Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
ค้นหาพลังสมองของคนรุ่นใหม่             
 


   
search resources

Networking and Internet




องค์กรธุรกิจในยุคอินเตอร์เน็ตจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องอาศัยพลังสมองหรือความคิดริเริ่มของคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่มัวพะวงกับการหาวัตถุดิบ หรือแหล่งทุน ไมใช่วิ่งหาเทคโนโลยีหรือตลาดใหม่ๆ เพราะ "เงินทุนหาได้ไม่ยาก กลยุทธ์ที่เยี่ยมๆ ก็เลียนแบบได้" เอ็ด มิเชล (Ed Michaels) ผู้อำนวยการของแม็คคินซีย์ แอนด์ โค. (Mckinsey & Co.) บอก "พนักงานที่ฉลาดและเก่งต่างหากที่จะทำให้บริษัทได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน"

ารแสวงหาบุคลากรที่มีฝีมือกำลังเป็นแนวทางที่บริษัทในยุคอินเตอร์เน็ตให้ความ สำคัญเป็นอันดับแรก อย่างที่ เทเรซา การ์ซา (Theresa Garza) Vice-President ของเดล คอมพิวเตอร์ คอร์ป (Dell Computer Corp.) ให้ความเห็นว่ามนุษย์ จะนำจินตนาการและชีวิตไปใช้กับเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลง และสร้างความสำเร็จและผลกำไรขึ้นมาจากความคิดทั้งที่เรียบง่ายและที่สลับซับซ้อน การ์ซาเรียกทั้งหมดนี้สั้นๆ ว่า "เสียงฮัม" ซึ่งไม่ได้หมายถึงเสียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังทำงาน แต่หมายถึงพนักงานที่ทำงานให้บริษัทอย่างทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ "คุณแค่เดินเข้าไปในบริษัท ก็จะรู้ได้ทันทีว่าบริษัทไหนกำลังจะล่มสลาย เราพยายามทำให้เกิด เสียงฮัมž ที่ว่า เพราะเป็นเสียงของคนที่กระฉับกระเฉง ทำงานหนักและรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ทำงาน"

วิธีการที่ทำให้การ์ซาได้ยิน "เสียงฮัม" ก็คือให้พนักงานจับเธอหย่อนลงไปใน แท็งก์น้ำ ซึ่งทำให้เกิดกระตือรือร้นและทำให้พนักงานเข้าถึงผู้บริหารได้ วิธีการนี้จึงต่างไปจากที่ โธมัส วัตสัน (Thomas Watson) ผู้ก่อตั้งไอบีเอ็ม นั่งไขว้มืออยู่หลังป้าย "Think" ในห้องสมุดแห่งหนึ่ง วิธีการทั้งสองชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมากขององค์กรธุรกิจในยุคอินเตอร์เน็ตกับองค์กรยุคเก่า

วัตสันและผู้นำยุคแรกที่สร้างองค์กรที่เป็นต้นแบบของระเบียบ หลักการและการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว โดยเฉพาะในประการหลังนี้เห็นได้จากสัญลักษณ์เสื้อเชิ้ตสีขาวคอปกแข็งที่พนักงานขายของไอบีเอ็มทุกคนสวมใส่

โครงสร้างองค์กรไอบีเอ็มมีลำดับชั้น และเป็นแบบเดียวกับระบบราชการ ซึ่งเคยแสดงถึงความสำเร็จของบริษัทในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างล่าช้า และตลาดส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ แต่มาวันนี้ คำขวัญ "Think" ของวัตสัน กลับแตกต่างตรงข้ามกับความคิดของแอนดรูว์ เอส. โกรฟ (Andrew S. Grove) CEO ของอินเทล คอร์ป (Intel Corp.) โกรฟเห็นว่า "มีแต่พวกประสาทอ่อนๆ เท่านั้นที่จะอยู่รอด" เขาอธิบายว่าเพราะคนพวกนี้จะไม่ละเลยลูกค้า ตลาด และพนักงาน

