Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
You've Got a Mail จดหมายไม่มีลายมือในยุคอินเตอร์เน็ต             
 


   
search resources

Networking and Internet




จดหมายไม่มีลายมือในยุคอินเตอร์เน็ต

ปริมาณการใช้อี-เมลในสหรัฐฯ ได้แซงหน้าการส่งจดหมายไปแล้วตั้งแต่ปีกลาย ข่าวนี้น่าทึ่งสำหรับผู้นิยมอินเตอร์เน็ต แต่สำหรับคนที่รักตัวอักษร บนแผ่นกระดาษ พวกเขาวิตกกันว่าการเขียนจดหมายที่มีลายมือเป็นเอกลักษณ์ กำลังจะหมดไปในยุคอินเตอร์เน็ตนี้

มื่อปี 1995 ปริมาณข้อความที่ส่งทางอี-เมลโดยเฉลี่ยในสหรัฐฯ สูงถึง 300 ล้าน ข้อความต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ล้านข้อความต่อวันในปีนี้ อีกสามปีข้างหน้าตัวเลขจะสูงขึ้นไปเป็น 8,000 ล้านข้อความ ซึ่งมีทั้งการติดต่อธุรกิจ การร้องเรียนเรื่องต่างๆ การส่งเรื่องขำขันเวียนกันอ่านในหมู่เพื่อนฝูง ข่าวคราวของลูกๆ หลานๆ คนรักเก่า เพื่อนสมัยนักเรียน และอีกสารพันเรื่องราวที่สื่อผ่านอี-เมล

ข้อความนับพันล้านเหล่านี้ กำลังเป็นเหมือนออกซิเจนหล่อเลี้ยงโลกยุคอิน-เตอร์เน็ต ความสะดวกสบายในการใช้ ตลอดถึงประสิทธิภาพอันรวดเร็วทำให้ยังไม่มีสื่อใดมาเทียบชั้นกับอี-เมลได้ในขณะนี้

"ข้อจำกัดเชิงกายภาพทำให้เราไม่สามารถเคาะประตูบ้าน 2,000 หลัง เพื่อบอกข่าวคราวต่างๆ ได้พร้อมกัน แต่ตอนนี้ เพียงแค่เคาะปลายนิ้ว เราก็ทำได้ทุกอย่าง" มิเชล แอล.เดอร์ตูโซ (Michael L. Dertouzos) ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตต์ (MIT) บอก

"เมื่อสิบหรือยี่สิบปีก่อน ไม่มีทางที่พนักงานธรรมดาๆ จะได้พบกับผู้บริหารง่ายๆ" เรย์ แมกรูรี คณบดีคณะบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยแห่งซาน ฟรานซิสโก กล่าว เขาเชื่อว่าอี-เมลกำลังจะนำไปสู่ความทัดเทียมกันในอุตสาหกรรมมากขึ้น

นี่คือข้อดีและความคิดในแง่ดีของผู้ที่นิยมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แต่ในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไป ก็มักจะมีเสียงท้วงติงหรือความวิตกกังวลบางประการควบคู่ไปด้วยเสมอ กรณีอี-เมลก็เช่นกัน มีผู้เห็นว่าอาจทำให้เราใช้สมอง คิดกันน้อยลง โกรธง่ายขึ้น และอาจลดทอนความเป็นมนุษย์ลงด้วย

"เมื่อครั้งที่มีอี-เมลใช้กันใหม่ๆ บางคนคิดไปว่าอี-เมลจะเป็นสื่อที่เย็นชา ไม่มีความเป็นส่วนตัว และยังทำให้ผู้คนไม่สามารถสร้างสายสัมพันธ์ต่อกัน" ซูซาน บาร์นส์ (Susan Barnes) นักวิจัยด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม เล่า "แต่ที่จริงมันเป็นในทางตรงกันข้าม"

ยิ่งกว่านั้นอี-เมลก็ยังเป็นสื่อที่ช่วยให้เกิดความใกล้ชิดคุ้นเคยกันในแบบใหม่ ผู้พิการนับพันในสหรัฐฯ อาศัยอี-เมลติดต่อพูดคุยกัน วัยรุ่นเปลี่ยนพฤติกรรมจากการนั่งคุยโทรศัพท์นับชั่วโมง มาเป็นการคุยผ่านอี-เมลเป็นกลุ่มๆ ใน chat rooms

"พวกผู้ใหญ่ต่างหากที่ต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ให้เร็วขึ้น" โคเล็ตต์ บริงค์แมน (Colette Brinkman) อาสาสมัครวัย 70 ที่เข้าโครงการที่พักผู้สูงอายุในซิลิคอน วัลลีย์ ให้ความเห็น

