Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
การศึกษาตลอดชีวิตในยุคอินเตอร์เน็ต             
 


   
search resources

Networking and Internet




โรเจอร์ แอล. ฟีนสตรา (Roger L. Feenstra) วัย 44 ผู้บริหารเชนร้านหนังสือ Berean Christian Stores แห่งซินซินนาติ ซึ่งมีสาขา 22 แห่งในเก้ามลรัฐของสหรัฐฯ ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการงาน แต่เมื่อตกกลางคืนสัปดาห์ละสองวัน เขาจะเข้าเรียนวิชาการด้านบริหารในโครงการของมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส การเรียนหนังสือของฟินสตราไม่ต้องเสียเวลาเดินทางแม้แต่น้อย เพราะเขาใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อ

ผมเลือกเวลาเรียนเองได้" ฟีนสตรา บอก "ผมเข้าเรียนได้ทุกเมื่อตามความ สะดวก จะเรียนห้านาทีหรือสองชั่วโมงก็แล้วแต่"

ฟีนสตราสามารถกดหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อไปยังโครงการได้ในขณะที่อยู่ในห้องครัว ที่ริเวอร์ไซด์ หรือจากห้องพักในโรงแรมทั่วประเทศ จากนั้นก็ดาวน์โหลดคำบรรยายวิชา ส่งรายงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมชั้น รวมทั้งรับทราบผลสอบทางอินเตอร์เน็ต (เขาเพิ่งได้เกรด A ในวิชาทรัพยากรมนุษย์) เขาใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง

ยังมีคนอเมริกันอีกนับล้านที่กำลังเรียนหนังสือแบบเดียวกับฟีนสตรา ในขณะที่ตลาดแรงงานกำลังเปลี่ยนแปลงในอัตราเร่ง ผู้ที่หันมาสนใจการศึกษาตลอดชีวิตจึงมีมากขึ้น

"มันเป็นการเรียนรู้ตามเวลาและสถานที่ ที่คุณเลือกเองได้" จอห์น เอส. พาร์ คินสัน (John S. Parkinson) ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และการสร้างสรรค์แห่งเอิร์นส์ แอนด์ ยังก์ (Ernst & Young) กล่าว

ในอนาคตการเรียนรู้จะไม่จบลงที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยอีก เมื่อก่อนกลุ่มแพทย์จะต้องคอยติดตามผลงานทางวิชาการเพื่อไล่ให้ทันความก้าวหน้าทางการแพทย์ ตอนนี้นักธุรกิจเองก็ต้องหาความรู้ใหม่ๆ ใส่ตัวเพื่อไม่ให้เสียเปรียบคู่แข่งเช่นกัน

ในแง่สถิติ ปรากฏว่ามีชาวอเมริกัน 23 ล้านคนที่เข้าร่วมโครงการการศึกษาผู้ใหญ่ในปี 1984 และเพิ่มจำนวนเป็น 76 ล้านคนในปี 1995 เมื่อถึงปี 2004 อาจเพิ่มเป็น 100 ล้านคน

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชอร์เมน เอ. ทิลลี (Shermaine A. Tilly) วัย 47 ไม่เคยนึกมาก่อนว่าเธอจะต้องกลับมาเรียนหนังสืออีกครั้ง หลังจากที่จบปริญญาเอกทางชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปส์กิน เมื่อปี 1980 เธอต้องการเปลี่ยนสายงานมาทางด้านการบริหารและพัฒนาธุรกิจ แต่เพราะขาดความรู้ทางธุรกิจ จึงศึกษาต่อระดับ MBA ที่ Rotman School of Management แห่งมหาวิทยาลัยโต-รอนโต

