Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533
รายชื่ออาหารและยามัจจุราชจำแลง             
โดย บุญธรรม พิกุลศรี
 


   
search resources

Pharmaceuticals & Cosmetics
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา




"หลายคนไม่เชื่อว่าประเทศไทยมีตำรับยามากถึง 28,000 ตำรับ เพราะมันจะเป็นไปได้อย่างไรที่จะมีการค้นพบตัวยาได้มากมายนถึงขนาดนั้น ซึ่งก็น่าจะดีถ้ามันเป็นอย่างนั้น และก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่ออีกเช่นเดียวกันที่ปรากฎว่าประเทศที่มีตำรับยามากมายกว่าทุกประเทศเช่นนี้ กลับเป็นประเทศที่สุขภาพอนามัยของประชาชนกลับย่ำแย่ลงทุกวัน

แต่ความจริงปรากฎว่าที่จำนวนตำรับยามีมากมายถึงขนาดนั้นก็เพราะว่าในตัวยาที่เป็นสูตรหรือสารเดียวกัน มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกัน และรักษาโรคเดียวกันนั้นได้มีการจดทะเบียนขึ้นเป็นตำรับยาภายใต้ชื่อการค้าหลายยี่ห้อเช่นตัวยาพาราเซสตามอล ซึ่งเป็นยาแก้ปวด คนในวงการเภสัชกล่าวว่ามีประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ตำรับภายใต้ชื่อทางการค้าต่าง ๆ ของบริษัทยาในปัจจุบัน ประเภทนี้เรียกว่ายาเดี่ยว

ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นพวกยาผสม กล่าวคือ เอาตัวยาที่มีสรรพคุณอย่างหนึ่งไปผสมกับอีกตัวยาหนึ่ง เช่นจำพวกพาราเซสตามอลเหมือนกัน แต่เอาไปผสมยาถึงสามตัวสี่ตัว เพื่อให้ยาของตัวเองมีสรรพคุณรักษาโรคได้ครอบจักรวาล ประเภทนี้เรียกว่ายาสูตรผสม

ยาประเภทนี้ในทางเภสัชศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่งและบางชนิดก็มีกฎหมายห้ามนำไปผสมตัวอื่นบางชนิด เพราะจะทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายมนุษย์มากกว่า ที่จะให้ผลในการบำบัดรักษา และผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคเพียงอย่างเดียวก็ไม่จำเป็นจะต้องไปกินยาตัวอื่นที่ผสมอยู่ในตำรับเดียวกันนี้เข้าไปด้วย

นอกจากนี้ประชาชนยังจะต้องเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะว่าไปแล้วเรื่องกำหนดราคายาในประเทศไทยก็ค่อนข้างจะเป็นเรื่องมหัศจรรย์อีกเหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่มันเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิต แต่ปรากฎว่าไม่มีการควบคุมราคากันแต่อย่างไร

ในทางเภสัชกรรมแล้วจำนวนตำรับยาที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์นั้นไม่น่าจะเกิน 1,000 ตำรับเป็นอย่างมากที่สุด

ทั้งนี้ก็เพราะว่ายาแม้จะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ก็มีโทษมหันต์

ดังนั้น การมีตำรับยาเป็นจำนวนมาก ๆ จึงเป็นวิบากกรรม ที่น่าเศร้าของประชาชนอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่ายาเป็นสินค้าพิเศษ ที่ย่อมไม่เหมือนกับสินค้าอื่น ๆ ที่จะมองคุณภาพจับต้องมาตรฐาน ด้วยตัวของเขาเองได้ เพราะฉะนั้น การใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้วกำหนดให้ใช้โดยฝ่ายผู้เชี่ยวชาญคือแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น

แต่สำหรับประเทศไทยปรากฎว่ามีสถิติที่น่าสนใจดังนี้คือ 20% ของยาที่ขายทั้งหมดเป็นยาที่ขายโดยโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งก็หมายความว่าเป็นยาที่ถึงมือประชาชนโดยผ่านแพทย์และเภสัชกร ส่วน 10% เป็นขายโดยโรงพยาบาลหรือคลีนิคของเอกชน ซึ่งก็น่าจะมีการผ่านแพทย์และเภสัชกรเช่นเดียวกัน

ส่วนที่เหลืออีก 70% เป็นยาที่ประชาชนใช้โดยผ่านหมอตี๋ตามร้านขาย ซึ่งสำหรับ ร้านขายยาเมืองไทยแล้วแทบจะเรียกได้ว่าขายยากันแบบซุปเปอร์มาเก็ตกันเลยทีเดียว เรียกว่าซื้อง่ายขายคล่องขอให้จ่ายเงินให้ถูกต้องก็แล้วกัน

