื่องแบบพนักงานหญิงก็เป็น "สีเขียว" ทั้งสิ้น

นอกเหนือจากธุรกิจเดินเรือบรรทุกสินค้าแล้วกิจการในส่วนอื่น ๆ ก็มี "เอเวอร์มาส

เตอร์" และ "เอเวอร์เซฟตี้" อันเป็นจุดขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ในไต้หวัน "เอเวอร์ กลอรี่ ทรานสปอร์ต" ที่ทำกิจการรถบรรทุก, "เอเวอร์ลอเรล" ...บริษัทการค้าระหว่างประเทศในญี่ปุ่น, "เอเวอร์จีเนียส"...บริษัทซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ และล่าสุดก็กำลังเตรียมการเข้าสู่ธุรกิจการบิน โดยตั้งสายการบินอีวา แอร์เวย์ขึ้น (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ)

ชางมีนโยบายขยายแนวธุรกิจของเขาออกไปอีกโดยเฉพาะด้านโรงแรมและการขนส่งภาคพื้นดิน "ธุรกิจเดินเรือมีข้อจำกัดสูงมาก ตอนนี้เราอาจมาถึงขีดจำกัดของมันแล้วด้วยซ้ำ" เขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อปี 1986 และจุดนี้เองที่ช่วยไขปริศนาได้ว่าทำไปเอเวอร์กรีนจึงพลิกจังหวะก้าวของตนเองเข้าสู่ธุรกิจการบินและธุรกิจโรงแรม

ปัจจุบันเอเวอร์กรีนในไต้หวันเป็นบริษัทที่คนใฝ่ฝันอยากเข้าทำงานด้วย ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่จ่ายค่าจ้างสูงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะสมาชิกจะมีความผูกพันกันแบบครอบครัวและมีความภักดีต่อองค์กรอย่างมาก ถึงขนาดที่พนักงานรายหนึ่งชี้ว่า "คุณอาจจะเป็นคนโง่" แต่ขอให้มีความภักดีต่อบริษัทก็แล้วกัน ซึ่งก็เข้ากับนโยบายของบริษัท ที่เน้นการฝึกและสร้างคนขึ้นมาเองมากกว่าที่จะซื้อตัวจากบริษัทอื่น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us