Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2539
เชสเตอร์ตัน เริ่มต้นงานใหญ่ในห้องแคบ             
 


   
search resources

สยามเทคโนซิตี้
Real Estate
เชสเตอร์ตัน ประเทศไทย




เปิดศักราชใหม่ 2539 นับว่าเป็นปีหนูทองของบริษัทเชสเตอร์ตัน ประเทศไทย บริษัทบริหารงานขายข้ามชาติที่สามารถคว้างานชิ้นใหญ่มาได้เป็นประเดิม เพราะบริษัทบริหารงานขายรายอื่นๆ ก็ต้องการช่วงชิงโครงการนี้ทั้งสิ้น

โครงการใหญ่ที่ว่านี้คือ "จุฬาไฮเทคสแควร์" โครงการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกำลังเร่งงานทางด้านการก่อสร้าง โดยบริษัทไทยชิมิสึ จำกัด

จุฬาไฮเทคดำเนินการโดยบริษัทสยามเทคโนซิตี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ นำโดยธนาคารกสิกรไทย บงล.ศรีมิตร บงล.นวธนกิจ บงล.เอกธนกิจ และบริษัทไจโด จากประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วน 55% และ 45%

ไจโดเป็นองค์กรในลักษณะรัฐวิสาหกิจของประเทศญี่ปุ่น มีไอ.อี.ซี.เอฟ ถือหุ้น 35% ที่เหลือเป็นบริษัทชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น ที่รวมตัวกันเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ

โครงการนี้จะประกอบไปด้วยอาคารที่พักอาศัยสูง 39 ชั้น โดยที่ 4 ชั้นล่างเป็นพลาซาในพื้นที่ 7,000 ตารางเมตร ชั้นที่ 6-37 เป็นที่พักอาศัยจัดแบ่งเป็น 500 ยูนิต หรือ 60,000 ตารางเมตร ส่วนของโครงการศูนย์ประชุมมีพื้นที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร

ส่วนที่ 3 คืออาคารสำนักงานสูง 40 ชั้น มีพื้นที่รวมประมาณ 300,000 ตารางเมตร พื้นที่ขายออฟฟิศประมาณ 120,000 ตารางเมตร

งานหลักทางเชสเตอร์ตันก็คือการขายพื้นที่พักอาศัย และพื้นที่ของอาคารสำนักงานทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าทางเชสเตอร์ตันรับงานนี้ด้วยความมั่นใจ เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นที่ดินแปลงใหญ่ใจกลางเมืองที่ไม่มีคู่แข่งประกอบกับความพร้อมของเจ้าของโครงการ ทำให้ไม่เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายให้ลูกค้ามั่นใจจนยอมควักกระเป๋าซื้อ

รวมทั้งจุดเด่นของโครงการนี้ที่สามารถคุยให้ลูกค้าฟังได้ก็คือทางจุฬาฯ ต้องการให้อาคารสำนักงานของที่นี้เป็นอาคารที่ทันสมัยด้วยการติดตั้งระบบอินเทลลิเจนท์อย่างเต็มรูปแบบและมีศูนย์ประชุมนานาชาติ ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางอาคารที่พักอาศัยกับอาคารสำนักงานมีพื้นที่รวมประมาณ 10,000 ตารางเมตร สำหรับจัดนิทรรศการทางด้านวิชาการ

ซึ่งยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นไปอีกว่าโครงการนี้น่าสนใจเพียงใด ระหว่างพัฒนางานนี้ เป้าหมายต่อไปของสยามเทคโนซิตี้ก็คือการทำโครงการในเฟสต่อๆ ไปในที่ดินของจุฬาฯ ซึ่งขณะนี้ทางจุฬาฯ ก็กำลังเตรียมที่ดินอีกประมาณ 80 ไร่ ตรงข้ามกับตลาดสามย่านเพื่อทำการเปิดประมูลในปีนี้ เป็นเฟสที่ 2 นับเป็นที่ดินแปลงใหญ่มูลค่าสูงที่สุดในประเทศขณะนี้ ซึ่งแน่นอนว่านักพัฒนาที่ดินหลายรายกำลังจ้องตาเป็นมัน แต่ยังติดขัดอยู่ตรงที่ว่าทางจุฬาฯ ยังไม่สรุปรายละเอียดออกมาว่าจะเป็นรูปแบบใด

เกียรติ์กำจร พงษ์สวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท สยามเทคโนซิตี้ จำกัด ผู้ประมูลโครงการจุฬาไฮเทคสแควร์ได้เองก็ได้เปิดเผยว่า ทางบริษัทเองก็ยังคอยรายละเอียดจากจุฬาฯ ในขณะเดียวกันก็เตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการต่างๆ อยู่เพื่อจะได้พัฒนาเป็นโครงการต่อเนื่องกับจุฬาไฮเทค

"เราอาจจะต้องหาผู้ร่วมทุนเพิ่มเพราะเป็นโครงการที่ใหญ่ขึ้น เปรียบเทียบง่ายๆ จุฬาไฮเทคสร้างบนที่ดินเพียง 21 ไร่ใช้เงินไปประมาณ 7,500 ล้าน ถ้าที่ดิน 80 ไร่มันต้องลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 4 เท่าตัว"

ถ้างานชิ้นใหญ่ต่อไปสยามเทคโนซิตี้คว้าไปได้อีกก็มีโอกาศมากว่า เชสเตอร์ตันน่าจะมีงานใหญ่ยักษ์อีกโครงการรออยู่ข้างหน้าเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามจากการขายจุฬาไฮเทคก็คือตัวตัดสินเช่นกัน

บริษัทเชสเตอร์ตัน ประเทศไทย เป็นบริษัทบริหารการขายข้ามชาติที่เป็นยักษ์ใหญ่รายหนึ่งทางด้านการขายของเมืองไทยรับงานการขายพื้นตึกใหญ่ๆ มาแล้วหลายโครงการ ปัจจุบันมีโครงการที่กำลังขายอยู่เช่น เอสจีทาวเวอร์ ลุมพินี เพลส เออีซีเพลส หลายโครงการที่ทางบริษัทรับงานบริหารการขายก็จะทำงานทางด้านประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วย

แต่การจัดงานลงนามในสัญญารับบริหารการขายระหว่างบริษัทสยามเทคโนซิตี้ กับบริษัทเชสเตอร์ตันไทย ซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 นั้นไม่ประทับใจเลย

เริ่มจากความล่าช้าของผู้บริหารทั้ง 2 ฝ่ายที่ผิดนัดไปกว่าชั่วโมง และความคับแคบของสถานที่ในห้องเซ็นสัญญาที่เหมือนจะอยากเซ็นกันเงียบๆ จนต้องย้ายมาห้องแถลงข่าวที่มีขนาดไม่ต่างกันนัก แถมมีเพียงชุดรับแขกที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนอยู่ 1 ชุด เฉพาะบริการ 5 คนเข้าไปแล้ว ในขณะที่มีนักข่าวกว่า 30 คน ซึ่งอาจจะเป็นความผิดของนักข่าวที่เดี๋ยวนี้มีมากฉบับเกินไป

ในวันนั้นนักข่าวหลายคนค่อยๆ สลัดแขนขาและเดินออกมาด้วยความเมื่อยขบ พร้อมๆ กับหวังว่า กว่าโครงการนี้จะขายหมดเชสเตอร์ตันคงได้พัฒนาฝีมือการจัดแถลงข่าวอีกหลายครั้ง และคงจะพร้อมกว่าครั้งนี้แน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us