Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542
ลูกค้าคือผู้ออกแบบสินค้าในอินเตอร์เน็ต             
 


   
search resources

E-Commerce




ผู้ผลิตสินค้าในยุคอินเตอร์เน็ตจะต้องปฏิวัติความคิดเสียใหม ่และใช้จินตนาการแบบเดียวกับโคเปอร์นิคัสผู้เชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่ในวันนี้ศูนย์กลางของจักรวาลธุรกิจคือลูกค้า ซึ่งต้องการสินค้าในแบบเฉพาะของตนเอง และใช้สื่อออนไลน์ติดต่อสั่งซื้อสินค้าตามความต้องการจากผู้ผลิตโดยตรง ผู้ผลิตที่ชาญฉลาดจึงต้องเตรียมรับมือกับลูกค้าในยุคอินเตอร์เน็ตให้ดี

ขณะนี้ เดล คอมพิวเตอร์ คอร์ป (Dell Computer Corp.) และอีกหลายบริษัท ถึงกับเปิดเว็บไซต์ให้ลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อสินค้าได้เลือกออกแบบสินค้าด้วยตนเอง และอีกไม่นาน เจเนอรัล มอเตอร์ (General Motors) และ ฟอร์ด มอเตอร์ (Ford Motor Co.) ก็จะร่วมมือกับ โตโยต้า มอเตอร์ (Toyota Motor Corp.) เปิดทางให้ "ลูกค้าได้ออกแบบรถยนต์ของตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต" และรถยนต์ดังกล่าวก็จะประกอบเสร็จสรรพพร้อมให้ขับขี่ได้ภายในไม่กี่วัน มาร์ค ที. โฮแกน (Mark T. Hogan) ผู้บริหารแผนกออนไลน์ที่เพิ่งตั้งใหม่ในชื่อ "e-GM" บอก เท่าที่ผ่านมารถยนต์ที่ประกอบตามคำสั่งของลูกค้าจะใช้เวลาในการประกอบนานหลายสัปดาห์ เนื่องจากสายการผลิตจะรองรับการผลิตรถยนต์ตามแบบของบริษัทเป็นหลัก ต่อไปจะต้องมีการปรับปรุงสายการผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต และต่อๆ ไป ผู้ผลิตสินค้าประเภทอื่นตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงอุปกรณ์ครัว ก็จะสามารถรองรับความต้องการเฉพาะของลูกค้าได้เช่นกัน

การจะทำเช่นนี้ได้ ต้องอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อจัดการกับข้อมูลที่เข้ามาอย่างมากมายจากลูกค้าที่สั่งสินค้า "เฉพาะตัว" ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งหมดนี้ไม่มีทางเป็นไปได้หากดำเนินการด้วยระบบเอกสาร ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ ติดต่อกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ

ก่อนหน้านี้ บริษัทหลายแห่งพยายามปรับปรุงให้ระบบการสั่งซื้อสินค้าเป็นไปโดยอัตโนมัติด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนตัว กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ "บิ๊กทรี" แห่งดีทรอยต์ และผู้ค้าปลีกอย่างวอล-มาร์ท สโตร์ (Wal-Mart Stores) เซียส์ (Sears) และเดย์ตัน ฮัดสัน (Dayton Hudson) ได้ใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์-EDI เพื่อจัดการข้อมูลจากซัปพลายเออร์ แต่ระบบอีดีไอก็เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดำเนินการสูงมาก จนเมื่อมีอินเตอร์เน็ตที่เสียค่าใช้จ่ายไม่มาก ทำให้ร้านค้าเล็กๆ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายได้ "เราจะได้เห็นว่า 90% ของการผลิตสินค้าจะขยับเข้าสู่ระบบอินเตร์เน็ต" จอห์น เจ. ฟอนทาเนลลา (John J. Fontanella) ผู้อำนวยการส่วนวิจัยซัปพลาย-เชน แห่งเอเอ็มอาร์ รีเสิร์ช อิงค์ (AMR Research Inc.) ให้ความเห็น

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอินเตอร์เน็ตจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านการผลิต ต่อไปการผลิตสินค้าตามคำสั่งลูกค้าจะถูกการผลิตสินค้าคราวละมากๆ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วกับ ซิสโก ซิสเต็ม อิงค์ (Cisco Systems Inc.) ซิสโกเลือกสรรผู้ผลิตแบบเหมาช่วงให้รับงานด้านการผลิตซึ่งมีโรงงานทั้งหมด 37 แห่งโดยทุกแห่งเชื่อมโยงกันผ่านทาง อินเตอร์เน็ต ซัปพลายเออร์ไม่เพียงแต่ผลิตชิ้นส่วนประกอบต่างๆ และรับผิดชอบงานส่วนของสายการผลิตรองอีกราว 90% แต่ยังรับงานในส่วนสายการผลิตขั้นสุดท้ายอีก 55% ดังนั้น ซัปพลายเออร์จึงส่งมอบคอมพิวเตอร์ของซิสโกให้กับลูกค้าได ้โดยไม่ต้องผ่านมือพนักงานของซิสโกแม้แต่รายเดียว ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ราว 500-800 ล้านดอลลาร์ในปีนี้

นอกจากนั้น ราว 80% ของยอดขายของซิสโกก็มาจากเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถเลือกโปรแกรมที่พาเข้าไปสู่วิธีการสร้างระบบที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของลูกค้า และหลังจากที่ซอฟต์ แวร์ได้ตรวจสอบคำสั่งซื้อซ้ำแล้วก็จะส่งคำสั่งไปยังผู้ผลิตของซิสโก "เราสามารถ ดำเนินการตั้งแต่การสั่งซื้อไปจนถึงการเก็บเงินโดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลหรือแม้แต่กระดาษสักแผ่น" โดนัลด์ เจ. ลิสวิน (Donald J. Listwin) Executive Vice-President ของซิสโกกล่าว

