โรเบิร์ต บาร์คเกอร์ (Robert Barker) ย้อนอดีตชีวิตของคนทำงานสมัยใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อราวสี่ห้าปีก่อนว่า
"ผมแค่ลาออกจากงานประจำ แล้วไปทำงานอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่การตั้งบริษัทใหม่
และแทนที่จะต้องขับรถวันละ 182 กิโลเมตรไปมาระหว่างบ้านกับสำนักงานซึ่งบางครั้งก็เจอแต่เพื่อนร่วมงานที่เล่นสนุกไปวันๆ
หรือบางทีก็เข้าขั้นน่ารำคาญ ผมได้ทำงานของผมทั้งวันตามลำพัง ผมเป็นเทเลคอมมิวเตอร์
ทำงานอยู่ที่ฟลอริดา แต่เขียนงานส่งนิตยสารในนิวยอร์ก ซิตี้"
าถามว่าผมเหงาไหม ผมขอตอบว่าใช่ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าผมจัดการกับ กับความเหงาอย่างไร
แต่บางทีผมก็ตอบคนที่ถามคำถามนี้ว่า มันง่ายมากถ้าหากคุณรักงานของคุณ
ผมคงเป็นคนประหลาดอยู่บ้าง แต่ผมก็ไม่ต่างไปจากเมื่อก่อนสักเท่าไร งานของผมอาจจะดูไม่เหมือนอาชีพอื่นในโลกของความเป็นจริง
แต่จำนวนของคนอเมริ-กันที่เป็นเทเลคอมมิวเตอร์เพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าตัวในช่วงทศวรรษนี้
ตอนนี้มีเกือบ 16 ล้านคนแล้ว บางคนทำงานคล้ายๆ กับผม บางคนก็ทำงานที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจซึ่งต้องอาศัยข้อมูลความรู้เป็นฐาน
แต่ตัวเลขที่ว่ายังไม่น่าแปลกใจเท่ากับที่ผมเห็นโฆษณารับสมัครวิศวกรโครงสร้าง
ที่ต้องการทำงานแบบเทเลคอมมิวติงเมื่อเร็วๆ นี้ และมีเพื่อนบ้านของผมคนหนึ่งไปเล่นสกีที่โคโลราโดเมื่อฤดูหนาวที่ผ่านมา
เขาไปกับเพื่อนฝูงกลุ่มใหญ่ทำงานเขียนซอฟต์แวร์ พวกเขาไต่เขาร็อกกี้กันตอนกลางวัน
ตกกลางคืนก็เคาะคีย์บอร์ดป้อนรหัสต่างๆ
อินเตอร์เน็ตคือสื่อที่ทำให้เกิดเรื่องแปลกๆ เหล่านี้ ยิ่งมีธุรกิจออนไลน์เพิ่มขึ้นเท่าไร
อาชีพของเทเลคอมมิวเตอร์จะยิ่งมีมากขึ้น แน่ละ ความเสี่ยงต้องมีบ้าง แต่ก็มีโอกาสให้กับคนที่กล้าบุกเบิก
มีความรู้ความสามารถ และพึ่งพาตนเองได้
เทเลคอมมิวเตอร์ส่วนใหญ่ทำงานที่บ้าน แต่ผมไม่ชอบความคิดนี้เท่าไร และคิดว่าจะทำให้ลูกสองคนของผมวุ่นวายไปด้วย
ผมจึงใช้วิธีเช่าสำนักงานเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ๆ บ้าน ซึ่งอยู่แถวชายหาดเมลเบิร์น
ค่าเช่าสำนักงานคิดดูแล้วยังถูกกว่าค่าทางด่วนที่ผมเคยจ่ายเมื่อก่อนนี้อีก
ผมมีเพื่อนใกล้ๆ ที่ทำงานอยู่สองสามคน คนหนึ่งเป็นนักบัญชีสูบบุหรี่จัดชื่อ
ดิ๊ก อีกคนชื่อบิล ทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์ บิลเอาขนมมาให้ผมอยู่บ่อยๆ แต่เขาเสียชีวิตไปเมื่อปีกลายนี้เอง
