Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533
ก่อนถึงหนึ่งศตวรรษ...ฟิลิปส์จะอยู่หรือไปในโลกธุรกิจ?             
 


   
search resources

Electronic Components
ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บจก.
แจน เดิร์ก ทิมเมอร์




ต้นเดือนกรกฎาคม แจน เดิร์ก ทิมเมอร์ ชาวดัทช์วัย 57 ปี ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานบริหารคนล่าสุดของฟิลิปส์…บริษัทผู้ผลิตสินค้าคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ของเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากคอร์ ฟอน เดอ คลุจท์ที่ลาออกไป ทั้งที่เคยมีผู้คาดการณ์ว่า ลูกหม้อเก่าของฟิลิปส์อย่างคลุจท์จะกุมบังเหียนกิจการไปจนถึงปี 1991 อันเป็นปีที่บริษัทจะมีอายุครบ 100 ปี

สาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารสูงสุดในครั้งนี้ก็เพราะ ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากิจการของฟิลิปส์นั้นสั่นไหวอยู่ตลอด จากข่าวตกเป็นเป้าหมายการเทคโอเวอร์จนต้องปรับโครงสร้างองค์กรไปหลายระลอก ล่าสุดถึงขนาดที่รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายการดำเนินการประจำไตรมาสแรกของปี 1990 ตกจาก 223 ล้านกิลเดอร์ เหลือ 6 ล้านกิลเดอร์ และยังคาดหมายยอมขาดทุนประจำปีนี้ว่าจะสูงถึง 2,000 ล้านกิลเดอร์ ทั้งที่ปีก่อนทำกำไรได้ถึง 1,370 ล้านกิลเดอร์ จนบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างหวาดหวั่นกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากที่เคยเชื่อมั่นกับคำพูดของคลุจท์ ที่ย้ำในงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีว่าผลประกอบการปีนี้มีแนวโน้มดี

ตัวการที่คอยฉุดดึงให้ฟิลิปส์ต้องขาดทุนขนาดหนักในครั้งนี้ก็คือ ธุรกิจในส่วนระบบข้อมูลและคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยเฉพาะการที่ฟิลิปส์มัวแต่ทุ่มเทให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเฉพาะของตนเอง (OWN SYSTEM) โดยลืมไปว่าแนวโน้มของตลาดนั้นหันมาให้ความสนใจกับระบบเปิด (OPEN-SYSTEM) ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิตรายอื่นมากขึ้นทุกขณะ และเมื่อฟิลิปส์ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ได้ กิจการโดยรวมจึงซวนเซไปด้วย แม้ว่าฟิลิปส์จะพยายามแก้ปัญหาด้วยการเจรจาร่วมทุนกับโอลิเวตติแห่งอิตาลี เพื่อพัฒนาธุรกิจส่วนนี้ แต่ก็ต้องล้มเหลวไปเพราะไม่อาจตกลงกันได้ ในส่วนของผลประโยชน์สำคัญของทั้งสองฝ่าย

ที่จริง วีส เดคเกอร์ อดีตประธานบริหารของฟิลิปส์เคยพูดถึงบริษัทของตนด้วยความภาคภูมิใจเมื่อปี 1982 ว่า ฟิลิปส์เป็นบริษัทข้ามชาติรายเดียวเท่านั้นที่ยังแข็งแกร่งพอที่จะต่อกรกับญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ ในเมื่อยักษ์ดัทช์รายนี้ยังคงไว้ซึ่งงานวิจัยและพัฒนารวมทั้งผลิตสินค้าด้วยตนเอง ผิดกับบริษัทอเมริกันระดับเบิ้ม ๆ ทั้งหลายที่พากันถอยทัพยอมแพ้ และยกเลิกอุตสาหกรรมผลิตสินค้าประเภทนี้ไปหมดแล้ว หวังพึ่งเฉพาะสินค้าราคาถูกของญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่

เดคเกอร์อดเสียดายแทนบริษัทอเมริกันไม่ได้ที่ตัดสินใจทิ้งอุตสาหกรรมแขนงนี้ให้ตก ไปอยู่ในกำมือของญี่ปุ่น เพราะระบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ล้วนต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ถ้าถอนตัวออกจากส่วนสำคัญของคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ก็เท่ากับว่า "หลุดจากวงโคจรแห่งการเรียนรู้ และคุณจะไม่มีวันหวนกลับมาไล่ทันได้อีก"

