Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533
บางกอกแลมป์กับทังสยาม ผู้เติมช่องว่างตลาดให้ฟิลิปส์             
โดย ศิริเพ็ญ กระตุฤกษ์
 


   
search resources

Electronic Components
ไฟฟ้าฟิลิปส์
ทองมินทร์ กิจจาธิป
บางกอกแลมป์
ทังสยาม




บางคนกล่าวว่ากลุ่มผู้ค้าหลอดไฟในกงสีฟิลิปส์คือกลุ่มผู้ค้าผูกขาดในตลาดหลอดไฟ เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายหลอดไฟของหลาย ๆ ยี่ห้อแล้ว ยังร่วมกันทำธุรกิจผลิตหลอดไฟเข้าแข่งขันในตลาดอีกด้วย

หากจะแบ่งประเภทของโรงงานผลิตหลอดไฟฟ้าในประเทศไทย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ… กลุ่มโรงงานผลิตหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ มีบริษัทไทยโตชิบ้า ไลท์ติ้ง, บริษัทหลอดไฟฟ้าไทย, บริษัท ล.กิจเจริญแสง ซึ่งรับจ้างผลิตให้กับหลายยี่ห้ออย่างเช่นไดอิชิ ฮิตาชิ ฯลฯ, บริษัทเอเชีย แลมป์ผลิตให้กับยี่ห้อคอมตัน และส่งออกบางส่วน, บริษัทเอส อี ไอ อินเตอร์เนชั่นแนลผลิตให้กับยี่ห้อแลมตัน, NEC

อีกกลุ่มเป็นโรงงานผลิตหลอดไฟธรรมดา มีบริษัทหลอดไฟฟ้าไทยของฟิลิปส์, บริษัท บางกอกแลมป์ผลิตยี่ห้อซูเปอร์แลมป์, และบริษัท ล. กิจเจริญแสง ซึ่งผลิตให้หลายยี่ห้ออย่างเช่นจูปีเตอร์, ไดอิชิ

การเกิดของบางกอกแลมป์ในปี 2507 ด้วยวัตถุประสงค์ที่ว่าเพื่อผลิตหลอดไฟฟ้ายี่ห้อ "ซูเปอร์แลมป์" ขายในประเทศทดแทนการนำเข้า โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอสมัยนั้นถูกจับตามองจากฟิลิปส์ค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่จำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกอยู่ในกงสี

เช่นเดียวกับการเกิดของบริษัททังสยามซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายหลอดไฟยี่ห้อ "ทังสแลมป์" เมื่อปลายปี 2532 ที่ผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของบริษัทเป็นสมาชิกอยู่ในกงสี และบางคนก็ยังเป็นหุ้นส่วนของทั้ง 2 บริษัทฯ อีกด้วย

ทองมินทร์ กิจจาธิป กรรมการผู้จัดการของ บริษัท ทังสยามซึ่งอดีตเคยเป็นผู้จัดการการตลาดกลุ่มกิจการไฟฟ้าของฟิลิปส์ และเกษียณอายุการทำงานมาเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วได้อธิบายให้ฟังว่า "การทำธุรกิจไม่จำเป็นที่เราจะต้องฆ่าคู่ต่อสู้ของเราทั้งหมด เพราะถ้าเรา ฆ่าเขาวันนี้ได้ วันหลังเขาก็จะแว้งกัดเราได้เช่นกัน มันเป็นนโยบายตั้งแต่ตอนที่ผมทำงานกับ ฟิลิปส์ และถ้าเราดูสภาพความเป็นจริงของตลาดหลอดไฟแล้ว มันถูกแบ่งด้วยตัวของมันเองโดยมีเรื่องของราคาเป็นตัวกำหนด ในขณะที่สินค้าของฟิลิปส์แทบทุกตัวจะวางไว้ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง ทำให้เกิดช่องว่างในตลาดที่คู่แข่งสามารถแทรกได้ แต่ถ้าจะให้ฟิลิปส์ลงมาทำสินค้าที่ราคาถูกลงมาเพื่อสู้กับตลาดล่างฟิลิปส์เองก็คงทำไม่ได้ ดังนั้นการที่สมาชิกของกงสีผลิตสินค้าในระดับราคาที่ต่ำกว่าเข้าตลาด น่าจะเป็นการช่วยเสริมตลาดของฟิลิปส์ให้เต็มและเป็นการกันคู่ต่อสู้ในตลาดให้กับฟิลิปส์ได้ด้วย"

