Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533
คาซูฮิโก ทากาฮาชิ "ไม่จำเป็นต้องรู้จักผบ.ทบ. มากเท่าผู้ว่าแบงค์ชาติ"             
 


   
search resources

Stock Exchange
คาซูฮิโก ทากาฮาชิ




บรรดาโบรกเกอร์ใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทนกันนานหลายปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็น โนมูระ, นิกโก้, ยามาอิชิ แต่ไดวา ซีเคียวริตี้ส์ 1 ใน 5 โบรกเกอร์ยักษ์ของญี่ปุ่นที่ไปใหญ่ในสหรัฐและยุโรปอยู่ไม่น้อยนั้น เพิ่งจะได้เข้ามาตั้งสำนักงานเอาเมื่อต้นปี 2532 นี่เอง

ที่ว่าใหญ่นั้นให้ดูที่รายได้ของปี 1989 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรอบบัญชี ไดวาฯ ทำรายได้ จากค่าธรรมเนียมในการค้าหลักทรัพย์ การรับประกันและจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้นสูงมาก คือ 61 และ 166.9 พันล้านเยน ตามลำดับ ทั้งที่เป็นการคำนวณจากระยะเวลาเพียง 6 เดือน (ดูตารางรายได้ค่าธรรมเนียม)

นอกจากนี้ไดวาฯ ยังเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ของวงการค้าพันธบัตรโลก มีเครือข่ายงานค้าตลอด 24 ชั่วโมง ที่โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ก ฮ่องกง โดยส่วนแบ่งตลาดสำคัญของไดวาฯ อยู่ที่การค้าพันธบัตรยูโรเยน และพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น

ถึงกระนั้นก็ยังไม่ช้าเกินไป หากเข้ามาล่าไปอีก 2 ปีซิจัดว่าช้าแน่ เพราะคงจะหาบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มาร่วมทุนด้วยได้ไม่ง่าย

อย่างไรก็ดี ไดวาฯ ยังไม่ตกลงปลงใจกับบริษัทหลักทรัพย์ไทยรายใด ธุรกิจที่สำนักงานตัวแทนแห่งนี้ทำยังคงเน้นในเรื่องของการจัดหาและเก็บรวบรวมข้อมูลส่งให้สำนักงานใหญ่ที่โตเกียว ข้อมูลหลักคือเรื่องราวเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อมูลบริษัทตลาดหลักทรัพย์ฯ สถานการณ์เศรษฐกิจการเมือง โดยเน้นข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทโบรกเกอร์และหนังสือพิมพ์

คาชูฮิโก ทากาฮาชิ ผู้จัดการสำนักงานตัวแทนไดวา ซีเคียวริตี้ส์ ในกรุงเทพเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "การเข้ามาตั้ง สนง. เมื่อปีที่แล้วถือเป็นครั้งแรกที่เข้ามาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แต่ในส่วนของความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลหรือเอกชนนั้นมีมานานแล้ว โดยแผนกคอร์-ปอเรท ไฟแนนซ์ที่ฮ่องกงและสิงคโปร์เคยทำจัดหาเงินกู้ให้บริษัทไทยหลายครั้ง โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตรยุโรปและญี่ปุ่น"

ตัวทากาฮาชินั้นทำงานกับไดวาฯ มาตั้งแต่เรียนจบเศรษฐศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเคโอะหมาด ๆ เมื่อปี 1970 โดยเริ่มงานในฝ่ายรับประกันและจัดจำหน่ายพันธบัตร ครั้นจบการศึกษาบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กในปี 1975 ก็ยังกลับมาทำงานที่ไดวาฯ ต่อ โดยถูกส่งตะเวนไปฮ่องกง โตเกียว (เอเชีย) อัมสเตอร์ดัม (ยุโรป) และนิวยอร์ก (อเมริกา) ฝ่ายงานที่เชี่ยวชาญมากหนีไม่พ้นด้านไฟแนนซ์ ค้าหลักทรัพย์และเงินตราต่างประเทศซึ่งล่าสุดก่อนมารับตำแหน่งผู้แทนในกรุงเทพฯ นั้น ประจำอยู่ที่ไดวา ซีเคียวริตี้ส์ อเมริกา อิ้งค์ นาน 4 ปีครึ่ง

การเดินทางมารับตำแหน่งที่กรุงเทพฯ ครั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วทากาฮาชิก็พอใจมาก เขาชอบอาหารไทยและมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมธุรกิจต่างแดนได้อย่างรวดเร็ว

มูลเหตุที่ไดวาฯ เข้ามาตั้งสนง. ตัวแทนเนื่องมาจากความต้องการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่น ในตลาดหลักทรัพย์ไทยมีเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับความรุ่งเรืองของตลาดหลักทรัพย์ไทยด้วย ไดวาฯ ได้ดำเนินการขอให้สมาคมผู้ค้าหลักทรัพย์แห่งประเทศญี่ปุ่น อนุมติให้นักลงทุนประเภทบุคคลชาวญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ผ่านโบรกเกอร์ญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติครั้งนี้ทำสำเร็จในเดือนธันวาคม 2530