อันที่จริง อี-เมลเป็นเพียงความสำเร็จในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด พอล ซาฟโฟ (Paul Saffo) นักอนาคตวิทยาบอกและเปรียบเทียบอี-เมลกับการเกิดขึ้นของบริการไปรษณีย์ในศตวรรษที่ 18 ในอังกฤษ "ตอนนั้นคนเห่อเขียนจดหมายกันมากมายเหมือนที่เราเห่ออี-เมลตอนนี้" เขาบอกจดหมายของบุคคลสำคัญๆ กลายเป็นสิ่งมีค่าก็เพราะมีการเก็บรักษาไว้อย่างดี แต่ในอี-เมล "เราจะจำอะไรไม่ได้มากนัก เพราะมันอันตรธานไปหมด"

นี่คือข้อวิตกประการเดียวของซาฟโฟ เพราะข้อความจำนวนมหาศาลอาจหายไปได้ทุกครั้งที่มีการอัพเกรดระบบคอมพิว-

เตอร์ หรือเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดมีปัญหา แม้แต่รัฐบาลสหรัฐฯ เองก็เริ่มมีข้อถกเถียงกันว่าจะเก็บรวบรวมข้อความในอี-เมลไว้จำนวนเท่าไร ใครจะรู้ได้ว่าข้อความใดจะมีความสำคัญในอนาคต เพราะจดหมายที่ประธานาธิบดีบิล คลินตัน เคยเขียนถึงพันเอกยูจีน โฮลมส์ เมื่อปลายทศวรรษ 1960 ก็กลายมาเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ไปแล้วในขณะนี้

ยิ่งกว่านั้น หากจะโต้แย้งว่าเนื้อหาสาระมีความสำคัญ แต่ใครจะเถียงว่ารูปแบบไม่มีความหมาย จะมีข้อความในอี-เมลสักเท่าไรที่ปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกได้เท่ากับจดหมายที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ที่รัก" หรือน่าประทับใจไปกว่าจดหมายของลูกที่เขียนถึงซานตาคลอสเป็นฉบับแรกด้วยดินสอสี นี่ยังไม่นับถึงจดหมายที่ทำให้เราโกรธจนต้องขยำทิ้งทันทีที่อ่านจบ

ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย รัฐบาลสหรัฐฯ เคยจัดบริการอี-เมลให้กับทหารที่ต้องออกรบ แต่แอนดรูว์ แคร์รอล (Andew Carroll) หัวหน้าโครงการบทกวีและการเขียนอเมริกันกำลังรวบรวมจดหมายนับหมื่นของเหล่าทหารที่ส่งไปมาในช่วงสงคราม ซึ่งมีทั้งรูปแบบจดหมายธรรมดาและอี-เมล แต่เขาบอก "ทหารในปัจจุบันมีความฉลาดเฉลียวและมีการศึกษาดีกว่าเมื่อราว 130 ปีก่อน แต่กระนั้นจดหมายในช่วงสงครามระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ก็ยังโดดเด่น ชนิดที่อี-เมลเทียบไม่ติดเลย"

ประเด็นที่ว่าอี-เมลดีหรือไม่ดีอย่างไร คงไม่ใช่เรื่องที่ต้องด่วนสรุปในตอนนี้ เพราะอี-เมลยังเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น เดอตูโซส์ คาดว่าปริมาณการใช้อี-เมลจะเพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าตัวในสิบปีข้างหน้า ทำให้แต่ละคนรับข้อความผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ถึงกว่า 1,000 ข้อความต่อวัน และในอนาคตสื่อชนิดนี้อาจเชื่อมโยงกับภาพ และเสียงด้วย

วันหนึ่งข้างหน้า ถ้าลูกสาววัย 14 ไปพักร้อนต่างประเทศกับกลุ่มเพื่อน แล้วส่งอี-เมลมาบอกข่าวคราวทุกวัน รวมทั้งภาพถ่ายสวยๆ ให้ดู คนเป็นพ่อแม่ย่อมสบายใจที่รู้ว่าลูกสาวปลอดภัยและมีความสุข

วันนี้ อี-เมลกำลังก้าวไปข้างหน้า เหมือนกับที่มนุษย์เราต้องพัฒนาต่อไป และไม่ว่าเราจะใช้เทคโนโลยีอะไร เราก็คือมนุษย์ที่โหยหาข่าวสารและแสนเป็นสุขใจเมื่อคนที่รักติดต่อมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us