ซูเปอร์แลมป์เข้าตลาดหลอดไฟธรรมดาด้วยราคา 10-12 บาทในขณะที่ฟิลิปส์ราคา 12-14 บาทด้วยกำลังวัตต์ที่เท่ากัน เช่นเดียวกับทังสแลมป์ที่เข้าตลาดหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ในราคา 38, 45 บาทในขณะที่ฟิลิปส์ราคา 42, 50 บาทและคู่แข่งรายอื่นคือโตชิบาราคา 36, 41 บาท ฮิตาชิกับ EC ราคา 35, 40 บาทหากเปรียบเทียบราคากันแล้วจะเห็นว่ามันมีช่องว่างของตลาดอยู่

การเติบโตของโตชิบาในตลาดหลอดไฟนีออนช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างของตลาดนี้ แต่เดิมตลาดในส่วนที่โตชิบาครอบครองอยู่เป็นตลาดส่วนกลางลงล่าง ซึ่งเป็นตลาดของโรงงานผู้ผลิตในประเทศในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาตลาดต่างประเทศเกิดบูมขึ้นมาผู้ผลิตในประเทศหลายรายต่างหันไปจับตลาดต่างประเทศ ทิ้งช่องว่างตลาดในส่วนนี้ไว้ให้กับโตชิบา ในขณะเดียวกันการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาสู้ก็ทำให้โตชิบามีจุดเด่นที่สามารถจับตลาดส่วนกลางนี้ไว้ได้

ข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งในตลาดหลอดไฟในประเทศไทยก็คือ ส่วนมากจะออกมาในรูปของการจ้างโรงงานภายในประเทศเป็นผู้ผลิตให้ (มีเพียงฟิลิปส์,โตชิบา, ซูเปอร์แลมป์ ที่มีโรงงานผลิตโดยใช้ชื่อยี่ห้อของตนเอง) หรือไม่ก็สั่งนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุผลที่ว่าการลงทุนตั้งโรงงานผลิตหลอดไฟเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับกำไรที่ได้จากการขาย ดังนั้นการเข้าของหลอดไฟรายใหม่ ๆ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้โรงงานผู้ผลิตในประเทศที่เปิดดำเนินการมากว่า 20 ปีขยายกำลังการผลิตออกไป อย่างเช่นกรณีของบางกอกแลมป์ที่กำลังเสนอขออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในการสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่มูลค่า 20 ล้านบาทจากฮังการี เพื่อนำมาขยายกำลังการผลิตเพื่อการส่งออกส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งนัยว่าเป็นการรองรับการผลิตจากตัวแทนจำหน่ายสินค้ารายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างทังสแลมป์ เป็นต้น

และนอกจากนี้ความที่บริษัทฟิลิปส์เป็นบริษัทใหญ่ มีเงินทุนมากพอที่จะทำการตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง บวกกับความแข็งแกร่งของชื่อยี่ห้อที่มีมานานในตลาดของหลอดไฟ ฟิลิปส์ ทำให้คู่แข่งรายอื่นไม่กล้าที่จะนำสินค้าของตนเองเข้าประกบตลาดในระดับเดียวกับ ฟิลิปส์ถึงแม้ว่าหลายรายจะยืนยันว่าเทคโนโลยีการผลิตของตนจะทำให้คุณภาพของสินค้าที่ได้ออกมาไม่แตกต่างจากฟิลิปส์มากนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us