Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533
"ปูนใหญ่" คู่ปรับ "ทีพีไอ"             
โดย วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
 


   
search resources

ทีพีไอ โพลีน, บมจ.
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
Cement
ไทยโพลิเอททีลีน, บจก




ก่อนปี 2526 ปูนใหญ่จะผลิตปูน ผลิตเยื่อกระดาษหรือสินค้าอื่นใด ทีพีไอแทบจะไม่สนใจ แต่เมื่อเริ่มมีโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติ (ปคช.) เกิดขึ้น ปูนใหญ่เป็นอีกรายหนึ่งที่สนใจลงทุนในแขนงนี้

ปูนใหญ่จึงตั้งบริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด (ทีพีอี) ขึ้นเมื่อปลายปี 2526 เข้าร่วมถือหุ้นในบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด 15.9% และทีพีไอร่วมถือหุ้น 14.4% โดยมีปตท.เป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ 49%

ยังมีบริษัทดาวน์สตีมอีก 2 บริษัท คือ บริษัท เอชเอ็มซี โลลิเมอร์ จำกัดและบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัดร่วมถือหุ้นเพื่อรับเอททีลีนจากโรงโอเลฟินส์ของปคช.มาผลิตเม็ดพลาสติก

ทีพีอีนั้นไม่เพียงแต่มีโครงการผลิตพีอีในปิโตรเคมี -1 เยี่ยงทีพีไอเท่านั้น แต่ยังได้รับส่งเสริมให้ผลิตเม็ดพลาสติกพีพีในปิโตรเคมี -2 เช่นเดียวกับทีพีไอ แต่ทีพีไอจะผลิตได้ก่อนในปีนี้ ขนาดกำลังผลิต 80,000 ตันต่อปี

พีพีนั้นจะต่างกับเอชดีคือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพีพีจะดูสวย บาง น้ำหนักเบา แต่ไม่แข็งแรง ขณะที่เอชดีจะทนทานกว่า แต่สวยน้อยกว่า โดยที่เป็นอยู่ในขณะนี้ตลาดพีพีและเอชดีจะมีส่วนที่คาบเกี่ยวกันอยู่ แต่แนวโน้มนั้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจะเลือกใช้เม็ดพลาสติกตรงตามคุณสมบัติของสินค้ามากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ทั้งทีพีไอและปูนใหญ่ต่างก็ได้บีโอไอในการผลิตโพลีออล เม็ดพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตฟองน้ำ

ในยุทธจักรของการค้าปูน ปูนใหญ่ย่อมได้เปรียบ เพราะบุกเบิกและมีความเชี่ยวชาญมากว่า 70 ปี แต่ในยุทธจักรผลิตเม็ดพลาสติกพีอีแล้ว ต้องยกให้ทีพีไอซึ่งเป็นต่อหลายขุมในการสี่ยงลงทุนเป็นรายแรกในภูมิภาคนี้

แม้จะมีอายุเพียงรอบปีเดียว แต่ต้องยอมรับว่าทีพีไอได้รุกไปไกลแล้ว ชนิดที่ทีพีไอกล้าพิสูจน์ว่า ถ้าพูดถึงความเชี่ยวชาญด้านเม็ดพลาสติกพีอีแล้ว "เขาไม่เป็นรองใคร" แหล่งข่าวระดับสูงวิจารณ์ "โดยเฉพาะประมวล (เลี่ยวไพรัตน์) ซึ่งคุมทางด้านโรงงาน"

"เป็นเรื่องไม่แปลกที่ปูนใหญ่มาลงทุนเม็ดพลาสติกหรือทีพีไอไปลงทุนปูน แต่ถ้านักลงทุนรายใหญ่ขยายการลงทุนเป็นหน้ากระดานและทำครบวงจรด้วย ก็จะทำให้การแข่งขัน ผูกขาดกันอยู่ไม่กี่ราย โอกาสที่รายเล็กจะเกิดก็ยาก เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องอาศัยการเป็นแนวร่วมซึ่งกันและกัน ทำให้การผลิตอยู่ในมือนักลงทุนไม่กี่ราย" แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว

แต่ในช่วงแรกที่ทีพีไอเข้าตลาด อภิพร ภาษวัธน์ กรรมการผู้จัดการทีพีอีเคยกล่าวว่า คงต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปีในการครองสัดส่วนตลาด เพราะปัจจุบันทีพีไอยึดตลาดไว้หมด