ใครที่ต้องการติดต่อกับผม ผมมีโทรศัพท์สามเครื่องสำหรับรับสาย เป็นแฟกซ์
และรับข้อมูล นอกจากนั้นก็มีเคเบิลทีวี มีเพื่อนอีกคนเป็นพนักงานส่งเอกสารของเฟเดอรัล
เอ็กซ์เพรส (Federal Express) ผมเดินทางไปนิวยอร์กบ้างเป็นครั้งคราว
คนที่เป็นเทเลคอมมิวเตอร์อย่างผมต้องให้ความสำคัญกับการติดต่อเป็นอันดับแรก
มีเพื่อนผมคนหนึ่งที่เป็นผู้บริหารของฟิเดลลิตี้ อินเวสเมนท์ (Fidelity Investments)
เธอทำงานอยู่กับบ้าน และเคยบอกผมว่าเธอไม่เคยพลาดโทรศัพท์แม้แต่ครั้งเดียว
เธอติดโทรศัพท์ในห้องน้ำของเธอด้วย แดเนียล กอร์เรล เพื่อนอีกคนที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดรถยนต์
และทำงานแบบเทเลคอมมิวเตอร์มาตั้งแต่ปี 1990 ให้กับบริษัทสเตรทเตจิก วิชัน
(Strategic Vision) ในซานดิเอโก ก็เคยคุยกับผมว่า "เทเลคอมมิวเตอร์ไม่ได้ทำงานสบายๆ
ส่วนใหญ่พวกนี้ต้องทำงานหนักขึ้นและทำงานนานกว่าคนอื่น"
ซูซาน ชาริน (Susan Sharin) ที่ปรึกษาด้านการลงทุน เพื่อนของผมอีกคนก็บอกว่าทุกครั้งที่เธอได้ยินเสียงผิดปกติเพียงเบาๆ
เธอจะรู้สึกตกใจมาก อาชีพอย่างเราๆ โทรศัพท์และคอมพิว-เตอร์เป็นเรื่องสำคัญมาก
ซูซานเคยทำงานประจำที่ต้องเดิน ทางวันละ 42 ไมล์ แต่ทุกวันนี้เธอทำงานอยู่กับบ้านที่มีพื้นที่กว้างถึง
14 เอ-
เคอร์ใกล้กับอีสต์ฟอร์ด คอนเนกติกัต ซูซานมีเวลาฝึกโยคะในห้องเดียวกับที่เธอคิดเรื่องธุรกิจมูลค่า
25 ล้านดอลลาร์
เทเลคอมมิวเตอร์อีกคนที่ผมรู้จักคือ จิล ฟอลลิค (Jill Fallick) เธอให้สามีตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์ให้ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงผิดปกติ
จิลเป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของมอร์นิงสตาร์ อิงค์ (Morningstar Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านการลงทุนในชิคาโก
เธอทำงานนี้ตั้งแต่ปี 1994 จนถึงเดือนสิงหาคม 1996 สามีของจิลต้องย้ายไปทำงานที่ซิลิคอน
วัลเลย์ มอร์นิงสตาร์จ้างเธอทำงานต่อในลักษณะของเทเลคอมมิวเตอร์ เธอตอบตกลงทันที
และได้ย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านเช่าที่เอเทอร์ตัน เธอใช้ห้องห้องหนึ่งเป็นสำนักงานส่วนตัว
ภายในห้องมีโต๊ะเก่าขนาดใหญ่ตัวหนึ่ง ชั้นเก็บเอกสารและหนังสืออ้างอิง ตุ๊กตาหมี
คอม พิวเตอร์เพนเทียม II หนึ่งเครื่อง พร้อมมอนิเตอร์ขนาด 17 นิ้ว เลเซอร์พรินเตอร์เล็กซ์มาร์ค
โทรสารของฮิวเลตต์-แพคการ์ดและเครื่องถ่ายเอกสารอีกเครื่องที่มอร์นิงสตาร์ออกเงินซื้อให้
