Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2539
ศรีกรุงวัฒนา กับการกลับมาแบบแหยงๆ ของ "สยามอรุณ"             
 


   
search resources

ศรีกรุงวัฒนา
สว่าง เลาหทัย
Real Estate
สยามอรุณ ดีเวลลอปเม้นท์




บริษัทสยามอรุณ ดีเวลลอปเม้นท์ เป็นบริษัทพัฒนาที่ดินในเครือศรีกรุงวัฒนา บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการผลิตและค้าปุ๋ยของประเทศ ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2532 ปีที่ธุรกิจที่ดินฟูเฟื่องที่สุดของเมืองไทย

ในปีนั้น สยามอรุณประกาศจะปูพรมพัฒนาที่ดินในรูปแบบของคอนโดมิเนียม สำนักงาน ที่พักอาศัย โรงแรม อพาร์ตเมนต์พร้อมๆ กันถึง 10 โครงการ มีมูลค่านับแสนล้านบาท นับเป็นการเปิดตัวครั้งแรกอย่างอหังการ์ทีเดียว

ท่ามกลางการเฝ้าจับตามองจากผู้ที่สนใจและอยู่ในวงการข่าวคราวความคืบหน้าในการก่อสร้างโรงการต่างๆ ของบริษัทสยามอรุณก็ค่อยๆ หายไป ทั้งที่มีการยื่นเรื่องขออนุญาตก่อสร้างไปยังกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว

สาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงการต่างๆ ของบริษัทยังไม่ได้สร้างตอนนั้นเป็นเพราะการที่ สว่าง เลาหทัย ประธานกลุ่มศรีกรุง ซึ่งมีบริษัทในเครือต่างๆ มากมายนั้น ถึงแม้จะมีประสบการณ์ และมีเม็ดเงินมากพอที่จะซื้อที่ดินเก็บ แต่ในขณะเดียวกันก็ขาดทีมงานที่จะรุกทางด้านที่ดินอย่างจริงจัง

เมื่อมาประสบกับวิกฤติการณ์สงครามอ่าวเปอร์เชีย รวมทั้งเหตุการณ์การเมืองในประเทศที่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ทุกโครงการของสว่างถูกพับเก็บไว้นับตั้งแต่นั้นมา

สยามอรุณกลับมาสร้างความฮือฮาในกับวงการพัฒนาที่ดินอีกครั้งหนึ่ งเมื่อประมาณปี 2536 ด้วยการหยิบเอาโครงการคอนโดมิเนียมโครงการเดิมๆ มาปัดฝุ่นพัฒนาใหม่แต่ลดลงเหลือเพียงแค่ 8 โครงการ คือ โครงการอรุณนคร ในพื้นที่ 37 ไร่ที่จะสร้างเป็นอาคารพักอาศันถึง 10 ตึก บนถนนเจริญนคร โครงการนวอาคาร บนถนนพระราม 3 เนื้อที่ 20 ไร่ และอีก 6 โครงการจะกระจายอยู่บนถนนสุขุมวิททั้งหมด

พีรพล เสรฐภักดี กรรมการบริหารของบริษัทเคยยืนยันว่า 8 โครงการนี้จะทำการสร้างพร้อมๆ กัน กลยุทธ์ทางการตลาดที่วางไว้ในตอนนั้นที่สำคัญก็คือจะพุ้งเป้าไปยังกลุ่มธุรกิจค้าปุ๋ย ค้าเหล็กที่ติดต่อกับบริษัทแม่อยู่แล้ว และใช้วิธีแลกเปลี่ยนคำตอบแทน โดยให้พื้นที่ห้องชุดแทนการจ่ายค่าจ้างกับผู้รับเหมาและผู้ค้าวัสดุแทน โดยวิธีนี้พีรพลเคยเชื่อว่าจะเป็นการประหยัดงบประมาณในการก่อสร้าง และเพิ่มยอดขายได้อีก 50%

แต่เขาทำไม่สำเร็จ ในช่วงปี 2536 สยามอรุณก็ยังไม่สามารถก่อสร้างโครงการทั้งแปดพร้อมๆ กันได้ มีเพียงโครงการเดียวที่มีการเดินหน้าทางการก่อสร้างคือโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 39 ฟูจิ ซึ่งเป็นตึกสูง 14 ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ตั้งของฟูจิซูเปอร์มาร์เก็ต และมีห้องพักให้เช่าอีกประมาณ 168 ห้อง