ผู้บริหารในปัจจุบันต่างตระหนักดีว่าองค์กรที่มีโครงสร้างแนวราบจะทำให้การตัดสินใจต่างๆ รวดเร็วทันกับยุคที่ตลาดโลกเคลื่อนไปตามความเร็วของอิน เตอร์เน็ต องค์กรที่มีลำดับชั้นของผู้บริหารคอยตรวจสอบในเรื่องการตัดสิน ใจจะถูกแทนที่ด้วยทีมงานที่เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กที่เป็นอิสระ องค์กรในยุคอินเตอร์เน็ตจำเป็นต้องอาศัยความริเริ่ม และความชาญฉลาดของพนักงานแต่ละคนที่จะผลักดันการตัดสินใจที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและสอด คล้องกับตลาด ดังที่ จอร์มา โอลิลา (Jorma Ollila) CEO ของโนเกียแห่งฟินแลนด์บอกว่าเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่ "ความคล่องตัว จิตใจที่เปิดกว้าง และความโปร่งใสขององค์กร"

แล้วบริษัทชั้นเยี่ยมทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร วิธีการก็คือ การทบทวนความหมายของประโยคที่ว่า "มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุด" บริษัทในยุคอินเตอร์เน็ตอย่าง อเมริกา ออนไลน์ (America Online) ดับเบิ้ล คลิก (DoubleClick) ซิสโก ซิสเต็มส์ (Cisco Systems) และเฟเดอรัล เอ็กซ์เพรส (Federal Express) ต่างกำลังทบทวนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับทรัพยา-กรมนุษย์ ทั้งในด้านการแสวงหาตัวบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและรักษาบุคลากรเหล่านั้นไว้ ในยุคที่ทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญเหนือสิ่งอื่น

ยิ่งกว่านั้น อินเตอร์เน็ตยังมีส่วน ในการปรับเปลี่ยนด้านทรัพยากรมนุษย์โดยไม่มีข้อจำกัดอย่างที่ผ่านมา

ตัวอย่างเช่น พลาเน็ต-อินทรา. คอม (Planet-Intra.com Ltd.,) บริษัทซอฟต์แวร์หน้าใหม่อายุหนึ่งปี มีกิจการอยู่ที่เมาน์เทน วิว แคลิฟอร์เนีย มี อลัน เจ. แมคมิลลาน (Alan J. McMillan) วัย 37 ปี เป็นผู้ก่อตั้งและเป็น CEO แมค มิลลานเป็นชาวแคนาดาซึ่งเคยทำงานอยู่ที่ฮ่องกง ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผลิตเขียนโดยทีมงานในโครเอเทีย บริษัทมี Vice-President เป็นชาวรัสเซีย ส่วน VP ซึ่งรับผิดชอบการขายระหว่างประเทศเป็นชาวเยอรมันอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น ผู้บริหารทั้งหมดใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อกันโดยไม่มีอุปสรรคพรมแดน

"เศรษฐกิจยุคใหม่จะเน้นไปที่ทุนทางด้านสติปัญญา การแบ่งปันความรู้จะพาองค์กรให้เดินหน้าไป ในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ใช่การทำงานตลอดชีวิต เราเคยทำงานเพื่อค่าจ้าง ต่อไปคนจะทำงานเพื่อการเป็นเจ้าของกิจการ แรงงานเคยต่อสู้กับฝ่ายบริหารมาตลอดในเศรษฐกิจระบบเก่า แต่ทุกวันนี้การทำงานเป็นทีมและการมอบอำนาจให้ตัดสินใจเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ" จอห์น ที แชมเบอร์ (John T. Chambers) CEO ของซิสโก ซิสเต็มส์ (Cisco Systems Inc.) ให้ความเห็น

หากจะกล่าวอย่างย่อๆ ก็คือ เศรษฐกิจโลกกำลังหันเหทิศทางจากการลงทุนที่เป็นตัวเงินไปสู่ทุนทางด้านสติปัญญา และบริษัทหลายแห่งก็กำลังปรับตัวตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังนี้

ดับเบิลคลิก อิงค์ (DoubleClick Inc.) บริษัทขายโฆษณาทางเว็บไซต์ นับเป็นธุรกิจหน้าใหม่ในยุคอินเตอร์เน็ต มีที่ตั้งอยู่ที่เมดิสัน เอเวนิว นิวยอร์ก ปีที่แล้วมียอดรายได้เพิ่มขึ้น 162% เป็น 80 ล้านดอลลาร์

