Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2533
อดีตที่ยาวนานของไอบีเอ็มไทย             
 

   
related stories

สมภพ อมาตยกุล ในสถานการณ์ "สมองไหล" ที่ไอบีเอ็ม?!!

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
Computer




ไอบีเอ็ม ประเทศไทยเป็นบริษัทต่างชาติที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง อายุหากนับตั้งแต่ไอบีเอ็ม คอร์ปอร์เรชั่นเข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทนที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2491 ก็รวม 42 ปีซึ่งในเวลานั้น ยังไม่มีผู้ใดประดิษฐ์คิดค้นเครื่องสมองกลจนกระทั่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกง่ายดายเหมือนปัจจุบันสินค้าชนิดแรกที่ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่นแนะนำเข้ามาในเมืองไทยเมื่อปี 2494 คือเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าภาษาไทย

ปี 2495 ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่นจึงจัดตั้งไอบีเอ็ม ประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการและถือหุ้นในบริษัทลูกแห่งนี้ 100 % เต็ม หน่วยงานราชการแห่งแรกที่ใช้เครื่องไอบีเอ็ม 1401 คือสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งก็กลายมาเป็นลูกค้าประจำที่ใช้แต่เครื่องไอบีเอ็มตลอดมาจนปัจจุบัน

นอกจากจะเป็นผู้ขายเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ไอบีเอ็มยังมีชื่อเรื่องเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าสองภาษา คือไทย-อังกฤษ หรือเรียกว่า IBM DUALECTRIC

ไอบีเอ็มเริ่มประสบความสำเร็จขึ้นเรื่อย ๆ ปี 2521 มีรายรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 10 ล้านดอลลาร์และในเวลาเพียง 3 ปีถัดมายอดรายรับก็เพิ่มเป็น 20 ล้านดอลลาร์

ไอบีเอ็มใช้วิธีจำหน่ายเครื่องผ่านตัวแทนเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2526 โดยสองบริษัทแรก ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่อง PC คือ SCT และ COMPUTER UNION ซึ่งก็ ยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็มด้วยดีเสมอมาจนปัจจุบัน

เมื่อธุรกิจค้าคอมพิวเตอร์และ INFORNATION TECHNOLOGY เติบโตมากขึ้น ไอบีเอ็มได้จัดตั้ง INTERNATIONAL PROCUREMENT OFFICE (IPO) ขึ้นที่เมืองไทย เพื่อทำหน้าที่จัดซื้อชิ้นส่วนส่งไปให้โรงงานผลิตของไอบีเอ็ม ที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

รายการจัดซื้อแรกสุดคือสายเคเบิลสำหรับคีย์บอร์ดเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่งไปให้โรงงานไอบีเอ็มในสหรัฐฯ โดยก่อนที่จะจัดซื้อได้นั้นต้องผ่านกระบวนการทดสอบคุณภาพสินค้าตามมาตรฐานของไอบีเอ็มเสียก่อน แล้วไอบีเอ็มจึงจะกำหนด SPEC มาให้ผลิต

นอกจากสายเคเบิลแล้ว ก็มีการจัดซื้อ DISK DRIVE พัดลมและมอเตอร์ระบายความร้อน แผงวงจร SEMICONDUCTER เป็นต้น

ปี 2530 นับเป็นปีสำคัญของไอบีเอ็ม มีการย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ตึกไอบีเอ็ม ถนนพหลโยธิน ซึ่งโอ่โถงและเป็นสำนักงานอัตโนมัติที่สมบูรณ์ การตั้งสำนักงานจัดซื้อในไทยเมื่อหลายปีก่อน ทำให้ไอบีเอ็ม (ญี่ปุ่น) และไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) ร่วมลงทุนกับสหยูเนี่ยนเพื่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ขึ้นในปี 2531 และในปีนี้เอง ไอบีเอ็มมีรายรับพุ่งทะยานขึ้นเป็น 62 ล้านดอลลาร์

ปีต่อมาไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) ได้รับเลือกให้เป็น COUNTRY OF THE YEAR ประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยยอดขายทะลุ 2,000 ล้านบาท !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us