ยาซึ่งเป็นที่พึ่งของชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้เสมือนหนึ่งเป็นเทวดาผู้ช่วยชุบชีวิตมนุษย์ แต่ถ้าควบคุมมันไม่ได้ ปล่อยให้ประชาชนเผชิญชะตากรรมเอาเองเช่นนี้ มันก็จะเหมือนมัจจุราชจำแลงดี ๆ นี่เอง

ยาต่อไปนี้เป็นยาบางส่วนเพียงน้อยนิดของยาประเภทมัจจุราช ซึ่งมีมากมายมหาศาล

กลุ่มยา CYPROHEPTADINE ซึ่งเป็นยาต้านฮิสตามีน หรือยาแก้แพ้ ยานี้ในประเทศที่พัฒนาแล้วระบุในข้อบ่งใช้ให้เป็นยาที่ใช้สำหรับแก้แพ้เท่านั้น และมีคำเตือนไม่ให้กินยาแก้แพ้เกินขนาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารก เด็กเล็ก เพราะอาจทำให้ตายได้

แต่เนื่องจากว่าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างกินยานี้จะทำให้เกิดอาการง่วงนอนและต้องการรับประทานอาหาร บริษัทค้ายาในเมืองไทยจึงนำผลอาการข้างเคียงมายื่นขอขึ้นทะเบียนยาที่มีสรรพคุณเป็นยาอ้วนท้วนสมบูรณ์

โดยเฉพาะยานี้ภายใต้ชื่อการค้าอย่างหนึ่งได้รับอนุญาตจาก FDA ให้โฆษณาทางโทรทัศน์ว่าเป็นยาอ้วนสำหรับเด็ก ต้องให้เด็กกินเป็นประจำทุกวัน จะทำให้เด็กอ้วนท้วนสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะเห็นว่ากลายเป็นละเรื่องกับสรรพคุณยาที่แท้จริง และเอาคำเตือนแจ้งโทษของมันมาเป็นสรรพคุณยาแทน

ยาชนิดนี้มีการขึ้นทะเบียนอนุญาตผลิตและจำหน่ายทั้งในรูปของยาเดี่ยวและยาผสมภายใต้ชื่อการค้าหรือยี่ห้อต่าง ๆ กว่า 20 ยี่ห้อในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีอนุญาตให้การโฆษณาด้วยวิธีที่แยบยลที่สุด

ซึ่งถ้าจะว่ากันจริง ๆ แล้วก็ควรจะต้องถอนทะเบียนยาพวกนี้ออกจากตลาดเสียเลยจะเป็นการดีที่สุด เพราะพิษของมันจริง ๆ ก็คือเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เกิดอาการประสาทหลอน ชัก และมีผลถึงระบบหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งทำให้ช็อคและถึงตายได้ในทันที

กลุ่มยา ANTIDIARRHOEA หรือยาต้านจุลชีพ ซึ่งมนุษย์ได้นำมาใช้เป็นยาแก้โรคท้องร่วงในเมืองไทยกว่า 50 ยี่ห้อ ที่ผสมตัวยาเหล่านี้อยู่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกบอกว่า ยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัดว่ายาเหล่านี้มีคุณค่าในการรักษาโรคท้องร่วงอย่างฉบับพลันหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น CLIO QUINOL, CHLORAMPHENICOL ผสมกับ PHTHALYLSULFATHI ซึ่งนอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพแล้วยังอาจทำให้เชื้อดื้อยา และมีอาการโรคท้องร่วงเรื้อรังได้ และเนื่องจากตัวนี้จะไปทำลายจุลชีพที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ จึงให้เกิดอาการลำไส้ใหญ่อักเสบได้

นักวิชาการทางการแพทย์และเภสัชกร พยายามที่จะให้สำนักงานอาหารและยา ยกเลิกทะเบียนยาที่มีตัวยาเหล่านี้ผสมออกจากตลาดเสียก่อนที่ประชาชนจะเสียหายมากกว่านี้ เพราะมียาอื่นที่ใช้แก้โรคท้องร่วงแบบฉับพลันได้ดีกว่าและไม่เกิดอาการดังกล่าว แม้แต่น้ำเกลือแบบ ชาวบ้าน ๆ ก็สามารถแก้ได้แล้วโดยไม่ได้รับอันตรายใด ๆ

กลุ่มยาสูตรผสมพวก ESTROGEN-PROGESTERONE หรือ E.P. DRUGS เพื่อใช้ในยาคุมกำเนิด ทดสอบการตั้งครรภ์ รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เตือนให้เลิกใช้ยานี้ในการทดสอบการตั้งครรภ์เมื่อปี 2524 เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้วยังจะเกิดผลร้ายต่อทารกในครรภ์ด้วยในส่วนที่ยังใช้อยู่ก็ต้องมีข้อบ่งใช้และคำเตือนอย่างชัดแจ้ง

สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำยานี้มาขึ้นทะเบียนขายตั้งแต่ปี 2518 โดยระบุข้อบ่งใช้ว่า "รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ" และมีโฆษณาขายกันอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน มีประมาณ 18 ตำรับ ส่วนใหญ่จึงใช้ไปในลักษณะเป็นยาทำแท้ง

ในทางการแพทย์มองว่าเป็นข้องบ่งใช้ที่ครอบจักรวาล ซึ่งในทางโฆษณามีทั้งระบุว่าแก้อาการปวดประจำเดือน ไม่สบายก่อนมีประจำเดือน หรือแม้แต่ใช้ป้องกันการแท้ง

ยา GLAFENINE ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่มีผลทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขนาดช้อคและตายได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาวะไตวาย และอาการเป็นพิษต่อตับอีกด้วย

มีผู้ผลิตยาในประเทศไทยทำการโฆษณายาตัวนี้ว่าใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดหลาย ๆ วัน และปวดทั่ว ๆ ไป โดยไม่ได้ให้คำเตือนเกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีการโฆษณาสรรพคุณที่ใช้กับอาการปวดเล็ก ๆ น้อย ด้วย เช่นปวดศรีษะ ปวดฟัน ปวดประจำเดือน มีขายตามร้านขายยาโดยทั่วไป และมีอยู่ประมาณ 4 ยี่ห้อ ที่ขายกันอยู่ในประเทศไทย

CAFFEINE ซึ่งผสมอยู่ในยาชูกำลังทางการแพทย์และเภสัชถือว่าเป็นยา โดยเฉพาะ คาเฟอีนที่มีขนาดสูงถึง 100 mg ต่อการดื่มหนึ่งครั้งตามขนาดของ FDA ยกเว้นไว้ไม่จัดอยู่ในจำพวกยาอันตราย แต่ปรากฎว่าเครื่องดื่มชูกำลังซึ่งกำลังเป็นสินค้าที่กำลังนำตลาดอยู่ทุกวันนี้ มีส่วนผสมเต็ม 100 mg พอดี ขาดอีก mg เดียวก็จะกลายเป็นยาอันตราย ทั้งนี้เพราะคาเฟอีนใน ยาชูกำลังนั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นยาโดยชัดแจ้ง กล่าวคือใช้เพื่อให้เกิดกำลัง เข้มแข็ง เต็มไปด้วยพลัง และโดยตัวของมันเองก็เป็นสารที่ไปกระตุ้นประสาทส่วนกลางใกล้กับวัตถุออกฤทธิต่อจิตและประสาทเสียด้วยซ้ำไป

อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการกินคาเฟอีนก็คือจะเกิดอันตรายแก่เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี สมองจะได้รับผลกระทบกระเทือน หญิงมีครรภ์จะทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตไม่เต็มที่ และถ้ากินติดต่อกันไปจะทำให้ติดได้ เพราะต้องคอยกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา สมองส่วนกลางจึงจะทำงานได้

และเดิมทีเดียวสินค้าพวกนี้ก็มีการขึ้นทะเบียนเป็นยา แต่ปรากฎว่าอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร ซึ่งมาตรการในการควบคุมไม่เข้มงวดเท่ากับเป็นยา ทั้งด้านการโฆษณา การระบุข้อบ่งใช้และคำเตือน ให้เพียงพอเท่าที่ประชาชนจะทราบข้อเท็จจริงได้ เพราะขณะนี้ประชาชนก็เข้าใจว่ามันเป็นยาชูกำลัง แต่หารู้ไม่ว่ามันเป็นยาอันตราย

น้ำเกลือแร่ ซึ่งมีการบรรจุขวดขายทางสำนักงานอาหารและยาอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร แต่ในทางการแพทย์และเภสัชกรยังเห็นว่าน่าจะเป็นพวกยามากกว่า เพราะเหตุว่าน้ำเกลือ จริง ๆ นั้น แพทย์จะใช้ก็เฉพาะกรณีให้มันเข้าไปทดแทนน้ำเกลือในร่างกายที่ขาดไปเพราะอาการท้องเสียหรือ อาการป่วยที่เสียกำลังมาก ๆ

และถ้าใช้กับคนปกติ หรือเสียเหงื่อธรรมดา แต่ไปเข้าใจเอาตามที่โฆษณาว่าเสียเหงื่อมาก จะต้องทดแทนด้วยน้ำเกลือแร่ จะทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ขึ้นคือมันสมองบวม มีอาการเหมือนกับไวรัสขึ้นสมองและถ้ารักษาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามารถจะทำให้ตายได้

แต่ถ้าให้มันขึ้นทะเบียนเป็นยาก็ต้องระบุส่วนผสม ข้อบ่งใช้ และคำเตือน รวมทั้งการ ควบคุมไม่ให้มีการโฆษณามาก ประชาชนจะได้ไม่บริโภคเกลือเข้าไปในร่างกายอย่างฟุ่มเฟือยมากมายอย่างเช่นปัจจุบัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us