จากนั้นไดวาฯ ก็ดำเนินการจัดตั้งกองทุน กองแรกคือ ASIAN FUND เพื่อลงทุนในตลาดหุ้นหลายประเทศในย่านเอเชีย วงเงิน 4 พันล้านบาท โดย 20% ของวงเงินดังกล่าวใช้ลงทุนในตลาดหุ้นไทยส่วน THAI CAPITAL FUND ลงทุนในประเทศไทยเต็มวงเงินประมาณ 1,700 ล้านบาท

การตั้งกองทุนเข้ามาซื้อหุ้นในประเทศไทยเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้สะดวกมาขึ้น ทั้งนี้เพราะกฎหมายญี่ปุ่นระบุว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้ก็โดยผ่านบริษัทโบรกเกอร์ญี่ปุ่นด้วยกันเท่านั้น แล้วโบร์กเกอร์เหล่านี้จะส่งคำสั่งซื้อขายมาให้กับโบรกเกอร์หรือซับโบรกเกอร์ท้องถิ่นอีกทอดหนึ่ง

นักลงทุนญี่ปุ่นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมแก่โบรกเกอร์ท้องถิ่นและโบรกเกอร์ญี่ปุ่นในอัตรา 0.5% เท่ากัน และโบรกเกอร์ญี่ปุ่นยังจะหักค่าธรรมเนียมอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า "INTERMEDIATE COMMISSION อีก

ส่วนนักลงทุนญี่ปุ่นหรือชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศที่เป็น RESIDENT ก็ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่างประเทศได้โดยทำตามกฎหมายในประเทศนั้น ๆ หมายความว่าต้องมีการเสียภาษีตามที่กฎหมายในแต่ละแห่งบังคับไว้ด้วย

บริษัทในเครือของไดวาฯ ที่ทำด้านการซื้อขายหุ้นคือ DAIWA INTERNATIONAL CAPITAL MANAGEMENT (DICAM) ซึ่งทำการลงทุนให้ลูกค้าสถาบัน ส่วนลูกค้ารายบุคคลที่ซื้อหน่วยลงทุนนั้นจะต้องผ่านทาง DAIWA INVESTMENT TRUST AND MANAGEMENT

ไดวาฯ ใช้โบรกเกอร์ที่เป็นบริษัทไทยแท้ ๆ ซึ่งหมายถึงโบรกเกอร์ที่ไม่มีการร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น เช่น ภัทรธนกิจ ธนชาติ ธนสยาม เป็นต้น

ทากาฮาชิ กล่าวว่า "หากเราซื้อหุ้นผ่านซีมิคหรือทิสโก้ทางไดอิชิคังเงียวแบงก์ก็ต้องรู้ว่าเราซื้อหุ้นอะไร หรืออย่างพัฒนสินเราก็ไม่ใช้ เพราะครั้งหนึ่งทางโนมูระฯ เคยร่วมทุนด้วย และตอนนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์กันในทางใดทางหนึ่ง เราจะใช้โบรกเกอร์กระจายไปหลายเบอร์ เลือกเอารายที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่ดีแก่เรา"

นอกเหนือจากความสนใจในตลาดหุ้นแล้ว ไดวาฯ ยังมีบริษัทลูกที่เข้ามาทำธุรกิจเวนเจอร์ แคปิตอลในไทยคือ IPPON INVESTMENT & FINANCE CO., LTD. หรือ NIF ผลงานการร่วมลงทุนชิ้นแรกคือบริษัทเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์และโทรทัศน์ โดยสินค้าเหล่านี้ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ ทั้งหมด

เทคโนโลยี แอพพลิเคชั่น ยื่นขออนุญาตจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่มกราคม 2533 ปัจจุ บันอยู่ระหว่างการรออนุมัติจากระทรวงการคลัง

การร่วมทุนและผลักดันบริษัทร่วมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างกรณีเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่นฯ ถือเป็นภาระกิจสำคัญอันหนึ่งของไดวา แต่ที่เป็นเป้าหมายหลักยังคงเป็นเรื่องการสนับสนุนการลงทุนของชาวญี่ปุ่นในตลาดหลักทรัพย์ไทย การจัดตั้งกองทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น

ทากาฮาชิค่อนข้างจะเชื่อมั่นในทิศทางการเติบโตของตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ไม่น้อย เขาไม่หวั่นเกรงผลกระทบทางการเมืองที่เคยแผลงฤทธิ์เอากับตลาดหุ้นในครั้งก่อน ๆ

ว่าไปแล้วนักลงทุนที่ตื่นตระหนกกับการเมืองก็มักจะเป็นคนไทยเสียมากกว่าพวกต่างชาติ ซึ่งจะรับรู้เรื่องการเมืองไทยไปอีกแบบหนึ่ง ทากาฮาชิกล่าวอย่างติดตลกว่า "ผมไม่เห็นจำเป็นต้องรู้จัก ผบ.ทบ. มากเท่าผู้ว่าการแบงก์ชาติเลย"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us