เมื่อเร็วๆ นี้ ดับเบิลคลิก อิงค์ จัดงานปฐมนิเทศพนักงานใหม่จำนวน 30 คน โดยพนักงานทุกคนต้องเข้าร่วมงาน "คลิก เกอร์แคมป์" เป็นเวลาถึงหนึ่งสัปดาห์

พนักงานหนุ่มสาววัยยี่สิบถึงสามสิบที่บริษัทรับเข้ามามีจุดหนึ่งร่วมกันบางประการ กล่าวคือ ส่วนมากเป็นพนักงานที่มาจากองค์กรที่มีโครงสร้างและแบบแผนการทำงานตามแบบเก่า เช่น อเมริกัน เอ็กซ์เพรส (American Express), โมบิล- ออย (Mobil Oil), ไทม์ วอร์เนอร์ (Time Warner), แอนเดอเซ็น คอนซัลติง (Andersen Consulting) เป็นต้น นอกจากนั้น กว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานใหม่มีคนรู้จักอยู่ในบริษัท ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทรับสมัครพนักงานทั้งหมดผ่านทางอินเตอร์เน็ต จึงคิดว่าหากมีบุคคลที่อ้างอิงได้จะช่วยให้บริษัทไม่ว่าจ้างพนักงานผิดคน

หลังอาหารว่างในวันแรก พนักงานได้รู้จักกับ เควิน โอคอนเนอร์ (Kevin O'Connor) CEO วัย 38 ปี และเป็นวิศวกรผู้ก่อตั้งบริษัท โอคอนเนอร์และทีมผู้บริหารเชื่อว่าพนักงานใหม่ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งพนักงานต้อนรับที่นิวยอร์ก หรือพนักงานขายในปารีสจะต้องรู้ว่าพวกเขาล้วนมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัท

"บริษัททุกแห่งให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก แต่เราให้ความสำคัญกับบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กรของเราก่อนอื่น เราถือว่าการดูแลพนักงานของเราสำคัญกว่าลูกค้าของเรา" เควิน พี.ไรอัน (Kevin P. Ryan) President ของ ดับเบิลคลิก กล่าว

ในวันสุดท้ายของแคมป์ โอคอนเนอร์และผู้บริหารยังได้ร่วมเล่นเกม "Lazer Tag" และสังสรรค์กับพนักงานใหม่ที่บาร์แห่งหนึ่งใกล้ๆ กับบริษัท "เราพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้พนักงานของเราเข้ามาร่วมกัน ถ้าเราได้คน 30 คนที่สนใจเรื่องแจ๊ซและสกี บริษัทของเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของสายใยทางสังคมของชีวิตมนุษย์" ไรอันบอก

ในด้านการอบรมพนักงาน โอคอนเนอร์ได้บอกให้ทุกคนรู้ถึงเป้าหมายและกลยุทธ์ของบริษัท และสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานพร้อมที่จะออกรบ "เรากำลังสร้างประวัติศาสตร์" เขาบอก "เรากำลังสร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมที่จะขยายไปอีกมหาศาล เป็นแนวโน้มที่จะเติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ จะชนะไฟ ชนะล้อ โทรศัพท์ โทรทัศน์ ไม่มีอะไรที่จะเข้าถึงผู้คนได้รวดเร็วขนาดนี้ เรากำลังจะสร้างสิ่งที่ไม่น่าเชื่อให้เกิดขึ้นในบริษัทของเรา" เขากล่าวปิดท้ายและตั้งคำถามต่างๆ ไว้ โดยให้หมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านแก่พนักงานใหม่ทุกคน

ก่อนที่คลิกเกอร์แคมป์จะจบลง ผู้บริหารระดับสูงทุกคนได้มาพบกับพนักงานใหม่ซึ่งทุกคนจะต้องประเมินผลงานประจำปีของผู้บริหารใน 25 หัวข้อ การประเมินผลตอบคำถามหลักสองข้อคือ ผู้บริหารได้ว่าจ้างพนักงานที่ดีเข้ามาทำงานใช่หรือไม่? พนักงานชอบการทำงานกับผู้บริหารหรือไม่?

