Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2539
ความฝันที่แหลกสลายของพระราม 9 กับเรื่องไม่คาดฝันของขาโจ๋ "ชาลี"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

เทวัญ ทรัพย์แสนยากร "หนูลองยา" ของอนันต์ กาญจนพาสน์?

   
search resources

ชาลี โสภณพนิช
ไพรัช ธัชยพงษ์




โครงการรอยังซิตี้ เป็นของบริษัทนารายณ์ร่วมพิพัฒน์ ที่เดิมมีตระกูลชาญอิสสระเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อปี 2532 ด้วยแนวความคิดที่ว่าต้องการสร้างเป็นศูนย์การค้าที่ยาวที่สุดในเมืองไทย เพราะพื้นที่บริเวณนั้นเป็นถนนที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งเลียบทางรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน ยาวประมาณ 1.8 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 88 ไร่ เชื่อมระหว่างถนนพระราม 9 กับถนนเพชรบุรี เป็นโครงการพัฒนาที่ดินซึ่งเช่าที่จากการรถไฟฯ ระยะเวลา 30 ปี ที่ได้รับความสนใจมากโครงการหนึ่งในขณะนั้น

ลักษณะของโครงการที่วางไว้ตั้งแต่แรกก็คือ เป็นร้านค้าย่อยติดถนนเรียงรายไปทั้ง 2 ฝั่ง โดยฝั่งขวาจากถนนพระราม 9 เป็นโชว์รูมชั้นเดียวขนาดประมาณ 120 ยูนิต และอีกฝั่งเป็นโชว์รูม 4 ชั้นครึ่งเป็นออฟฟิศสำนักงาน แต่ปรากฏว่ามีอุปสรรคต่างๆ มาโดยตลอด แม้เวลาลุล่วงมาถึงปี 2537 ก็ยังมีหลายส่วนที่ยังไม่ได้เริ่มงานก่อสร้าง แม้แต่ส่วนที่เปิดบริการได้แล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็ไม่มีกิจกรรมเกิดขึ้นนั้นเรียกได้เลยว่าเป็นโครงการร้างใจกลางเมืองที่น่าเสียดายอีกโครงการหนึ่ง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่มองการตลาดผิดพลาดอย่างมหันต์ ก่อให้เกิปัญหาระหว่างผู้ถือหุ้นในเวลาต่อมา

"สาเหตุหนึ่งในโครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะกลุ่มผู้ถือหุ้นของโครงการแตกคอกันก็เลยทิ้ง เดิมทีผมรู้จักกับคุณสงกรานต์ อิสสระ เขาคือหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งผมมองว่าเป็นคนรุ่นใหม่ เขาเชิญพวกเราในวงการเสื้อผ้าไปดูโลเกชั่น แล้วคุยเรื่องคอนเซ็ปต์กัน ร่วมกันวางแผนดีไซน์ตรงนี้ให้เป็นศูนย์การค้าเอ้าท์ดอร์ที่ยาวที่สุด เราวางรูปแบบสวยหรู ยุดนั้นถ้าไปสืบดูจะรู้ว่าผู้ที่ไปเซ้งพื้นที่ล้วนเป็นมืออาชีพทุกร้านทั้งนั้น"

สุพจน์ ตันติจิรสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทพีนากรุ๊ป ลูกค้าคนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ดีประกอบกับเป็นช่วงที่ธุรกิจบูมมาก โครงการนั้นสามารถขายพื้นที่ได้เป็นจำนวนมาก "เราตั้งใจให้ที่นี่เป็นเหมือนฮาราจูกุของโตเกียว เราวางถึงขนาดนั้น วางกันว่าในแต่ละวีคเอ็นด์จะปิดถนนสร้างแอคทิวิตี้ของรีเทลช็อปให้เป็นถนนสายแฟชั่น

สุพจน์เล่าต่อถึงสาเหตุของการลงทุนซึ่งเขามั่นใจมากถึงกับเซ้งในส่วนของตึกชั้นเดียวไว้ถึง 20 ห้อง แต่พอโครงการเดินหน้าต่อไม่ได้ เขาก็ถือเอาไว้ แล้วค่อยๆ ปล่อยเช่าให้กับธุรกิจผับเมื่อปีที่แล้วนี่เอง

อีดเหตุผลหนึ่งที่ทำให้โครงการนี้เดินต่อไม่ได้ ก็คือ ศักยภาพบนถนนพระราม 9 ไม่ได้เฟื่องฟูสุดๆ ตามที่คาดการณ์ไว้ ถนนพระราม 9 นั้นเป็นที่วากดหวังกันมากว่าจะเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญเส้นหนึ่ง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นถนนสายหลักที่สำคัญในการเดินทางไปสู่ภาคตะวันออก และเชื่อมโยงกับถนนสายสำคัญๆ หลายสาย เช่น รามคำแหง ศรีนครินทร์ พัฒนาการ อีกทั้งเป็นหนึ่งในโครงการจัดรูปที่ดินของสำนักผังเมืองที่มีควาใเป็นไปได้มากที่สุดอยู่ช่วงหนึ่ง นักพัฒนาที่ดินจำนวนมากจึงได้ประกาศยึดหัวหาดที่นี่กันเป็นทิวแถวเป็นทั้งโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่อาศัย และออฟฟิศสำนักงาน ถนนสายอาร์ซีเอ ที่เกิดขึ้น ในช่วงนั้นก็เต็มไปด้วยความหวังที่ว่า กลุ่มคนที่อยู่ในตึกทั้งหมายเหล่านั้นคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญ

แต่เมื่อฟองสบู่ที่ถูกตีให้ลอยฟ่อง แตกสลายไปเหลือแต่ความว่างเปล่า อาคารต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีเพียงไม่กี่โครงการ แถมยังชะลอการก่อสร้างออกไปเสีย ผลพวงที่อาร์ซีเอได้รับไปเต็มๆ ก็คือต้องกลายเป็นเมืองร้างรอคนอยู่หลายปี

ในปัจจุบันโครงการอาคารสำนักงานที่สร้างเสร็จแล้วจริงๆ ตรงหัวมุมถนนด้านพระราม 9 ก็มีโครงการว่องวานิช 1 อาคารว่องวานิช 2 สร้างเสร็จแล้วประมาณ 95% ตึกชำนาญเพ็ญชาติ ส่วนโครงการอื่นๆ กลับยังไม่มีวี่แววการก่อสร้าง มีเพียงแต่อาคาร เค.พี.เอ็นทาวเวอร์ ที่อยู่ไกลออกไปหน่อยกำลังเร่งมือในการก่อสร้าง

โครงการนี้ถึงจุดหักเหอีกครั้งหนึ่ง เมื่อชาตรี โสภณพนิช ธนาคารเจ้าหนี้ให้บริษัทซิตี้เรียลตี้ของชาลี ลูกชายคนที่ 3 ลงมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แทน แน่ล่ะ! ชาลีต้องรับภาระหนักในการฟื้นฟูรอยัลซิตี้อเวนิว

ช่วงแรกผับไม่ใช่แผนการในความคิดของชาลีเลยแม้แต่น้อย แต่ทุกวันนี้ผับกำลังทำให้เขาโชคดีอย่างคาดไม่ถึงทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us