คลุจท์เองก็มีความเห็นในทำนองเดียวกันกับเดคเกอร์ "ญี่ปุ่นไม่ใช่พระเจ้า" เขาให้สัมภาษณ์ในนิตยสารบิสซิเนส วีคไว้อย่างนั้น "เรา (ฟิลิปส์) ยังคงสามารถประดิษฐ์คิดค้นสินค้าได้เองอยู่" เพราะฟิลิปส์มีห้องแล็บเพื่อการวิจัยและพัฒนาถึง 8 แห่ง และทุ่มงบประมาณเพื่อการนี้ปีละกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ และยังมีโครงการร่วมทุนกับยักษ์ใหญ่ระดับโลกนับสิบบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการผลิตหลอดไฟร่วมกับมัตสุชิตะ, ผลิตคอมแพ็คดิสก์ร่วมกับโซนี, ระบบโทรคมนาคมกับเอทีแอนด์ที หรืออุปกรณ์ในสตูดิโอ โทรทัศน์กับบอช เป็นอาทิ

แต่ในขณะที่รั้งตำแหน่งอันดับ 2 ของโลกทางด้านสินค้าคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์รองจาก มัตสุชิตะจากแดนซามูไร และยังได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในบรรดาผู้บุกเบิกแห่งโลกคอน ซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ จากที่มีผลงานการประดิษฐ์เครื่องเล่นเทปคาสเซตต์สำเร็จ เมื่อทศวรรษ 60 ผลิตกล้องถ่ายวีดีโอได้ในทศวรรษ 70 และคอมแพ็คดิสก์ ในทศวรรษ 80 ฝีมือในเชิงการตลาดของฟิลิปส์กลับแย่เอามาก ๆ จึงพ่ายแพ้แก่คู่แข่งญี่ปุ่นในจุดนี้ และทำให้ฟิลิปส์เป็นที่หมายปองของบรรดานักล่าซื้อกิจการเรื่อยมา โชคดีอยู่หน่อยก็ตรงที่เนเธอร์แลนด์มีกฎหมายและเครื่องมือป้องกันเทคโอเวอร์กิจการบริษัทหลายอย่างฟิลิปส์จึงรอดพ้นวิกฤติไปได้โดยปริยาย

ยิ่งกว่านั้น ความเก่าแก่ของฟิลิปส์ซึ่งนัยหนึ่งช่วยให้ฟิลิปส์สั่งสมความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของบริษัทมาได้นาน แต่ขณะเดียวกันก็ได้ทำให้ฟิลิปส์เติบโตขยายฐานออกไปจนมีขนาดใหญ่โตเทอะทะในลักษณะเดียวกับระบบราชการด้วยพนักงานของฟิลิปส์ในกว่า 60 ประเทศมีจำนวนถึงราว 305,000 คนทีเดียว แถมฟิลิปส์มีสไตล์การบริหารประเภท "พ่อ ปกครองลูก" และเน้นการทุ่มเทกำไรไปเน้นความมั่นคงในด้านการจ้างงานจนมีชื่อเสียงเลื่องลือในแง่สวัสดิการพนักงานชนิดที่ไม่น้อยหน้าพนักงานของรัฐ

แต่จากปัญหาที่รุมเร้าฟิลิปส์อย่างหนักหน่วงมากขึ้น ระยะหลังฟิลิปส์จึงต้องเริ่มเล่นบทโหดที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปรับโครงสร้างด้วยวิธีลดต้นทุนอย่างที่บริษัทอื่นใช้ ซึ่งก็หมายความว่าจะต้องมีการปิดโรงงานและปลดพนักงานออกครั้งใหญ่ ช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการโละพนักงานออกไปทั้งสิ้น 32,000 คน และปิดโรงงานถึง 75 แห่งจากที่มีอยู่ทั้งหมด 420 แห่ง

นอกจากนั้นยังขายกิจการที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักอย่างเช่น ธุรกิจผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และกิจการผลิตยาสีฟัน ออกไป อีกทั้งตกลงผนวกกิจการในส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนกับ เวิร์ลพูลแห่งสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว โดยขายหุ้นราว 53% ให้กับเวิร์ลพูล และถือหุ้นในมือราว 47% เพื่อจะได้มีเวลาทุ่มเทให้กับสินค้ากลุ่มที่ตนมีความถนัดมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าฟิลิปส์จะขายกิจการหรือหาผู้ร่วมทุนในธุรกิจผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์เพิ่มเติมอีกด้วย

ในส่วนของโครงสร้างการบริหารงานนั้น ที่ผ่านมาฟิลิปส์จะเน้นความสำคัญของการตัดสินใจจากส่วนกลางหรือสำนักงานใหญ่เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากแนวทางของคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นไอบีเอ็ม, เจเนอรัลอิเล็กทริค หรือโซนี่ แต่นับจากนี้ ฟิลิปส์จะต้องเปลี่ยนนโยบายของตนเสียใหม่ โดยกระจายอำนาจให้ระดับผู้จัดการมีอำนาจการตัดสินใจมากขึ้น ทั้งในเชิงการกำหนดยุทธวิธีขายและทำกำไรนั่นก็คือว่า แผนกสินค้าแต่ละแผนกย่อมรับผิดชอบบัญชีรายได้ของตนเองได้