เดล คอมพิวเตอร์ คอร์ป เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรในสภาวะที่บริษัทต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เจ มาร์ติน (Jay Martin) ผู้จัดการฝ่ายวางแผนวัย 28 ซึ่งจบ MBA จาก Duke University และเข้าร่วมงานกับเดลเมื่อปีกลายบอกว่า "เรามีเรื่องต้องตัดสินใจทุกวันโดยที่ยังไม่มีข้อมูลครบ 100% แต่ เราต้องพร้อมที่จะทำแบบนั้น ทุกคืนวันอาทิตย์ ผมจึงเฝ้าคอยให้ถึงเช้าวันจันทร์"

พนักงานแบบมาร์ตินนี้เองที่เดลแสวงหา การรับสมัครพนักงานจึงเริ่มต้นจากการลงทุนวิจัยในเรื่องความสำเร็จ ขององค์กร ยิ่งกว่านั้น พนักงานที่สมัครเข้ามาไม่เพียงต้องผ่านการทดสอบ ทักษะทางด้านเทคนิคและหน้าที่รับผิดชอบ แต่ยังต้องผ่านการทดสอบในเรื่องความอดทนต่อความไม่ชัดเจน และการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้ในระหว่างการทำงาน กรณีผู้สมัครในระดับ VP จะถูกส่งไปสัมภาษณ์ในเรื่องพฤติกรรมเป็นเวลานาน และการทดสอบข้อเขียนจำนวนมาก "เป็นงานที่ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง" แอนดี้ เอสปาร์ซา Vice president ผู้รับผิดชอบด้านบุคลากรกล่าว

เทเรซา การ์ซา ซึ่งรับผิดชอบแผนกบัญชีซึ่งมีพนักงาน 600 คน บอกถ้าหากทุกอย่างเรียบร้อย "เสียงฮัม" ที่เธอพูดถึงก็จะดังขึ้น เป้าหมายของเธออยู่ที่การเป็นผู้นำและวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารที่เข้าใจถูกต้องตรงกัน ในช่วงสองสัปดาห์แรกของไตร-มาส เธอจะชี้แจงในเรื่องวัตถุประสงค์ในวาระต่างๆ กันห้าครั้ง หัวหน้างานแต่ละคนจะได้รับข้อความแต่ละข้อความ อย่างน้อยสามครั้ง ทั้งนี้ก็เพราะ "คนมักจะหงุดหงิดเมื่อไม่ได้พูดเรื่องเดียวกัน ถ้าทุกคนพูดเรื่องเดียวกันก็จะลดความอึดอัดและการเมืองภายใน" การ์ซาบอก และเสริมว่า ความสนุกสนานเป็นอีก สิ่งหนึ่งที่เธอใช้ บางครั้งเธอซื้อปืนแบบที่นักมายากลใช้มาเล่น หรือแต่งตัวประหลาดๆ มาทำงาน ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้ผู้บริหารเข้าถึงพนักงานได้

ซิสโก ซิสเต็มส์ ซึ่งมีฐานอยู่ที่ซานโฮเซ แคลิฟอร์เนีย เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ใช้กลยุทธ์หลากหลายในการหาพนักงานฝีมือเยี่ยมมาร่วมงาน โดยนอกจากจะรับสมัครพนักงานในช่วงรับสมัครพนักงานตามงานต่างๆ แล้วยังติด ตั้งป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ตามบริเวณฟรีเวย์ที่การจราจรคับคั่ง และบอกกับผู้ขับ ขี่ยวดยานซึ่งกำลังเหน็ดเหนื่อย ว่าถ้ามา ทำงานกับซิสโกแล้วจะไม่ต้องเดินทางให้ เหนื่อยขนาดนี้ ซิสโกยังใช้เว็บไซต์เป็น ช่องทางโฆษณารับสมัครพนักงานด้วย