ความเสี่ยงประการเดียวของการ จ้างผู้ผลิตภายนอกก็คือ บริษัทอาจสูญเสียโอกาสที่จะใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตซึ่งมุ่งมั่นกับงานด้านการปรับปรุงคุณภาพสินค้า ด้วยเหตุนี้ซิสโกจึงออกแบบวิธีการผลิต รวมทั้งใช้อินเตอร์เน็ตในการตรวจสอบการดำเนินการของผู้ผลิตสินค้าแบบเหมาช่วงตลอดเวลา "เราพัฒนากระบวนการทั้งหมดและเรารู้ว่าซัปพลายเออร์แต่ละรายกำลังทำอะไรในทุกขณะ" คาร์ล เรดฟิลด์ (Carl Redfield) Senior Vice-President ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการผลิตของซิสโก กล่าว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากอินเตอร์เน็ต ยังเห็นได้เด่นชัดถึงขนาดที่การมีโรงงานสักแห่ง จะได้รับการยอมรับว่าเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (Hewlett-Packard), ไอบีเอ็ม, ซิลิกอน กราฟิกส์ (Silicon Graphics) และอีกหลายบริษัทได้ขายโรงงานของตนให้กับผู้ผลิตแบบเหมาช่วง เช่น โซเลคตรอน (Solectron), เอสซีเอ ซิสเต็มส์ (SCI Systems) เฟล็กทรอนิกส์ (Flextronics) และเซเลสติกา (Celestica) แล้วว่าจ้างผู้ผลิตเหล่านี้เป็นซัปพลายเออร์ ผู้เชี่ยวชาญ บางรายคาดว่าในท้ายที่สุดแล้วบริษัทหลายแห่งจะจับมือเป็นหุ้นส่วนในแบบไตรภาคี โดยด้านหนึ่งรับผิดชอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานวิศวกรรม อีกด้านหนึ่งดูแลการตลาดและด้านสุดท้ายดูแลเรื่องการผลิต

ในทางทฤษฎีแล้ว แม้แต่อุตสาหกรรมรถยนต์ก็สามารถปรับเปลี่ยนใช้ระบบที่ไม่ต้องมีสายการผลิตได้ เพียงแต่ในทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคด้านสหภาพ แรงงานอยู่ อย่างไรก็ตาม โฮแกนซึ่งรับผิดชอบ e-GM ก็ยังมั่นใจว่า "เราจะไปให้ถึงการผลิตรถยนต์ให้เสร็จตามคำสั่งลูกค้าภายในห้าวันให้ได้โดยเร็วที่สุด"

แนวคิดเรื่องการผลิตรถยนต์ให้เสร็จได้ภายในเวลาห้าวันเป็นแนวคิดที่บุกเบิกโดยโตโยต้า และผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหลายแห่งในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เนื่องจากมองเห็นแบบอย่างแนวทางของของซิสโก และเดล กล่าวคือ ลูกค้าสามารถเลือกชม และสั่งซื้อสินค้าจากเมนูทางหน้าจอ แล้วกดปุ่มคำสั่งซื้อตรงไปยังโรงงานทันที โตโยต้าจึงดำเนินการติดตั้งอินเตอร์เน็ตในโชว์รูมหลายแห่งในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา

ความคิดดังกล่าวทำให้มีโครงการต่างๆ ของสหรัฐฯ และยุโรปเลียนแบบบ้าง เช่น แผนกวอลโว่ของฟอร์ดในเบลเยียมที่กำลังทดสอบระบบเชื่อมต่อระหว่างโรงงาน กับการขายตรงโดยผ่านอินเตอร์เน็ต

การที่ผู้ผลิตรถยนต์มีแผนการผลิตรถยนต์ตามคำสั่งของลูกค้า ไม่ได้เป็นเพียงการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเท่านั้น หากยังต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายลงอย่างที่ซิสโกทำได้สำเร็จมาแล้ว เท่าที่ผ่านมา รถยนต์ที่ผลิตคราวละมากๆ มักต้องจอดรอลูกค้าอยู่ตามดีลเลอร์เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก การศึกษาพบว่าหากเปลี่ยนไปใช้ระบบสั่งซื้อกับโรงงานโดยตรงจะทำให้ราคารถยนต์ถูกลงถึง 30%

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญยิ่งก็คือซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ตั้งแต่ปี 1987 เป็นต้นมา บริษัทต่างๆ เริ่มใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น enterprise resource planning (ERP) software ซึ่งได้ช่วยให้ระบบการดำเนินงานของโรงงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ของบริษัท และช่วยให้การสั่งซื้อส่วนประกอบต่างๆ ทำได้ทันกับความต้องการผลิต ต่อมามีระบบ manufacturing execution system (MES) ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดความเชื่อมโยงระหว่างสายการผลิตกับระบบ ERP

การนำระบบทั้งสองมาใช้ร่วมกัน ยังให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งอีกด้วย อย่างที่บริษัท เจ. ดี. เอ็ดเวิร์ดส์ (J.D. Edwards) เคยร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญระบบ MES อย่าง Camstar Systems Inc. ช่วยให้ผู้ผลิตพรินเตอร์อย่าง Lexmark Inter-national Inc. ลดขั้นตอนการผลิตพริน เตอร์ลงจากเดิมถึง 90% ทำให้พรินเตอร์ ที่เคยใช้เวลาในการผลิตต่อเครื่องราว 4 ชั่วโมงลดเหลือเพียง 24 นาที

หากอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า สามารถทำได้ในลักษณะดังกล่าว ลูกค้าก็จะเป็นศูนย์กลางของจักรวาลธุรกิจอย่างแท้จริงในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us