Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533
ไอบีเอ็มในทศวรรษที่ 90 "จับมือคู่แข่งหาพันธมิตรทางธุรกิจ"             
 


   
search resources

Computer
สมภพ อมาตยกุล




ทศวรรษที่ 90 มีความหมายอย่างสำคัญสำหรับภาคธุรกิจต่าง ๆ ของไทย เพราะไม่เพียงแต่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเท่านั้น แต่ไทยยังก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย

เครื่องมือสำคัญที่จะใช้แข่งขันทางธุรกิจในทศวรรษนี้เห็นจะหนีไม่พ้นความฉับไว ในการได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมมีบทบาทอย่างมาก

สมภพ อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีบทบาทมากรายหนึ่งในการพัฒนาตลาดการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไทยเปิดเผยในงาน I/S MANAGEMENT CONVENTION ที่พัทยาเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมศกนี้ว่า "ตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีการขยายตัวมาก เห็นได้จากยอดขายของไอบีเอ็มในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2533 ทำได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 10% คิดเป็นมูลค่า 51 ล้านดอลลาร์หรือ 1,326 ล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้น 47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2532"

ตลาดคอมพิวเตอร์ที่เติบโตมากที่สุดคือ ด้านไฟแนนซ์และอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมระบบงานมีมากขึ้น (COMPUTER INTERGRATED MANUFACTURING) ส่วนตลาดที่เติบโตรองลงมาคือตลาดด้านการจัดจำหน่ายและตลาดภาครัฐบาล

เป็นที่ทราบกันดีว่าการพัฒนาตลาดคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มนั้นใช้วิธีขายผ่านตัวแทน โดยปัจจุบันไอบีเอ็มมีตัวแทนทั่วประเทศหรืออาจจะเรียกว่าคู้ค้าทางธุรกิจ (BUSINESS PARTNERS) รวม 22 ราย แบ่งเป็น SYSTEM REMARKETER-SR 9 ราย SYSTEM TNTEGRATOR-SI 6 ราย DEALER 5 ราย VALUE ADDED DISTRIBUTORVAD 2 ราย

สมภพกล่าวว่า "การทำธุรกิจผ่านตัวแทนมีข้อดีคือได้ใกล้ชิดลูกค้า สามารถช่วยหา SOLUTION สนองความต้องการของลูกค้าได้ อย่างไรก็ตามเราไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายว่าปีหนึ่ง ๆ จะต้องขยายคู่ค้าให้มากขึ้นเท่านั้นเท่านี้ เพราะการขยายดีลเลอร์เป็นเรื่องไม่ยาก แต่ที่ยากคือดีลเลอร์ต้องมีความอดทนในการพัฒนาตลาด ต้องมีประสบการณ์บริหารและช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่ดีด้วย"

ดีลเลอร์ของไอบีเอ็ม ส่วนมากค่อนข้างประสบความสำเร็จในการขาย แต่มีอยู่รายหนึ่งซึ่งสมภพเปิดเผยว่าต้องหยุดกิจกรรมชั่วคราว เพราะไม่มีบุคคลากรที่จะทำทางด้านนี้ นั่นคือบริษัท โค้วโอเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในเครือโค้วยู่ฮะ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายระดับ SR ในภาคอีสานที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อกลางปี 2532

สมภพเปิดเผยว่า "ตอนนี้เรายังไม่ได้แต่งตั้งใครขึ้นมาแทนที่ เพราะว่าสัญญาที่เรามีกับโค้วฯ ยังไม่หมด เขาจะทำอีกก็ได้ แต่เราก็ดูอยู่เหมือนกันว่าใครจะมาทำแทนเขาได้"

คนในวงการกล่าวถึงประเด็นเรื่องโค้วฯ ว่าเป็นเรื่องที่ไอบีเอ็มมีความคาดหมายกับโค้วฯ สูงกว่าที่เป็นจริง และโค้วโอเอฯ ก็คาดการณ์ภาวะตลาดในภาคอีสานผิดพลาด ดังนั้นทุนที่ทุ่มลงไปในการจัดตั้งสำนักงานและบุคลากรในช่วงแรกจึงแทบจะเป็นการสูญเปล่า เพราะผู้บริหารระดับสูงพากันลาออกเป็นทิวแถวทั้งที่ได้รับค่าจ้างในอัตราสูง

เป็นที่แน่นอนว่าโค้วโอเอฯ ต้องยุบกิจการ และไอบีเอ็มต้องหาตัวแทนจำหน่ายใหม่ในภาคอีสาน รวมทั้งประเมินสภาพตลาดที่นั่นใหม่ด้วย

สมภพกล่าวถึงนโยบายการทำตลาดในช่วงปีที่เหลือ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายระยะ 3 ปีว่า "เราจะให้บริการในแต่ละภาคธุรกิจ ทั้งด้าน HARDWARE SOLUTION และ SOFTWARE SOLUTION เราได้จัดจำหน่าย APPLICATION SOLUTION SOURCING มี คน 3 คนคอยดูว่ามีซอฟท์แวร์ดี ๆ อยู่ที่ไหนบ้าง เพื่อที่จะได้เอามาแนะนำและพัฒนาสนองความต้องการของลูกค้า"