ซิสโกยังใช้กลยุทธ์การซื้อกิจการ เพื่อให้ได้พนักงานที่มีฝีมือ กล่าวคือ บริษัทบางแห่งใช้การซื้อกิจการเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และเพื่อให้เกิดการประหยัดตามขนาดแต่ซิสโกซึ่งมียอดขายต่อปีถึง 12 พันล้านดอลลาร์ โดยมีอัตราการเติบโตถึงสิบเท่าในช่วงห้าปีและ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการซื้อกิจการราว 30 แห่ง พนักงานของซิสโกราวหนึ่งในสี่ได้มาจากการซื้อกิจการ "กุญแจความสำเร็จของเราอยู่ที่ความเข้าใจว่าเรากำลังซื้อตัวคนเก่งไม่ใช่ซื้อเทคโนโลยี" โดนัลด์ เจ. ลิสต์วิน (Donald J. Listwin) Executive Vice-President บอกและเสริมว่า "เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมากจนสินค้าอาจตกรุ่นไปในเวลาเพียง 18 เดือน ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือการให้พนักงานในบริษัทที่เราซื้อมาได้ทำงานชิ้นใหญ่ขึ้น ไม่ใช่งานเล็กๆ อีก"

พนักงานของซิสโกจะทำงานภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่มีการชี้จุดผิดพลาดขององค์กรแบบเดิมๆ เช่น พนักงานอาจจะเห็นแชมเบอร์ CEO ของซิสโกเดินไปหยิบน้ำดื่มเองถือกระเป๋าทำงานด้วยตัวเองซึ่งเขาบอกว่า "ผมไม่เคยขอให้ใครถือกระเป๋าให้คุณต้องไม่ขอให้ผู้ร่วมทีมงานของคุณทำอะไรที่คุณไม่ลงมือทำด้วยตนเอง

ผลจากแนวทางดังกล่าวทำให้ซิสโกมีอัตราการลาออกของพนักงานต่ำเพียง 6.7% ต่อปี เทียบกับอัตรา 18-28% ของทั้งอุตสาหกรรม และที่สำคัญซิสโกมีนโยบายลดพนักงานทุกระดับลง 5% ต่อปี การตัดสินใจว่าใครจะอยู่หรือออกไป ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุการทำงานหรือระดับตำแหน่ง "แต่ขึ้นอยู่กับว่าคุณรู้จักเพิ่มมูลค่าให้ตัวเองหรือเปล่า? หรือคุณเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรที่นี่หรือเปล่า? "

เฟเดอรัล เอ็กซ์เพรส (Federal Express Corp.) เป็นบริษัทรับส่งสินค้าและพัสดุที่มีพนักงานถึง 34,300 คนในปีที่ แล้วและมีอัตราการลาออกของพนักงานระดับบริหารและพนักงานประจำเพียง 4%

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเฟดเด็กซ์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภาย ในองค์กร โดยให้พนักงานได้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยขององค์กรธุรกิจทีเดียว "เหตุผลหนึ่งที่คนมาทำงานกับเราก็คือ พวกเขาไม่ได้แค่เอาความสามารถชุดหนึ่งเข้ามาแล้วก็หยุดไว้แค่นั้น" ลาร์รี แม็คมาฮาน (Larry McMahan) Vice-President ของแผนกทรัพยากรมนุษย์ กล่าว

เฟดเด็กซ์ใช้เงิน 3% ของค่าใช้จ่าย รวมในด้านการฝึกอบรมพนักงาน นับเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าบริษัทส่วนใหญ่ ถึง 6 เท่าและในขณะที่บริษัทส่วนใหญ่ทุ่มเทค่าใช้จ่ายฝึกอบรมให้กับพนักงานระดับบริหารแต่ที่เฟดเด็กซ์ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับล่างระดับหนึ่งและสองต้องเข้าฝึกอบรมเป็นเวลา 10-11 สัปดาห์ในปีแรกของการทำงาน พนักงานนับหมื่นในระดับล่างไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงต่างต้องเข้าไปอบรมในสถาบันฝึกผู้นำ Leadership Institute ที่อยู่นอกเมืองเมมฟิส สถาบันแห่งนี้จะฝึกอบรมพนักงานทั้งในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรและการปฏิบัติงาน อีกทั้งมีเกมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน เช่นเกมปิดตาชู้ตบาสเกตบอลโดยมีหัวหน้าคอยบอกตำแหน่งให้

ความคิดริเริ่มของบริษัทเหล่านี้ ล้วนแต่มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหาบุคลากรชั้นเยี่ยมเข้าทำงานในยุคแห่งการท้าทาย และเป็นงานใหญ่ขององค์กรธุรกิจทุกแห่งในยุคอินเตอร์เน็ต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us