นอกนั้นเป็นรูปถ่ายของเธอกับสามี และลูกสาววัยสองขวบชื่อเมเรดิธ โทรศัพท์อีกสามเครื่อง
และเคเบิล โมเด็ม
จิลมีนาฬิกาสองเรือนในห้อง เรือนหนึ่งตั้งเวลาแคลิฟอร์เนีย อีกเรือนเป็นเวลาชิคาโก
ในแต่ละวัน เมื่อนาฬิกาชิคาโกถึงเวลา 9.00 น. จิลจะพาเมเรดิธไปส่งที่สถานเลี้ยงเด็กและเริ่มงานของเธอ
ช่วงแรก จิลกังวลใจกับงานลักษณะใหม่ของเธอพอสมควร และเธอต้องฝึกฝนตนเองให้ไว้วางใจเพื่อนพ้องที่ทำงานที่ชิคาโก
"เมื่อคุณเริ่มเป็นเทเลคอมมิวเตอร์ สิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องทำก็คือต้องทำประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับตัวเอง
เพราะคุณไม่ใช่คนสำคัญในสำนักงานนั้นอีกแล้ว" งานชิ้นแรกที่จิลได้รับมอบหมายก็คือ
ทำแผนรักษาลูกค้าโดยปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยใช้ฐานข้อมูลลูกค้าให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด
เมื่อถึงเวลาประเมินแผนการ จิลบอกเธอตื่นเต้นเป็นที่สุด แต่หลังจากนั้นเธอก็ได้งานชิ้นใหม่
โดยเป็นผู้ฝึกอบรมให้กับผู้จัดการโครงการในเรื่องการบริหารงบประมาณ การวิจัยการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ซึ่งจิลบอกเธอรู้ว่าการรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรกับเพื่อนร่วมงานในชิคาโกช่วยให้เธอทำงานได้ต่อไป
และที่สำคัญก็คือต้องทำให้มากกว่าการทำงานเป็นทีม
ลอรา ลัลลอส (Laura Lallos) เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งของจิลซึ่งเลือกทำงานแบบเทเลคอมมิวเตอร์โดยอยู่ที่โอเรกอนนานหนึ่งปีครึ่ง
และในที่สุดก็ตัดสินใจย้ายกลับไปที่ชิคาโกเมื่อปีที่แล้ว ลอราบอกเธอพบเห็นข้อดีและข้อเสียของการเป็นเทเลคอมมิวเตอร์แล้ว
"ตอนที่เป็นเทเลคอมมิวเตอร์ คุณจะมีความสามารถทำงานได้มากกว่าที่เคยคิดว่าจะทำได้เมื่อครั้งที่ทำงานประจำ
แต่ว่าคุณจะไม่รู้ความเคลื่อนไหวของบริษัท" ลอราคิดว่าหากเป็นเช่นนี้ต่อไป
บริษัทอาจหันไปทำธุรกิจอื่นๆ และทิ้งเธอไป ลอราจึงตัดสินใจกลับไปทำงานประจำที่ชิคาโกอีกครั้ง
และได้งานในแผนกเว็บไซต์ในบริษัทมอร์นิงสตาร์เธอมีความสุขกับงานใหม่ และมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากแม้จะรู้ตัวว่า
"มีความอดทนน้อยลงเมื่อต้องเข้าประชุมที่น่าเบื่อ" ก็ตาม
เพื่อนคนหนึ่งของผมก็เล่าให้ฟังว่า มีนักเขียนคนหนึ่ง ได้รับการติดต่อให้เขียนงานให้กับสำนักพิมพ์ด้านคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่งในนิวอิงแลนด์
แต่วันหนึ่งทางสำนักพิมพ์ก็หานักเขียนอีกคนหนึ่งที่คิดค่าจ้างถูกกว่าได้