จนกระทั่งปี 2538 สยามอรุณก็ได้เซ็นสัญญากับบริษัทฟิลิพพ์ ฮอลส์แมนไทย สร้างอีก 2 โครงการคือโครงการซิตี้รีสอร์ท สุขุมวิท 39-49 เป็นอาคารสูง 26 ชั้น ประกอบด้วย ห้องพัก 250 ห้อง และโครงการซิตี้รีสอร์ท สุขุมวิท 49 มีจำนวนห้องพัก 198 ห้อง

ทั้ง 3 โครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2539 นี้ ซึ่งก็เท่ากับว่า 10 โครงการที่เคยประกาศเปิดตัวเมื่อปี 2532 นั้นได้ทำไปแล้วเพียง 3 โครงการเท่านั้น

โดยเฉพาะโครงการใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่พับแผนการก่อสร้างมาหลายครั้งหลายคราแล้วนั้น ก็เตรียมร่วมทุนกับฟิลิพพ์ ฮอลส์แมน เพื่อเตรียมพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่อีกครั้ง

การกลับมาอีกครั้งในปี 2539 นี้ เห็นได้ชัดเจนว่า สยามอรุณได้คลายท่าทีที่แข็งกร้าวลงมาก การก้าวไปข้างหน้าในงานพัฒนาที่คราวนี้ไม่บุ่มบ่ามอย่างเช่นที่ผ่านมา โดยบอกว่าปีนี้จะขึ้นเพียง 2 โครงการคือ โครงการสุขุมวิท 63 บนที่ดินประมาณ 20 ไร่ มีพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 150,000 ตารางเมตร และโครงการสุขุมวิท 22 ทั้ง 2 โครงการเป็นเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ และห้างสรรพสินค้าในสไตล์ญี่ปุ่น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ลิตเติลโตเกียว"

เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการทั้งหมดของสยามอรุณที่เกิดขึ้นบนถนนสุขุมวิท จะพุ่งเป้าไปยังกลุ่มลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่นแทบทั้งสิ้น

อย่างน้อยก็แสดงถึงบทเรียนของสยามอรุณว่า อย่าเปิดแนวรบพร้อมกัน และควรเจาะเฉพาะกลุ่ม ซึ่งกลุ่มญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่สยามอรุณสนิทชิดเชื้อในฐานะที่บริษัทแม่ทำธุรกิจร่วมกันมานาน

สุรชาติ วรกิจกาญจนกุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาดให้ความเห็นตรงนี้ว่า "ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานในเมืองไทยมากมายราวๆ 30,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในย่านสุขุมวิท อโศก แทบทั้งนั้นในขณะที่โครงการเราที่สร้างเสร็จในปีนี้ 3 โครงการนี้ถ้าสร้างเสร็จแล้วมีประมาณ 500 ยูนิตเท่านั้น"

สุรชาติยังย้ำอีกว่าปีนี้มีทั้งโครงการที่ใกล้เสร็จและจะเปิดใหม่ ดังนั้นคราวนี้บริษัทจึงจำเป็นต้องเปิดตัวมากกว่าทุกช่วงเวลาที่ผ่านมาแน่นอน

งานเปิดตัวต่อสื่อมวลชนครั้งแรกในปีนี้เลยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ในลักษณะของการจัดงานปีใหม่ร่วมกับบริษัทในเครืออีก 3 บริษัทคือ บริษัทไทยเซ็นทรัลเคมี บริษัทกรุงเทพผลิตเหล็ก และบริษัทยูไนเต็ด ฟลาวมิลล์ จำกัด

งานจัดขึ้นที่ตึก 10 สาธร บนถนนสาทร ทั้งๆ ที่บอกว่าคราวนี้เปิดตัวแน่ แต่ในงานคืนนั้นก็ไร้วี่แววของสว่าง เจ้าพ่อศรีกรุงผู้กำหนดทิศทางเดินให้กับสยามอรุณ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของเขาอยู่แล้วที่ไม่เคยพบปะนักข่าว หรือแม้แต่พีรพล เสรฐภักดี กรรมการบริหารของบริษัทสยามอรุณก็ไม่มา สภาพทั่วไปของงานเลยค่อนข้างกร่อยๆ

คนที่นักข่าวปะหน้าแทนจึงเป็นสุรชาติ และทวี ธีรเจริญชัย ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการขาย ซึ่งทั้งสองคนนี้ในช่วงแรกก็ไม่ค่อยจะเจรจากับนักข่าวนัก จนชักงงๆ ว่า การหวนกลับคืนสู่สนามการแข่งขันครั้งนี้ สยามอรุณเขาพร้อมจริงๆ แค่ไหน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us