ทีพีอีซึ่งเป็นบริษัทลูกของปูนใหญ่นั้น ถ้าพูดถึงสไตล์การค้าของปูนใหญ่แล้ว จะไม่นิยมตัดราคา แต่คราวนี้ทีพีอีต้องนำเข้าเม็ดพีอีในราคาสูง แล้วเข้ามาตัดราคา 20-30% เพื่อดึงดูดลูกค้าเพื่อสร้างตลาดในระยะแรก ขณะเดียวกันก็พยายามตั้งชมรมสมาชิกผู้ใช้เม็ดพลาสติกเพื่อขายเม็ดพลาสติกให้โดยตรง

ด้านทีพีไอก็ไม่น้อยหน้า ตอนหลังให้เอเย่นต์ทำสัญญาผูกมัดกันเลยว่า ถ้าขายเม็ดพลาสติกของทีพีไอแล้วห้ามขายของรายอื่นตลอดไป จนทำให้บรรดาเอเย่นต์เริ่มเคลื่อนไหวคิดตั้งบริษัทกลางเป็นตัวแทนขายเม็ดพลาสติกของทั้งค่ายทีพีไอและทีพีอีแต่ไม่เป็นผล

ตอนนี้ "ทีพีอี กำลังพยายามตามทดสอบคุณภาพเอชดีของทีพีไอเพื่อประเมินตลาดอยู่ ขณะที่ทีพีไอก็พยายามตามดูคุณภาพของทีพีอีเช่นเดียวกัน" แหล่งข่าววงการพลาสติกเล่าถึงความเคลื่อนไหวในตลาด

เอชดีของทีพีอีที่ผลิตออกมา ส่วนหนึ่งส่งออกไปยังสหรัฐ

พูดไปแล้ว การเข้าตลาดของทีพีไอและทีพีอีนั้นต่างกัน

ทีพีไอเกิดก่อน ท่ามกลางความไม่แน่ใจของผู้ใช้ว่าคนไทยจะผลิตเม็ดพลาสติกได้เอง ทีพีไอในช่วงนั้นถึงขนาดเปิดตัวขนานใหญ่ให้บรรดาผู้ใช้เม็ดพลาสติกทุกแขนงที่เกี่ยวข้องเข้าชมระบบการผลิตเอชดีในโรงงานอย่างละเอียด เพื่อยืนยันว่า…ทำได้โดยทีพีไอ ฝีมือคนไทย…"มิใช่นำเข้ามาขายแล้วอ้างว่าผลิตได้เองดังที่โจษขานกัน"

เนื่องจากตอนนั้น เพิ่งจะผลิตเม็ดพลาสติกแอลดีและเอชดีได้เอง ดีมานด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศก็หันมาใช้ของทีพีไอแทน ขณะนั้นรัฐบาลตั้งกำแพงภาษีการนำเข้าแอลดีและเอชดีเพื่อปกป้องผู้ผลิต จนผู้ใช้รู้สึกว่าตนเหมือน "ลูกไก่ในกำมือ" ที่ทีพีไอคิดจะขึ้นราคาเมื่อไหร่ก็ได้

นั่นเป็นความเจ็บปวดของผู้ใช้ในห้วงเวลาที่ผ่านมา อันเป็นธรรมดาของตลาดธุรกิจใหญ่ที่มีผู้ผลิตผูกขาดเพียงรายเดียว แม้ว่าจะมีคุณภาพดีตามต้องการสักเพียงใดก็ตาม

การเกิดของทีพีไอนั้น ซัพพลายได้ต่อเนื่อง แต่ไม่พอป้อนความต้องการของผู้ใช้ เมื่อทีพีอีแทรกเข้ามาในตลาด ผู้ใช้เองก็ต้องอาศัยเวลาปรับการเลือกใช้ เพราะการเสี่ยงใช้ยี่ห้อใหม่แค่คุณภาพเม็ดพลาสติกต่างกันเพียงเศษธุลี คุณภาพผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ออกมาจะเพี้ยน ไปอย่างเห็นได้

ปัญหาของทีพีไอในตอนนี้อยู่ที่ซัพพลายได้ไม่ต่อเนื่องแหล่งข่าวระดับสูงจากวงการพลาสติกกล่าว "เขาคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการปรับตัว"

อย่างไรก็ตาม การมีผู้ผลิตหลายรายย่อมดีกว่ารายเดียวแน่ จะทำให้แข่งขันกัน ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us