Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2533
วิโรจน์ ตันตราภรณ์ ยอมทิ้งเงินปีละ 50,000 เหรียญ เพื่อเทคโนโลยีไทย             
 


   
search resources

วิโรจน์ ตันตราภรณ์




ข่าวการเข้าเทคโอเวอร์บริษัทโทรคมนาคม "ไทร์" ในยุโรปของชินเทียกอิเล็กทรอนิค ซิสเต็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายของกลุ่มพี่น้องงานทวีเมื่อปลายเดือนมีนาคมอย่างเงียบ ๆ ก่อนหน้าที่จะเข้ามาแถลงข่าวอย่างเปิดเผยในกลางเดือนพฤษภาคมที่เพิ่งผ่านพ้นมา นับว่ามีความหมายยิ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยี่ด้านอิเล็คทรอนิกส์ไทย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเข้าเทคโอเวอร์ไม่เพียงแต่จะได้เครือข่ายการตลาดเท่านั้นหากยังได้เครือข่ายการวิจัยและพัฒนามาด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญการลงทุนเทคโอเวอร์ครั้งนั้น

งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี่ในโลกปัจจุบัน ถือว่าเป็นภารกิจที่จำเป็นต้องกล้าลงทุน เพื่อความได้เปรียบในโลกการแข่งขันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องการสิ้นเปลืองเงินทุนโดยไม่จำเป็น ในขณะนี้เพราะเมืองไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องยอดขายที่ยังน้อยและที่สำคัญกว่านั้นยังขาดแคลนทั้งประสบการณ์และนักวิจัยด้านนี้มาก

เมื่อ 75 ปีที่แล้วเทคโนโลยีขั้น 100 แมนเยียร์คือการทำ DUCTILE TUNSTEN ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก แต่ในปี 1990 นี้เทคโนโลยีที่ใหญ่กว่า 3000 แมนเยียร์จึงจะเรียกว่าใหญ่

ผู้รู้ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าในสหรัฐมีการลงทุนวิจัยในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคถึงปีละเกือบ 25% ของยอดขาย (ปี 1988) มีนักวิจัยที่มีประสบการณ์มีผลงานโดยใช้เวลาไปแล้วนับแสนแมนเยียร์ ขณะที่เมืองไทยภาครัฐได้ลงทุนไปในเทคโนโลยีการเกษตรคิดเป็นมูลค่า 12,500 ล้านบาทแล้ว (1แมนเยียร์เท่ากับ 50,000 บาท) หรือประมาณ 250,000 แมนเยียร์

การที่ประสบการณ์ส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในสาขาธุรกิจการเกษตรนับแสนแมนเยียร์มีผลงานวิจัยนับหลายร้อยชิ้น เหตุนี้ทิศทางการสร้างงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ในขณะนี้ จึงควรเน้นหนักในธุรกิจที่เกี่ยวข้องงานเกษตรเป็นด้านหลัก

"การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมันขึ้นกับขนาด อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดใหญ่ใช้คนมากและกินเวลานานนับสิบปีถ้างานนั้นใช้คน 60 คนก็จะใช้เวลาลงทุน 600 แมนเยียร์ ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากทั้งที่ว่าไปแล้วเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ ใช่ว่าจะสูงเลิศมากนักเหตุนี้องค์กรที่สามารถลงทุนงานวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมนี้ได้ต้องมียอดขายสูงมาก" ผู้รู้ยกตัวอย่างการลงทุนวิจัยให้ฟัง

คำว่า "แมนเยียร์"เป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้กันในงานลงทุนโครงการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ความหมายของมันก็คือ เป็นหน่วยวัดค่าการใช้เวลาของจำนวนนักวิจัยในโครงการคูณด้วยระยะเวลาที่กำหนดในโครงการ

จำนวนแมนเยียร์จึงเป็นตัวสะท้อนถึงขนาดเทคโนโลยีที่จะบอกว่า มีความเหมาะสมเพียงไรสำหรับประเทศไทย

ดร.วิโรจน์ ตันตราภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสถาบันวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาเล่าถึงภาพในมุมกว้างของงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทยว่า อุตสาหกรรมหลายชนิดยังไม่ค่อยตื่นตัวในการลงทุนสร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนาฯเท่าไรนักเนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูงขณะที่ยอดขายยังไม่มากนัก ทางออกในการผลิตจึงใช้วิธีซื้อเทคโนโลยีจากต่างประทศปีๆ หนึ่งเกือบ 2,500 ล้านบาท (ปี 1987)