ติดตามด้วยการจัดระเบียนธุรกิจในเครือให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น โดยแบ่งธุรกิจหลักออกเป็น 4 แขนงใหญ่ ๆ ด้วยกันคือธุรกิจผลิตหลอดไฟ, คอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีข้อมูล

ธุรกิจผลิตหลอดไฟฟ้านั้นเป็นส่วนที่ทำกำไรให้กับบริษัทถึงราว 1 ใน 3 เพราะหลอดไฟฟ้าฟิลิปส์นั้นได้ชื่อว่าเป็นหลอดไฟฟ้าที่ดีที่สุดในโลก ครองส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกถึง 30% ฟิลิปส์จึงเดินหน้าพัฒนาธุรกิจส่วนนี้ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟฟ้าชนิดประหยัดพลังงานหรือการบุกเบิกเปิดตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันออก

ในส่วนคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์นั้น มีหัวหอกสำคัญคือบริษัทโพลีแกรมที่อยู่ในเครือและเพิ่งฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จอย่างงดงาม ด้วยฝีมือของแจน ทิมเมอร์ ในปี 1987 ธุรกิจในส่วนนี้จะรวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายคอมแพ็ค ดิสก์ด้วย

ด้านชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น สินค้าที่เด่นของฟิลิปส์ก็คือซิพดีแรม เพียงแต่ยังเป็นส่วนที่ฟิลิปส์มีส่วนแบ่งตลาดอยู่น้อย ทั้งที่เป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด ปัญหาสำคัญในขณะนี้จึงอยู่ที่การพยายามเปิดตลาดชิพในญี่ปุ่นและกลุ่มอาเซียนให้ได้

ส่วนกิจการด้านเทคโนโลยี่ข้อมูล บริษัทวิจัยดาต้า เควสท์แห่งสหรัฐฯ เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หากฟิลิปส์ต้องการให้กิจการส่วนนี้ของตนรุ่งโรจน์ขึ้นอีกครั้ง ภายในปี 1991 ฟิลิปส์จะต้องเร่งสางปัญหาภายในธุรกิจนี้ให้ได้ เพราะปัจจุบันนี้ฟิลิปส์มีส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ในยุโรปเพียง 1% เท่านั้น นับว่ายังห่างไกลจากคู่แข่งทั้งค่ายโอลิเวตติและซีเมนส์อยู่มาก

ฟิลิปส์ก็ได้ปรับปรุงกิจการในส่วนนี้ไปเมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยคงธุรกิจด้านฮาร์ดแวร์และระบบคอมพิวเตอร์แบบเปิดที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทอื่น ๆ ได้เอาไว้ และเร่งลดการผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบเฉพาะของตัวเองลง ผลจากการปรับโครงสร้างในส่วนนี้จะกระทบถึงแผนกธุรกิจระบบข้อมูลทั้งในส่วนนี้จะกระทบ ถึงแผนกธุรกิจระบบข้อมูลทั้งในเนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, เยอรมนีตะวันตก, สวีเดน, สหรัฐฯและแคนาดา

ภาระหน้าที่อีกอย่างของฟิลิปส์ก็คือ การทำให้เป็นองค์การระดับโลกอย่างแท้จริง ซึ่งหมายถึงการเข้าไปสร้างฐานตลาดในอเมริกาเหนือและเอเชียให้มั่นคงจนทำยอดขายได้ถึง 1 ใน 3 ของยอดขายรวมประจำปี การจะเป็นเช่นนี้ได้ ฟิลิปส์จะต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ประสานการประหยัดตามขนาด (ECONOMY OF SCALE) ในกระบวนการผลิตสินค้าให้เข้ากับทักษะ ทางการตลาดที่มีความยืดหยุ่น และปรับตัวตามความ ต้องการของท้องถิ่นแต่ละแห่งด้วย ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพาเฉพาะตลาดยุโรปเป็นหลักอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต

แต่ภาระหน้าที่ทั้งหลายทั้งปวงข้างต้นก็ใช่ว่าจะลุล่วงไปได้โดยง่าย ประธานบริหารอย่างทิมเมอร์ ผู้ได้รับฉายาต่าง ๆ นานา (อ่านประวัติได้ในล้อมกรอบ) จะพานาวาธุรกิจลำมหึมานี้ไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่นับจากนี้คือช่วงเวลาที่จะพิสูจน์ฝีมือของเขาอีกครั้งหนึ่งโดยมีเดิมพันคือกิจการอายุร่วม 100 ปีอย่างฟิลิปส์นั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us