สำหรับคนทำงานแล้ว การเพิ่ม พูนความรู้ให้ทันสมัยจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน บริษัทอย่าง เจเนอรัล อิเล็กทริก (General Electric) ยูนิซิส (Unisys) และเฟเดอรัล เอ็กซ์เพรส (Federal Expess) คือตัวอย่างองค์กรที่จัดได้ว่าเป็น "มหาวิทยาลัยองค์กร" เนื่องจากให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานทั้งทางด้านวัฒนธรรมองค์กร และทักษะการบริหารโดยมีโครงการฝึกอบรม ทั้งที่ใช้ระยะเวลาเพียงวันเดียวไปจนถึงสามสัปดาห์ เป้าหมายก็คือให้ผู้บริหารมีความสามารถที่จะกระตุ้นให้พนักงานเกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน เมื่อปี 1988 มีบริษัทประเภทนี้ในสหรัฐฯ ราว 400 แห่ง ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 1,600 แห่ง

อินเตอร์เน็ตมีส่วนสนับสนุนการให้การศึกษาอบมรมแก่พนักงานในองค์กรเหล่านี้ด้วยเช่นกัน อย่างที่ เพน แซร์ อิงค์ (Pensare Inc.) ในแคลิฟอร์เนีย ได้ร่วมมือกับวาร์ตัน (Wharton) และสำนักพิมพ์ฮาร์วาร์ด บิสซิเนส สกูล จัดโครงการอบรมระบบออนไลน์ซึ่งบริษัทสามารถใช้ผ่านเครือข่ายภายในองค์กรได้ โครงการเหล่านี้แตกต่างจากหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งให้คุณวุฒิแบบเดิม โดยมีเป้าหมายที่การฝึกฝนทักษะเฉพาะด้านมากกว่า เช่น ศิลปะการเจรจาต่อรอง หรือลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น

สถาบันการศึกษาเองก็กำลังปรับตัวตามความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกัน โดยอาศัยอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสนับสนุน อย่างที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) จัดการศึกษาระดับปริญญาโทออนไลน์ "นักศึกษาต้องการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา มหาวิทยาลัยต่างๆ จึงพยายามคิดหาทางออกที่ดีที่สุดที่จะตอบสนองความต้องการนี้" แอนดี ดิเปาโล (Andy DiPaolo) ผู้ช่วยคณบดีคณะวิศวกรรม และ Executive director ของศูนย์การพัฒนาบุคลากรมืออาชีพแห่งสแตนฟอร์ด ให้ความเห็น

อัลเลน อง (Allen Ong) วิศวกรออกแบบด้านฮาร์ดแวร์ที่ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (Hewlett-Packard) ในแวนคูเวอร์ เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดดังกล่าว ขณะนี้อง กำลังศึกษาระดับปริญญาโททางด้านวิศวกรรม ในระบบออนไลน์ตามโครงการของสแตนฟอร์ดที่ปาโล อัลโต แคลิฟอร์เนีย องสามารถล็อกออนเพื่อบันทึกคำบรรยายและใช้ดัชนีช่วยในการเลือกหัวข้อที่ต้องการแลกเปลี่ยนความเห็นได้

ชั้นเรียนระบบอินเตอร์เน็ตนี้ช่วยให้นักศึกษาที่ค่อนข้างขี้อายกล้าแสดงความเห็นมากขึ้น การโต้ตอบผ่านอินเตอร์เน็ตยังช่วยให้มีการกลั่นกรองความคิดได้มากขึ้น ที่สำคัญก็คือ ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องคร่ำเคร่งกับการจดคำบรรยายจากแผ่นสไลด์ เพราะสามารถดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตได้

อย่างไรก็ตาม นักศึกษาระบบ

ออนไลน์มีค่าใช้จ่ายสูงไม่น้อย ที่มหาวิทยาลัย ซีราคิวส์ (Syracuse University) ค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตร MBA ทางอินเตอร์เน็ตและหลักสูตรปกติจะตกราว 32,000 ดอลลาร์เท่ากัน ส่วนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาทางไกลหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิศวกรรม ตกราว 45,000 ดอลลาร์ แต่หลักสูตรภาคปกติ 26,000 ดอลลาร์