ดร.วิโรจน์เคยทำงานวิจัยที่บริษัทเยนเนอรัล อีเล็คทริค(ยีอี)มาตั้งแต่ปี 2502 เพิ่งจะขอลาออกก่อนเกษียณเมื่อปี 1987 โดยยอมละทิ้งรายได้ปีละ 50,000 เหรียญเพื่อกลับมาทำงานที่เมืองไทยตามคำเชิญของพิจิตต รัตตกุล รมต. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯในสมัยนั้น (1987) และ มีกำหนดเวลา 3 ปี

"ผมมาในฐานะนักวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์สหรัฐ ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่หมดสัญญาแล้วก็วางแผนว่าจะอยู่ทำงานด้านส่งเสริมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่อ ผมจะมีรายได้แค่ระดับของคนมีอาชีพเป็นภารโรง เท่านั้นคือปีละ 18,000 เหรียญซึ่งไม่สามารถยังชีพได้ในนิวยอร์ก"

พนักงานของยีอีกำหนดเกษียณอายุที่ 65 ปี ทางบริษัทจะให้ค่าบำนาญตลอดชีพปีละ 50,000 เหรียญ แต่ถ้าหากลาออกก่อนจะไม่ได้สิทธิอันนี้แต่เขาก็ลาออกก่อน เพื่อต้องการพัฒนาและกระตุ้นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยโดยมาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการรอง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา (STDB)

ดร.วิโรจน์จบการศึกษาระดับปริญญาเอกที่มิชิแกน (แอนอาร์เบอร์) สาขาฟิสิกส์ของแข็งเมื่อปี 2501 มีผลงานวิจัยด้านอิเล็คทรอนิกส์ชั้นสูงให้ยีอีและองค์การนาซาหลายสิบชิ้นตลอดอายุการทำงานที่ยีอีเกือบ 30 ปี จนได้รับรางวัล CERTIFICATE OF RECOGNITION จากนาซาในผลงานวิจัย ADVANCED SOLAR CELL และผลงานที่โด่งดังในด้าน INFRARED CID IMAGING ที่ทำไว้เมื่อปี 1975 ก็ได้รับรางวัล GEDUSHMAN AWARD ในปี 1986

ด้วยประสบการณ์ที่คลุกคลีกับงานวิทยาศาสตร์มายาวนานเขาเล็งเห็นว่า การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่จมปลักในห้องทดลองย่อมไม่เพียงพอต่อการพัฒนา เพื่อความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ "นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาการพัฒนาทางสังคมด้วย เพื่อขยายองค์ความรู้ในหลายมิตินั่นหมายถึงต้องเรียนรู้วิทยาการทางสังคมควบคู่ไปด้วย" ดร.วิโรจน์กล่าวถึงจุดยืนทางความคิดในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เขามองว่าการที่ไทยจะยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีต้องปูพื้นฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนโดยผ่านระบบการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยม "สภาพการขาดแคลนนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ส่วนสำคัญมาจากความบกพร่องในระบบการศึกษาที่ไม่ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง ทำให้การผลิตนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นไปได้น้อย"

นอกจากนี้แล้วเขายังเห็นว่าที่ผ่านมารัฐได้เข้ามาลงทุนทางวิจัยเสียเองแทนที่จะปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการลงทุน จุดนี้เขาเชื่อว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เอกชนไทย ไม่ค่อยมีใครสนใจที่จะลงทุนด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื่องจากเห็นเป็นการสิ้นเปลือง

สิ่งนี้เป็นภารกิจหนึ่งที่เขาต้องการกระตุ้นให้เอกชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ซึ่งจากการที่เขาคลุกคลีในงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ที่เมืองไทยเกือบ 3 ปีก็พบว่าเริ่มมีเอกชนบางรายเช่นปูนซิเมนต์ไทย กลุ่มพรีเมียร์ และกลุ่มซีพีมีการลงทุนตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนาฯพร้อมงบประมาณจำนวนหนึ่งแล้ว

นั่นหมายถึงว่าจากนี้ไประฆังการต่อสู้เพื่อเอาชนะความล้าหลังในคุณภาพของสินค้าในเวทีตลาดโลกของไทยได้ดังขึ้นแล้ว และเปรียบเสมือนเป็นสัญญาณการเริ่มยุคสมัยใหม่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ริเริ่มโดยภาคเอกชน

และบุคคลที่อยู่ข้างหลังภาพการริเริ่มหนทางการพัฒนาฯนี้คงแยกไม่ออกจากบทบาทหัวแถวของดร.วิโรจน์ ตันตราภรณ์ ที่อุตส่าห์ละทิ้งเงินก้อนใหญ่จากยีอีเพียงเพื่อมาสร้างสรรค์วิทยาศาสตร์ในบ้านเกิดของตนเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us