นักเขียนคนนั้นก็เลยตกงานไป
นี่คือความกังวลของพวกเทเลคอมมิวเตอร์ ซึ่งรู้ดีว่าความสัมพันธ์ผ่านสายโทรศัพท์ไม่อาจเชื่อมโยงเราเข้ากับเพื่อนฝูงที่ทำงานได้ยาวนาน
แต่ผมคิดว่าเดี๋ยวนี้งานของเทเลคอมมิวเตอร์กำลังเปิดกว้างกว่าเมื่อห้าปีก่อนอีกมาก
ผมไม่คิดว่าเทเลคอมมิวเตอร์คนไหนจะได้รับแต่งตั้งเป็น CEO ของบริษัทที่อยู่บนตึกอาคารสูงๆ
แต่โอกาสของพวกเราอยู่ที่อินเตอร์เน็ตต่างหาก เพราะมีงานอีกมากมายทำได้โดยอาศัยโมเด็ม
และเทเลคอมมิวเตอร์ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่ไซเบอร์คอมมิวเตอร์ ซึ่งจะมีโอกาสได้เปรียบในเชิงแข่งขัน
จิล ฟอลลิคเห็นด้วยกับความคิดนี้ เธอบอกโครงการใหม่ของเธอไม่มีทางทำได้สำเร็จหากไม่มีอินเตอร์เน็ต
เธอ เองก็อาศัยสื่ออินเตอร์เน็ตนี้ในการหาข้อมูลทำวิจัย ห้องทำงานของเธอยังติด
ป้ายว่า "โลกทั้งโลกตอนนี้มีแต่อินเตอร์ เน็ต อินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ต"
แดน กอร์เรล บอกผมว่าเขาได้รู้จักซูซาน ชารินก็เพราะอินเตอร์เน็ต ส่วนชารินก็บอกว่า
"คนที่ฉันรู้จักในชีวิต การเป็นไซเบอร์คอมมิวเตอร์ล้วนแต่เป็น คนน่าสนใจกว่าคนที่เธอรู้จักที่บริษัทโบรกเกอร์เสียอีก"
แต่ความสัมพันธ์ในระบบไซเบอร์ จะทดแทนการพบปะแบบเห็นตัวตนกันหรือเปล่า
ยังเป็นคำถาม แดนบอกว่าคงแทนกันไม่ได้ เพราะการพบหน้ากันจะสร้างความรู้สึกเข้าอกเข้าใจกัน
มันเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ ต้องใช้เวลา และมนุษย์ก็ต้องใช้ประสาท
สัมผัสในการมอง เป็นสัญลักษณ์ของการอยู่ร่วมกัน และเอาใจใส่ดูแลกัน
"แต่สำหรับผม ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าเห็นด้วยกับแดนทั้งหมดหรือไม่ เหตุผลหนึ่งก็เพราะกรณีที่เกิดขึ้นกับซูซานเมื่อสองสามปีก่อน
ซูซานรู้จักกับผู้ชายคนหนึ่งที่โอเรกอนโดยผ่านสื่ออินเตอร์ เน็ต ทั้งสองติดต่อกันอยู่หลายเดือน
และพบว่าต่างก็มีความคิดเห็นตรงกันในเรื่องการบริหารเงินของคนอื่น ในที่สุดพวกเขาก็ตกลงตั้งบริษัทร่วมกัน
Efficient Frontier Advisor's โดยที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน หลังจากนั้น
กิจการก็ทำรายได้เพิ่มขึ้นถึงกว่าสองเท่าที่ซูซานเคยบริหารมา ซูซานเคยเชิญเพื่อนร่วมธุรกิจของเธอมาพักที่บ้านของคุณแม่วัย
85 ของเธอที่นิวยอร์กคืนหนึ่ง ซึ่งเธอก็เล่าติดตลกว่า เขาไม่เห็นเหมือน
พวกฆาตกรเลยสักนิด
เรื่องของซูซานจะตลกหรือเปล่าสำหรับคุณ? แต่ตอนที่ผมฟังเรื่องนี้ ทำให้ผมมองในแง่ดี
เหมือนกับเมื่อครั้งที่ผมได้ยินคำว่า "เทเลคอมมิวเตอร์" นั่นเอง