ทั้งนี้สมภพกล่าวว่าการร่วมมือกับบริษัทคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อหันมาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (BUSINESS ALLIANCE) นั้นได้เริ่มทำมา 2-3 ปีแล้ว โดยในบางครั้งบริษัทคู่แข่งก็ซื้อ DISK DRIVE ของไอบีเอ็มไปใส่ LOGO ของตัวเองออกจำหน่ายก็มี

อันที่จริงนั้น ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยเป็นผลสะท้อนมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของบริษัทแม่คือ IBM CORPORATION ในสหรัฐ ซึ่งเปลี่ยนนโยบายจากเดิมที่ไม่นิยมทำธุรกิจร่วมกับใคร มาเป็นการหาพันธมิตรทางธุรกิจโดยเข้าไปจับมือร่วมทำธุรกิจกับบริษัทต่าง ๆ

ในขวบปีที่ผ่านมา ไอบีเอ็มเข้าไปซื้อหุ้น 25% ของบริษัท CSSL ซึ่งเป็น SOFTWARE HOUSE ในฮ่องกงเพื่อให้บริษัทนี้พัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ บนเครื่องไอบีเอ็ม และไอบีเอ็มยังจับมือกับ STEVE JOBS แห่งบริษัท NEXT จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งแอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์และร่วมคิดค้นเครื่องแมคอินทอชกับ JOHN SCULLEY ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารแอปเปิ้ลฯ คนปัจจุบัน ยังไม่มีใครรู้ว่าความร่วมมือกับ JOBS ครั้งนี้จะนำไปสู่การเปิดตัวสินค้าใหม่ ๆ ที่เป็นคู่แข่งในระดับ PC อย่างไรหรือไม่

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังร่วมมือกับบริษัท DIEBOLD CORPORATION ในสหรัฐเพื่อสร้างบริษัทใหม่ ให้บริการทางด้าน SELF SERVICE SOLUTION สำหรับบรรดากิจการสถาบัน…………… ……………

ไอบีเอ็ม…………….ว่า การร่วมมือกันตั้งบริษัทใหม่ครั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของ ไอบีเอ็มในการที่จะจัดหา SOLUTIONS ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

จากข้อตกลงในความร่วมมือครั้งนี้ ไอบีเอ็มจะเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ และให้บริการต่าง ๆ ของ DIEBOLD ในย่านเอเชียแปซิฟิก โดยผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านั้นจะอยู่ภายใต้ยี่ห้อ IBM

สมภพเปิดเผยด้วยว่า กรณีของประเทศไทยนั้นทางไอบีเอ็มจะเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่อง ATM ให้ธนาคารต่าง ๆ แทนที่ DIEBOLD ซึ่งปัจจุบันผลิตเครื่อง ATM ให้ธนาคารกรุงเทพและธนาคารกรุงไทย

รายล่าสุดที่ผ่านมาสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อเดือนมิถุนายน 2533 คือแผนก MEDIA INDUSTRY MARKETING ของไอบีเอ็ม ร่วมมือกับแผนก ATEX PUBLISHING SYSTEMS ของบริษัท ELECTRONIC PRE-PRESS SYSTEMS, INC. (EPPS) ในสิงคโปร์เพื่อที่จะพัฒนาโปรแกรม การพิมพ์ในระบบงานหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

EPPS เป็นบริษัท SUPPLIER ชั้นนำในระบบการพิมพ์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร เชี่ยวชาญในด้าน PRE-PRESS SYSTEMS คือโปรแกรมงานในกระบวนการตั้งแต่พิมพ์ข่าวจนถึงการแยกสี ก่อนหน้าที่ ATEX จะร่วมมือกับไอบีเอ็มครั้งนี้ ATEX ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเพอร์ริ-เฟอรัลหลายยี่ห้อ ซึ่งรวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง PS/2 ของไอบีเอ็มด้วย

หลังการตกลงร่วมมือครั้งนี้แล้ว ATEX จะพัฒนาซอฟท์แวร์บนเครื่องไอบีเอ็มแต่อย่างเดียว และก่อนสิ้นปี 2533 ATEX จะ CONVERT, โปรแกรมด้าน NETWORK FILE SERVER เข้ามาไว้บนเครื่อง RISC-6000 ของไอบีเอ็ม

REINER EBENHOCH ผู้จัดการ ATEX ASIA กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "การร่วมทุนครั้งนี้เป็นผลดีในทางธุรกิจด้วยกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ไอบีเอ็มสามารถหาพันธมิตรทางธุรกิจได้มากขึ้น ขณะที่สามารถขายเครื่องฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ได้ ส่วน ATEX ก็จะได้พัฒนาซอฟท์แวร์ต่าง ๆ บนเครื่องที่มีขีดความสามารถสูงอย่างไอบีเอ็ม และในส่วนของพนักงาน ATEX ก็ค่อนข้างมีความมั่นใจมั่นคงในงานที่ทำ เพราะมียักษ์ใหญ่ของโลกหนุนหลัง"

ว่าไปแล้วก็คือ งานนี้แฮปปี้กันทั้งคู่

แต่ที่แฮปปี้มากที่สุดคือไอบีเอ็ม ประเทศไทย ที่การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ของบริษัทแม่ช่วยให้ทำมาค้าคล่องขึ้นมาก ๆ ยอดขายก็พุ่งสูงลิ่ว

ไม่รู้ว่าเมื่อถึงปลายปีนั้น จะต้องปรับตัวเลขรายได้ซึ่งมากกว่าที่คาดหมายไว้สักเท่าใด!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us