บรรยากาศวิชาการเป็นประเด็นหนึ่งที่นักศึกษาจำนวนหนึ่งชี้ว่าเป็นจุดอ่อนของการศึกษาทางอินเตอร์เน็ต ผศ.แคโรล เอส. ฟังกาโรลี (Carole S. Fungaroli) สาขาวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ผู้เขียนหนังสือ "Traditional Degrees for Nontraditional Students" ให้ความ เห็นว่า "ในฐานะครูบาอาจารย์ เราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของนักศึกษาได้จริงๆ แต่จะไม่มีทางทำได้ถ้าเราไม่เคยเห็นหน้าตาพวกเขา และไม่เคยพูดคุยกันตัวต่อตัว"

แต่ก็มีนักศึกษาทางอินเตอร์เน็ตบางคนที่ยืนยันว่าชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปได้ และเปลี่ยนในทางปฏิบัติด้วย เช่น มอลลี ฮิลตัน (Molly Hilton) วัย 33 ฮิลตันทำงานรับผิดชอบโครงการด้านการสื่อสารการตลาดของบริษัทเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่อย่าง Haworth Inc. ในมิชิแกน ฮิลตันจบปริญญาตรีทางด้านภาษาอังกฤษ และได้เข้าศึกษาหลักสูตร UCLA Extentions ทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเตรียมตัวศึกษาต่อปริญญาโททางบริหารธุรกิจ บริษัทให้การสนับสนุนด้านการศึกษาแก่ฮิลตัน และเธอสามารถเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรภาคปกติหรือระบบอินเตอร์เน็ตก็ได้ ฮิลตันเลือกอย่างหลังโดยให้เหตุผลว่า หลังจากได้ศึกษาหลักสูตร UCLA Extentions เธอพบว่าอี-เมลทำให้ผู้สอนตั้งใจสอนนักศึกษามากขึ้น นอกจากนั้น ฮิลตันยังเป็นคุณแม่ลูกสองที่ต้องรับผิดชอบครอบครัวตามลำพัง อินเตอร์เน็ตจึงอำนวยความสะดวกให้เธอได้ทั้งครอบครัว การงาน และการศึกษา "การเรียนระบบออนไลน์ทำให้เราแม่ลูก ได้นั่งเรียนและทำการบ้านไปพร้อมๆ กัน"

ในแง่นี้ การเรียนระบบออนไลน์จึงไม่ใช่การเปลี่ยนวิธีการศึกษาแบบเดิม เพียงแต่มีช่องทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเท่านั้น และยังมีตัวอย่างการผสมผสานการศึกษาในแบบออนไลน์กับการศึกษาในชั้นเรียนปกติอีกด้วย เช่น หลักสูตร MBA ข้ามประเทศของมหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม (Fordham University) ซึ่งกำหนดหลักสูตรให้ระยะเวลาเรียน 15 สัปดาห์ ในหนึ่งภาคเรียน นักศึกษาจะต้องเข้าชั้นเรียนเดือนละครั้ง ในวันสุดสัปดาห์ ที่นิวยอร์กซิตี้ หรือละแวกใกล้เคียง เวลาที่เหลือนักศึกษาต้องศึกษาคำบรรยาย รวบรวมเอกสารและทำงานกลุ่มโดยอาศัยอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง หลักสูตรนี้ยังเลียนแบบบรรยากาศบริษัท ข้ามชาติ เพื่อตอบสนองนักศึกษาที่มาจากองค์กรชั้นนำอย่างไอบีเอ็ม เป็นต้น แต่มหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮมก็ยอมรับว่าอินเตอร์เน็ต ไม่สามารถทดแทนการเรียนการสอนแบบพบปะในชั้นเรียนได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่มีเวลาและเงินมากพอที่จะศึกษาในภาคปกติได้ อินเตอร์เน็ตจึงมีส่วนช่วยคนกลุ่มนี้ได้มาก "Online Learning.net" ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาหลักสูตรให้กับ UCLA Extentions และคาดว่าจำนวนนักศึกษาระบบออนไลน์จะเพิ่มเป็น 10,000 คนในปีหน้า จากตัวเลขราว 6,000 คนในปีนี้ และ 2,200 คนเมื่อปีที่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านที่พบว่าการศึกษาทางอินเตอร์เน็ตคือหนทางที่ลงตัวระหว่างครอบครัวและงานอาชีพ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us